Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 สิงหาคม 2551
นักวิเคราะห์หั่นเป้าดัชนี99จุด             
 


   
search resources

Stock Exchange




สมาคมนักวิเคราะห์ เผยผลสำรวจนักวิเคราะห์ แห่ลดเป้าดัชนีตลาดหุ้นไทยสิ้นปีนี้เหลือ 828 จุด ลดลง 99 จุด จากการสำรวจเดือนมิ.ย.ที่ 927 จุด ปัจจัยจากการเมืองไม่แน่นอนมีความเสี่ยงสูง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น ชี้หากมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ส่วนใหญ่มองเป็นผลบวกต่อตลาดหุ้น จากการเมืองชัดเจนลดความขัดแย้ง-รุนแรง พร้อมค้านทำรัฐประหาร พร้อมแนะนำรัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหากผลงานดี ส่งผลช่วยลดปัญหาการเมือง

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยถึง ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ครั้งที่ 4/2551 เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2551 ว่า มีบริษัทหลักทรัพย์ร่วมแสดงความคิดเห็นรวม 22 แห่ง ซึ่งได้ปรับลดดัชนีตลาดหุ้นไทยสิ้นปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 828 จุด ลดลง 99 จุด จากการสำรวจวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมาที่ 927 จุด และดัชนีต่ำสุดปีนี้อยู่ที่ 628 จุด

โดยปัจจัยที่สนับสนุนการปรับลดดัชนีตลาดหุ้นไทยครั้งนี้ ประกอบด้วย ปัจจัยทางการเมืองที่มีความขัดแย้ง ทำให้เกิดความแน่นอนและมีความเสี่ยงที่สูง เรื่องการที่รัฐบาลจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และด้านกลุ่มพันธมิตรมีการต่อต้าน อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูง ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) และราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง

สำหรับปัจจัยบวกที่จะส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยในช่วง 5 เดือนนี้ นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1. ราคาน้ำมันเริ่มมีแนวโน้มลดลง จากในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เหลือ 118 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล 2. อัตราเงินเฟ้อที่น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และมีแนวโน้มที่ปรับตัวลดลง 3. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 4. ปัจจัยทางการเมืองหากมีการคลี่คลายปัญหาต่างๆ ได้ และ 5. อัตราดอกเบี้ยใกล้ถึงสุดสูงสุด ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนครึ่งปีหลังมีแนวโน้มดีและเติบโตได้ และแนวโน้มค่าเงินบาทที่อ่อนค่าและอาจทรงตัวในระดับที่อ่อนตัว

พร้อมกันนี้ แบบสำรวจได้สอบถามถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี 51 พบว่า ประเด็นแรก เรื่องการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ นักวิเคราะห์ 55% ให้ความเห็นว่าจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากจะทำให้การเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น และน่าจะช่วยลดความขัดแย้งและความรุนแรงได้ ส่วนอีก 27% มองว่าจะส่งผลลบ เพราะเกิดความไม่ต่อเนื่องทางนโยบายภาครัฐ สิ้นเปลืองงบประมาณ และสัดส่วน 4% มองว่าจะส่งผลบวกระยะสั้น เพราะลดความรุนแรง แต่ระยะยาวจะส่งผลลบเพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจ ขณะที่อีก 14% มองว่าไม่มีผลใดๆ เนื่องจาก ตลาดคาดการณ์อยู่แล้ว

ประเด็นที่สอง เรื่องการยุบพรรคแกนนำรัฐบาล นักวิเคราะห์ สัดส่วน 37% คาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้น เพราะนักการเมืองที่เหลือสามารถย้ายพรรคหรือตั้งพรรคใหม่ได้ สัดส่วน 32% คาดว่าจะส่งผลบวกจากเชื่อว่าว่าจะลดความรุนแนงและความขัดแย้งได้ในระยะสั้น ทำให้การเมืองมีความชัดเจน สัดส่วน 27% มองว่าจะเป็นปัจจัยล จากเกิดความไม่ชัดเจนและอาจส่งผลต่อการบริหารงานของภาครัฐได้ ส่วนอีก 4% ไม่มีความเห็น

ประเด็นที่สาม การรัฐประหาร นักวิเคราะห์ทั้งหมด มองตรงกันว่าจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจาก นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น และต่างชาติไม่ให้การยอมรับ และเกรงว่าสถานการณ์จะไม่ราบรื่นเหมือนกับครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งนักวิเคราะห์ไม่เห็นด้วยที่จะมีการทำรัฐประหาร

นายสมบัติ กล่าวว่า ประเมินดอกเบี้ย RP1 วันสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 3.82% ส่วนค่าเงินบาทสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 33.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นักวิเคราะห์คาดอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปีนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 21.3% จากการสำรวจครั้งก่อนที่ 19.7% เนื่องจาก ผลประกอบการไตรมาส1และไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียนออกมาดี และเชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลังงบจะออกมาดีจากน้ำมันลดลง และการเติบโตของจีดีพียังดีอยู่ที่ระดับ 5% ซึ่งเหมือนกับการสำรวจครั้งก่อน

ทั้งนี้ หุ้นที่มี EPS เติบโตสูงสุดคือ กลุ่มธนาคารจะมี EPS ที่เฉลี่ย 557.9% เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่ 466.6% อันดับ 2 กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีEPSเฉลี่ยโต 25.7% ลดลงจากครั้งก่อนที่ 28.1% อันดับ 3 กลุ่มเดินเรือเฉลี่ยที่ 19.9% เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนที่ 12.2% โดยหุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำในการลงทุนที่ตรงกันหลายแห่ง เช่น ADVANC, BBL, KBANK, PTT, PTTEP และ SCB

สำหรับนักลงทุนระยะยาวนักวิเคราะห์แนะนำให้เตรียมหาจังหวะทยอยซื้อสะสมหุ้นหลักที่มีปัจจัยฐานดี มีปันผลสูง และราคาต่ำ ส่วนนักลงทุนระยะสั้น เมื่อดัชนีลดลงให้ซื้อและปรับตัวขึ้นได้ขาย และควรวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก่อนการลงทุน และติดตามข้อมูลสถานการณ์การลงทุนอย่างใกล้ชิด

ส่วนคำแนะนำรัฐบาล ควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นอับดับแรก มากกว่าการแก้ไขปัญหาทางการเมือง ซึ่งหากมีการทุ่มเททำเรื่องดังกล่าวก็จะส่งผลดีช่วยแก้ปัญทางการเมืองได้เช่นกันหากผลงานออกมาดี มีการบริหารงานที่โปร่งใน สร้างความสมานฉันท์ในชาติลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us