Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
คจก. - โครงการจัดสรรที่ดินทำกิน "เพื่อ"ผู้ยากไร้หรือ "เพิ่ม" ผู้ยากไร้             
 


   
search resources

Real Estate
โครงการจัดสรรที่ดินทำกิน




โครงการจัดที่ทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมหรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คจก. เป็นโครงการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลชุดพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2533

เป้าประสงค์ของโครงการนี้มุ่งที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้ได้ 40% พร้อมกับจัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชนผู้ยากไร้ ที่กำลังบุกรุกป่าสงวนอยู่อย่างผิดกฎหมายให้มีหลักแหล่งทำกินใหม่ที่ชัดเจนและกฎหมายรับรอง

พื้นที่เป้าหมายของคจก.ทั้งโครงการก็คือป่าสงวนทั้งหมดของประเทศได้แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 352 ป่า ภาคเหนือ 253 ป่า ภาคใต้ 468 ป่า และภาคกลาง 180 ป่า แต่ในขั้นแรกการเริ่มต้นนั้นอยู่ที่แผ่นดินอีสานในเขต 17 จังหวัดเพราะถือว่าเป็นถิ่นที่มีอัตราการลดลงของพื้นที่ป่าสูงที่สุด

เนื่องจากหลักคิดของโครงการเห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายไปมากก็คือการที่มีราษฎรจำนวนหลายล้านครอบครัวทำกินอยู่ในเขตป่า ทางแก้ปัญหาจึงจำต้องอพยพราษฎรเหล่านั้นออกมา

ราษฎรชาวอีสานที่อยู่ในข่ายจะต้องอพยพและได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินมีอยู่ประมาณ 250,000 ครอบครัว !

พื้นที่ทำการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอยู่ 23.2 ล้านไร่ ในจำนวนนี้ 8.93 ล้านไร่คือที่ดินที่รัฐได้เคยจัดสรรไปแล้ว ปัจจุบันจึงเหลืออยู่อีกเพียง 14.27 ล้านไร่ ซึ่ง คจก.จะใช้จัดสรรประมาณ 3,750,000 ไร่ (ครอบครัวละ 15 ไร่) ที่เหลือจัดเป็นที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งป่าชุมชน

ถ้าโครงการดำเนินการได้สำเร็จ พื้นที่ประมาณ 9.40 ล้านไร่อันได้จากการอพยพราษฎรออกไปก็จะเป็นผืนดินว่างเปล่าที่เพิ่มขึ้นมา และจะกลายเป็นพื้นที่ปลูกป่าฟื้นฟูโดยกรมป่าไม้จะเป็นผู้ดำเนินการ 625,000 ไร่ ส่วนที่เหลือนั้นให้เอกชนเช่าปลูกไม้โตเร็วป้อนภาคอุตสหกรรม

สำหรับที่ดินที่ราษฎรผู้ถูกอพยพจะได้รับการจัดสรรในแผนไม่ได้ระบุไว้ว่า แต่ละหมู่บ้าจะต้องโยกย้ายไปแห่งใดกันแน่ และที่ดินแห่งใหม่จะมีลักษณะเช่นไร เป็นพื้นที่ว่างเปล่าหรือไม่เราะแก่การทำการเกษตรเพียงใด เป็นประเด็นที่ในแผนการไม่ได้กล่าวไว้เช่นกัน ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ พื้นที่ว่างเปล่าที่สามารถใช้จัดสรรได้นั้นไม่มี ทุกตารางนิ้วที่เหลือยอมมีผู้ใช้สอยอยู่ก่อนแล้ว

นี่เองคือประเด็นที่ทำให้ประชาชนชาวอีสานไม่อาจยอมรับ คจก. กรณีที่พระประจักษ์ถูกจับระลอกที่ 2 ก็เนื่องจากเข้าไปเกี่ยวข้องช่วยเหลือในการต่อต้านเรื่องนี้ของชาวหมู่บ้านหนองใหญ่และหมู่บ้านสระตะเคียนนั่นเอง

บ้านหนองใหญ่หรืออีกชื่อหนึ่งว่าบ้านห้วยเตยพัฒนาตั้งอยู่บริเวณแนวชายป่าเขตระหว่างอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมากับอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ คือกลุ่มราษฎรผู้ยากไร้ที่ คจก.เข้าไปดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายนโดยระบุความผิดว่าเป็นชุมชนที่บุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน และได้ยื่นคำขาดว่าต้องอพยพออกสู่แผ่นดินผืนใหม่ภายในเดือนตุลาคม 2534

คจก. อ้างว่าได้เตรียมที่ดินจำนวน 300 ไร่ไว้สำหรับรองรับแล้วโดยหมู่บ้านแห่งใหม่มีชื่อว่าบ้านสันติสุข

จุดนี้เองที่บ้านสระตะเคียนได้เข้าร่วมทุกข์ยากกับชาวหนองใหญ่ด้วย เพราะพื้นที่ที่ถูกจัดเป็นบ้านสันติสุขนั้นแท้จริงก็คืออดีตไร่มันสำปะหลังของชาวสระตะเคียน !

คจก. เป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้งบประมาณแผ่นดินก้อนมหึมา เฉพาะการดำเนินการที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งเดียวก็จะต้องใช้งบถึง 1,200 ล้านบาทแล้ว หรือถ้าคิดรวมทั้งหมดทุกภาคก็ต้องใช้ประมาณ 69,000 ล้านบาท

ด้วยเจตนาที่จะช่วยผู้ยากไร้พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ชาติบ้านเมืองย่อมกล่าวได้ว่า งบประมาณที่ต้องทุ่มเทไปแม้มากมายก็ยังคุ้มค่า แต่ถ้าป่าที่เพิ่มขึ้นจะมีแต่ป่าโกงกางในขณะที่ราษฎรผู้ยากไร้กลับมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจากต้องกระเบียดกระเสียนแก่งแย่งที่ดินกันทำกิน เงินนับหมื่นล้านนั้นจะใช้ไปเพื่อใคร ?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us