Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
ต่างชาติกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย             
โดย นฤมล อภินิเวศ โสภิดา วีรกุลเทวัญ สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์
 


   
search resources

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมโลก
สถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย
Environment




สัญญาณความตื่นตัวของนักลงทุนธุรกิจต่างชาติที่เห็นเมืองไทยเป็นตลาดใหม่ด้านเทคโนโลยีรักษาสภาพแวดล้อมเริ่มก่อรูปจริงจังขึ้นเมื่อ 22-23 กรกฎาคม 2534 ในงานสัมมนาระหว่างประเทศระดับภูมิภาคอาเซียนเรื่อง ธุรกิจกับสิ่งแวดล้อม (ASEAN Regional Forum on Business and Environment) ซึ่งมีสภาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมโลกเป็นตัวจักรสำคัญร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็น และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

แม้หัวใจของการสัมมนาครั้งนี้ จะต้องการผลักดันให้ภาคธุรกิจในภูมิภาคนี้กำหนดนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างสอดคล้องสมดุลกับสภาพแวดล้อมโลก เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดขององค์การสหประชาชาติ "EARTH SUMMIT" ที่จะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2535 แต่งานวิจัยในหัวข้อเรื่องตลาดธุรกิจสิ่งแวดล้อมในอาเซียนที่มีการเสนอในงานนั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญเชิงแนวโน้มในอนาคตกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก

หลักจากนั้นในวันที่ 16 สิงหาคม 2534 EIICHI NAKAO รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศและอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (MITI) ก็ได้เดินทางมาเมืองไทย เพื่อกล่าวสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของเอชียในศตวรรษที่ 21 พร้อมกับให้ข้อเสนอเกี่ยวกันโยบายใหม่ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเอาไว้ รวมทั้งเสนอโครงการช่วยเหลือต่อภูมิภาคเอเชียอย่างเป็นรูปธรรมด้วยในนามของโครงการ GREEN AID PLAN

16-21 กันยายน 25354 ภาคปฏิบัติครั้งแรกของ GREEN AID PLAN ก้าวรุกอย่างรวดเร็วด้วยการจัดสัมมนาเรื่องเทคโนโลยีการควบคุมน้ำเสียอุตสาหกรรม โดยที่บรรดาวิทยากรผู้บรรยายล้วนเป็นอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น

ประมาณ 1 เดือนให้หลังในวันที่ 29 ตุลาคม 2534 ศูนย์ส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-สหรัฐอเมริกาหรือ THAI-PITO ก็ได้จัดสัมมนาลักษณะเดียวกันขึ้นว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา วิทยากรงานหนี้คือบรรดาผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมชาวอเมริกันจากบริษัทเอกชน 12 บริษัท

กล่าวได้ว่างานสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เมืองไทยได้กลายเป็นเสมือนเวทีแห่งการเปิดแนวรบใหม่ระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจากคนละซีกโลก

ในเดือนธันวาคมปีนี้ องค์การศูนย์การค้าญี่ปุ่น หรือ JETRO ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ GREEN AID PLAN ยังได้วางแผนที่จะจัดสัมมนาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นขึ้น เพื่อให้ได้ถกปัญหาวางนโยบายเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมกันโดยตรงอีกด้วย

ส่วนเดือนมกราคมปีหน้านั้นคือเวลาที่ JETRO ตั้งเป้าไว้ว่าจะเปิดศูนย์เทคโนโลยีการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในที่ทำการ JETRO กรุงเทพฯ เป็นการย้ำว่าจะลงหลักปักฐานที่นี่อย่างแน่นอน

องค์การศูนย์การค้าญี่ปุ่น หรือ JANPAN EXTERNAL TRADE ORGANIZATION มีชื่อย่อว่า JETRO เป็นองค์การที่ดำเนินนโยบายและได้รับการสนับสนุนจาก MITI เข้าสู่เมืองไทยมานานถึง 32 ปีแล้ว งานที่ทำส่วนใหญ่คือการประสานงานร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ของญี่ปุ่น เช่น สมาคมทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล (AOTS) และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางสิ่งแวดล้อมนานาชาติ (ICETT) ฯลฯ

ส่วนศูนย์ส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-สหรัฐอเมริกา หรือ เรียกสั้นๆ ว่า THAI-PITO นั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ASEAN-U.S. PRIVATE INVESTMENT AND TRADE OPPORTUNITIES (PITO) ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของภาคเอกชนในสหรัฐอเมริกากับประเทศในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย โดยมี ASEAN U.S.BUSINESS COUNCIL (AUSBC) ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารและ UNTIED STATES AGENCY FOR INTERNATIONAL DEVELOPMENT (USAID) เป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน

แม้ THAI-PITO จะได้รับการสนับสนุนจาก USAID แต่การบริหารงานมีลักษณะคล้ายๆ กับบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนคือ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมให้ธุรกิจเอกชนมาพบปะและทำธุรกิจร่วมกันหรือให้บริให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลประโยชน์ที่ THAI-PITO จะได้รับก็คือค่าบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ

