เวนเจอร์แคปปิตอล บริษัทดอทคอม เจ้าของไอเดีย และ head hunter ที่ปรึกษาทางการเงิน
ทั้งหมดนี้ คือ ชีพจร ที่กำลังเต้นในตลาดอินเทอร์เน็ตเมืองไทย
วีรวรรณ งุ่ยอัครมหาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และขาย บริษัท จีอี แคปปิตอล
ประเทศไทย จำกัด ในฐานะของผู้ดูแลเว็บไซต์ thailifestyle.com เธอได้รับเชิญมาร่วมงาน
I&I ในวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ร้าน kuppa และ angle night ที่ โรงแรมสุโขทัย
ในอีก 3 วันถัดมา
ถึงแม้ thailifestyle.com จะเป็นเว็บไซต์ของบริษัทข้ามชาติ แต่ venture
capital ยังเป็นเรื่อง ที่พวกเขาต้องการไม่ใช่เรื่องของเงินทุนอย่างเดียว
แต่เป็น "พันธมิตร" ช่วยในเรื่องของ สินค้า และ content ที่จะมาใส่ในเว็บ
ทำให้เว็บเกิด community และอี-คอมเมิร์ซ ที่เป็นหัวใจหลักของเว็บไซต์ แห่งนี้
ถึงแม้จะมีพันธมิตร 20 รายที่ เป็นเจ้าของสินค้า และ content ช่วยให้เว็บไซต์สร้างสีสัน
และเอื้อประโยชน์ต่อ ตลาดอี-คอมเมิร์ซได้ต่อเนื่อง แต่ในโลกของอินเทอร์เน็ต
เงินทุน และพันธมิตร เครือข่ายธุรกิจ และสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง ที่ venture
capital ช่วยได้
ไม่ใช่แต่เพียง venture capital ที่จะเลือกลงทุนในบริษัทดอทคอม แต่บางครั้งเขาก็กลับเป็นฝ่ายถูกเลือก
"เวลาเราไประดมทุน เราไม่ได้ขอเงินอย่างเดียว แต่เราขอ contract ด้วย
เพราะบางทีเขาก็มีธุรกิจ ที่เอื้อประโยชน์กับเรา จับแพะชนแกะได้ ฉะนั้น เราต้องเลือก
vc ด้วย" อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูมิซอฟต์ บริษัท
ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของไทย จากประสบการณ์ของการเป็นทั้งผู้ลงทุน และเจ้าของธุรกิจดอทคอม ที่เคยได้รับผลสำเร็จจากการได้
vc มาร่วมลงทุน
แต่นั่นอาจจะเหมาะสำหรับบริษัทดอทคอม ที่สร้างธุรกิจมาจนแข็งแรงหรือมีอนาคตที่ดีพอ ที่จะอยู่ในฐานะของ
"ผู้เลือก" สำหรับบริษัทดอทคอมในไทย ที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ตลาดธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่ถูกปลุกเร้าอย่างหนักนับตั้งแต่กลางปีที่แล้ว
เว็บไซต์ของไทย ที่เพิ่มจำนวนขึ้น เช่นเดียวกับบริษัทดอทคอมเกิดใหม่ และกระแสการลงทุนในระดับภูมิภาค
เพื่อสร้างฐานลูกค้า และเครือข่ายธุรกิจ
และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ชมรม ธุรกิจดอทคอม อย่าง Internet &Information
หรือ I&I ต้องเข้ามาเปิดตัวในไทย I&I เป็นชมรม ที่เกิดจาก การรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจดอทคอมจากการพบปะกันในผับแห่งหนึ่งในฮ่องกง
โดยมีเทค แปซิฟิกเป็นโต้โผใหญ่ ซึ่งพวกเขาเชื่อ ว่า I&I นี้จะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่
จะช่วยให้ธุรกิจดอทคอมเติบโตขึ้นได้
ภารกิจหลักของชมรมนี้ คือ การจัดงานพบปะระหว่าง venture capital และบรรดาบริษัทดอทคอม
เพื่อ ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกัน และแน่นอนว่า ย่อมหมายถึงโอกาสของดีลธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
การมาเมืองไทยก็เช่นกัน เป็นส่วนหนึ่งของแผน road show ของ I&I เพื่อจุดประกายให้กับเจ้าของไอเดียทั้งหลาย
ที่เขาอาจจะมีโอกาสทำไอเดียให้เป็นเงินได้ เมื่อไอเดียของพวกเขาเกิดไปเข้าตา
venture capital หรืออาจจะเกิดการแลกเปลี่ยนหุ้นระหว่างดอทคอมด้วยกัน
เดวิด คิม ที่ปรึกษาจากซอฟต์ แบงก์ ที่เข้ามาดูแลการลงทุนของเทคแปซิฟิก
ซึ่งเป็นโมเดลอย่างหนึ่งของบรรดา venture capital ที่เมื่อให้เงินไปลงทุนแล้ว
จะต้องเข้า monitor ธุรกิจรายนั้น ด้วยรูปแบบ ทำได้หลายวิธี เป็นกรรมการในบอร์ดหาดีลธุรกิจใหม่ๆ
แต่สำหรับ เดวิด นอกจากดูแลด้านการเงินให้เทคแปซิฟิกแล้ว หน้าที่ของเดวิดคือ
การเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับ I&I
เดวิดบอกว่า สิ่งที่พวกเขาใช้ในการตีมูลค่าของธุรกิจ ประกอบด้วยปัจจัยตั้งแต่
busines model ทีมงานกลุ่มลูกค้า คู่แข่ง ตลอดจนความเสี่ยงของธุรกิจ
สิ่งที่เขาเห็นได้ชัดเจนกับธุรกิจดอทคอมในเมืองไทย ที่แตกต่างจากสหรัฐอเมริกา
บริษัทขนาดเล็กเกิดขึ้นมากใน ตลาดอินเทอร์เน็ต แต่สำหรับเมืองไทย ผู้ประกอบธุรกิจดอทคอมรายใหญ่
ล้วน แต่เป็นของตระกูลเจ้าของธุรกิจเก่าแก่ ในไทยเกือบทั้งสิ้น รวมถึงเว็บไซต์ ที่น่าสนใจ และมีโอกาสเติบโต
ก็กลับตกไปอยู่ในมือของผู้ประกอบการรายใหญ่ แทน ที่เจ้าของธุรกิจเหล่านี้จะก่อร่างสร้างธุรกิจ
ด้วยตัวเอง
แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าบริษัทดอทคอม หรือบรรดาเจ้าของไอเดียจะต้องทำเงินได้จริง
"การมาก่อนมาหลังไม่สำคัญ สำคัญ ที่ไอเดีย และการทุ่มเทให้กับงานมากน้อยแค่ไหน
และ ที่สำคัญต้องเป็นไอเดีย ที่เกิดขึ้นได้จริงเท่านั้น " อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์
เขาเป็นอีกคนหนึ่ง ที่กำลังใช้ประสบการณ์ของเขาให้เป็นประโยชน์
Finansa เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ลงทุนเข้าร่วมงานในช่วงเย็น ที่สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จัดขึ้น
เป็นการพบปะระหว่าง venture capital บริษัทดอทคอม และผู้ผลิตซอฟต์แวร์
"ถ้าเป็น 3 ปีที่แล้ว ถามว่า ผมจะลงทุนในธุรกิจดอทคอมมั้ย ผมไม่มีความมั่นใจ"
วรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ กรรมการบริหารบอก แต่ไม่ใช่สำหรับวันนี้ เมื่อโลกทั้งโลกกำลังไปสู่อินเทอร์เน็ต
สิ่งที่วรสิทธิ์จำเป็นต้องทำในการลงทุนในธุรกิจดอทคอม ก็คือ ทำอย่างไร ที่จะลดความเสี่ยงในการลงทุนให้มากที่สุด
เขาจะไม่เรียกตัวเองว่า เป็น venture capital แต่พอใจ ที่จะใช้คำว่า direct
in- vestment มากกว่า "ความเสี่ยงน้อยกว่า venture capital เพราะถ้าเป็น
direct investment จะลงทุนในธุรกิจ ที่เกิดแล้ว"
แต่ถึงอย่างนั้น ก็ตาม เขากำลังเตรียมลงทุนในธุรกิจเว็บไซต์ ที่กำลังคลอดออกสู่ตลาดเป็น
interactive website ที่เขาไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้มากกว่านี้
"ถ้าเป็น portal web ทั่วไป ผมไม่สนใจ ผมสนใจว่า อะไรจะเป็นจุดขายของเว็บไซต์นั้น มากกว่า"
แต่สิ่งที่วรสิทธิ์ให้ความสำคัญมาก นอกเหนือจากไอเดียก็คือ เรื่องของ "คน"
เขาเชื่อว่า ธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือ ล้มเหลวขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องคนเป็นหลัก
"ทุกอย่างมันแก้ไขได้หมด คุณขาดเงินคุณก็แก้ไขได้ แต่คนจะเป็นหัวใจสำคัญ ที่ธุรกิจจะดีหรือไม่ดี"
แต่ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะ รีบร้อนในการลงทุน จนกว่าจะมั่นใจได้ 100%
ว่า ไอเดียเหล่านั้น จะมีโอกาสทำเงินได้ 100%
ธุรกิจ vc ถึงแม้ผลตอบแทน จะสูงหลายสิบเท่าตัว แต่ความเสี่ยงก็สูง ดังนั้น
การเลือกลงทุนจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และไม่จำเป็นต้องรีบร้อนจนกว่าจะมั่นใจได้เต็มที่
สำหรับประเภทของธุรกิจดอท คอม ซึ่งส่วนใหญ่ของเมืองไทยจะเป็น ธุรกิจเว็บไซต์นั้น