ส่วน JETRO เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงที่คอยอุ้มชูเด็กที่อยู่ในความดูแลให้เติบโตแข็งแรงในรูปแบบของการช่วยเหลือ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการจัดสัมมนาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือให้ทุนฝึกอบรมศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นจะช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ 75% แต่มีข้อแม้ว่าบริษัทที่อยู่ในความดูแลต้องเป็นบริษัทญี่ปุ่นหรือหน่วยงานรัฐบาลของประเทศที่ JETRO มีสาขาเท่านั้น

ก่อนหน้าที่จะเกิด GREEN AID PLAN รัฐบาลญี่ปุ่นเคยมีโครงการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่มาก่อนแล้วชื่อว่า โครงการ NEW AID PLAN โครงการนี้ดำเนินงานย่างเข้าปีที่ 5 แล้ว และยังคงนโยบายเดิมอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลง

ส่วน GREEN AID PLAN เป็นโครงการที่เข้ามาช่วยเสริมการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมให้สมดุลยกับสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีไออิชิ นากาโอะ มั่นใจว่าญี่ปุ่นมีความเข้าใจและช่วยแก้ปัญหามลภาวะได้อย่างแน่นอน เพราะเคยผ่านบทเรียนความสูญเสียในครั้งอดีต 30 ปีก่อนที่มุ่งเน้นการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจมากจนเกินไปจนส่งผลให้กระทบต่อสภาพแวดล้อมมากมายมหาศาลมาแล้ว

"เมืองไทยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่มีใครซีเรียสเรื่องสภาพแวดล้อมมากเท่านี้ และอีกอย่างก็เป็นเรื่องยากที่จะเริ่มพัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคุ่กับการคำนึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ทุกคนมุ่งแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ GDP เพิ่มสูงขึ้น ให้คนไทยมีรายรับเฉลี่ยสูงขึ้น ฉะนั้นช่วงเวลานี้มีความตื่นตัวมากขึ้นเราก็ควรเริ่มจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมทันที" ชิโร มิซูทานิ ประธานของเจโทรกรุงเทพฯ บอกถึงเหตุผลที่ไม่ได้เริ่งโครงการ GREEN AID PLAN พร้อมๆ กับ NEW AID PLAN ในตอนนั้น

ถึงแม้ THAI-PITO จะมีอายุห่างจาก JETRO ถึง 30 ปี แต่ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางพอควรด้วยการเสนองานวิจัยต่อที่ประชุมสัมมนาธุรกิจกับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า ในภูมิภาคอาเซียนนี้ไทยมีศักยภาพทางตลาดธุรกิจสิ่งแวดล้อมสูงเป็นที่ 2 รองจากสิงคโปร์ ควรอย่างยิ่งที่จะเปิดตลาดในด้านระบบกำจัดกากสารพิษ ตลอดจนการบริการให้คำปรึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวเป็นข้อมูลจากการสำรวจเมื่อปลายปี 2533

ทั้ง THAI-PITO และ JETRO ต่างก็มีจุดมุ่งหมายคล้ายคลึงกันคือต้องการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในทุกๆ ด้านให้กว้างขวางขึ้น และในปีนี้นโยบายข้อหนึ่งที่สอดคล้องกันคือ ส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน แก้ไข และบำบัดมาลภาวะต่างๆ

สิ่งที่ JETRO รับสนองเดินตามนโยบายของ MITI เรื่อง GREEM AID PLAN นั้นประกอบไปด้วยหัวข้อสำคัญ 3 ประการ คือ

1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเช่นการสัมมนาและการจัดฝึกอบรม

2. ความร่วมมือทางด้านการเงิน เช่น การให้เงินกู้ในอัตราที่ต่ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งใจติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันมลภาวะ

3. จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีการพลังงานและสิ่งแวดล้อม

"ผมคิดว่าสิ่งที่ไทยได้นั้นญี่ปุ่นก็ได้ด้วย เป็นการให้ความช่วยเหลือในลักษณะของการเมืองนั่นเอง คำว่าการเมืองในที่นี่หมายความว่า คนไทยหรือหลายๆ ประเทศมักจะบอกว่าญี่ปุ่นมากอบโกยประโยชน์ในแต่ละภูมิภาค รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามหาทางให้ประเทศต่างๆ เกิดความรู้สึกว่าไม่ใช่ญี่ปุ่นเป็นผู้รับฝ่ายเดียว แต่เป็นผู้ให้ด้วย ฉะนั้นประเด็นเรื่องความไม่จริงใจ ผมคงตอบไม่ได้มากนัก ฝ่ายไทยเราต้องคิดต้องพิจารณาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดสิ่งใดที่รู้สึกว่าเสียเปรียบก็หลีกเลี่ยงเสีย" วิชัย พยัคฆโส นายกสมาคมศิษย์เก่าศูนย์วัฒนธรรมเอเชียและทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล กล่าวทิ้งท้ายไว้ให้คิด

ในสายตาของต่างชาติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของไทยกำลังเป็นตลาดที่น่าสนใจ แต่สำหรับคนไทยการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมย่อมไม่ได้มีความหมายเพียงแค่นั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us