แต่สำหรับ Finansa ก็เหมือนกับ vc อีกหลายบริษัท ที่ไม่ได้มองความหวือหวาของตลาดอย่างเดียว
portal web ในสายตาของพวก เขาจึงไม่ได้รับความสนใจเท่ากับธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอี-คอมเมิร์ซ
อย่าง logistic หรือบริการรับส่งสินค้าให้กับผู้ ที่ให้บริการอี-คอมเมิร์ซ
เปรียบเทียบแล้วก็เหมือนกับเป็นกลไกอย่างหนึ่ง
"ถ้าเป็น portal เว็บทั่วไป ผม ไม่สนใจ แต่ผมสนใจว่า อะไรจะเป็นจุดขายของเขามากกว่า
คือ ไม่ใช่ตั้ง ตามกระแส แต่มันต้องดีด้วย เพราะ เราไม่ต้องการแก้ปัญหา"
แต่สำหรับ พรศักดิ์ ลิ้มบุญย-ประเสริฐ บริษัท Thai Strategic Capital กล่าวว่า
เขามาร่วมงาน เพื่อ ศึกษาสู่ทางของการเป็น venture capital ในธุรกิจดอทคอม
ธุรกิจหลัก ของบริษัทนี้คือ ที่ปรึกษาการเงิน ผู้จัด การกองทุน และล่าสุดคือ
การลงทุน ในบริษัทดอทคอม ที่เขามีเงินทุน 25 ล้านเหรียญสำหรับการลงทุนในธุรกิจ
ดอทคอม
สิ่งที่พวกเขาใช้ในการเรียนรู้ และศึกษาธุรกิจนี้คือ การลงมือทำเอง นั่นก็
คือ การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เป็นสิ่ง เดียว ที่พรศักดิ์เชื่อว่าจะเรียนรู้ธุรกิจ
ดอทคอมได้ดีที่สุด
ถึงแม้จะมีการประเมินกันคร่าวๆ ว่า มีเงินทุนหลายพันล้านในงานนี้ก็ตาม
แต่ดูเหมือนว่า สีสันของ venture capital จะไม่มีงานไหน ที่คึกคักเท่ากับ
Angle Night in Thailand ที่จัดโดยบริษัท korn/ferry international ที่ ประเดิมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย
ที่โรงแรมสุโขทัยของค่ำคืนวันที่ 9 พฤษ-ภาคม ที่ผ่านมา
นักธุรกิจดอทคอมจากสิงคโปร์ ที่มาร่วมงาน บอกว่า งานประเภทนี้ใน สิงคโปร์จะมีขึ้นเป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์
แต่สำหรับเมืองไทยงานประเภทนี้กำลังหลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับกระแส ของ venture
capital
งานในวันนั้น ได้รับความสนใจ จากบรรดาบริษัทดอทคอมเกิดใหม่ทั้ง หลาย ต่างก็มาดูสู่ทางมองหาโอกาส
เผื่อ จะได้เงินทุนไปสานต่อไอเดีย บางรายถึงกับหอบหิ้ว business plan มาเสนอให้กับ
venture capital ถึงในงาน นำเสนอ ไอเดียกันแบบสดๆ
นอกเหนือจาก venture capital ตัวจริง ที่เข้ามาดูบรรยากาศในงาน ven-ture
capital มือสมัครเล่น ที่เป็นอดีต นักลงทุน ในตลาดหุ้นก็เข้ามาศึกษาดูสู่
ทางการลงทุนในธุรกิจดอทคอมก็มีให้เห็นในงาน
ไม่ใช่เรื่องแปลกไปแล้วกับการที่ บริษัท ที่ทำธุรกิจ head hunter อย่าง
Korn/ferry international มายุ่งเกี่ยว อะไรกับงานประเภท venture capital
พบกับบริษัทดอทคอม
สิ่งที่ตามมาจากบริษัทดอทคอม เกิดใหม่ คือ ความต้องการมืออาชีพ ที่จะมาช่วยขยายธุรกิจในโลกใบเก่า ที่ต้องปรับ
ตัวให้ทันกับโลกธุรกิจใบใหม่ นำไอทีมา เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ความต้องการ
มืออาชีพ ที่จะมาดูแลย่อมเปลี่ยนแปลง ไปตามกระแสของโลก และงานในลักษณะนี้จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับ
Korn/ferry ที่เขาจะได้ฐานข้อมูลรายชื่อของ ผู้บริหารในธุรกิจดอทคอม
ไม่มีใครรู้ว่า จะมีดีลกี่รายที่เกิดขึ้น จากผลพวงของการจัดงานประเภทนี้
vc รายไหนจะเลือกลงทุนในบริษัทดอทคอม รายใด และ Korn/ferry จะมีฐานรายชื่อ
ซีอีโอในมือกี่คน
แต่ ที่แน่ๆ ไอเดียของคุณ คือ โอกาสใหม่ในโลกธุรกิจดอทคอม ที่กำลัง ทำเงินได้
มีเงื่อนไขว่า ไอเดียนั้น จะต้องทำ เงินได้จริงๆ ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ
venture capital