Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 สิงหาคม 2551
หวั่นค้าเสรีอาเซียนทำไทยเจ๊ง.! จี้ ‘ท่องเที่ยว-เกษตร-รถยนต์’ ปรับตัวก่อนสาย             
 


   
search resources

Commercial and business
FTA




ภาคเอกชนหวั่น FTA-อาเซียนทำธุรกิจในประเทศเจ๊ง.! เหตุคู่แข่งในอาเซียนแข็งแกร่งมากขึ้น ชี้ 3 ภาคธุรกิจต้องปรับตัวด่วน ด้านกลุ่มรถยนต์ยืนเป้าหมายเดิม Detroit of Asia พร้อมฉวยโอกาสดึงนักลงทุนเกาหลีเข้าไทย ขณะที่ “ภาคเกษตร” อ่วมสุดหลายเซกเตอร์เป็นรองต้องปรับขบวนขนานใหญ่ ส่วนท่องเที่ยวต้องยกระดับเป็น “ศูนย์กลาง”แห่งภูมิภาคก่อนเชื่อมสู่ประตูเพื่อนบ้าน ทั้งพัฒนาด้านบุคลากร-ภาษาที่ยังเป็นรอง

ต้องยอมรับว่าการค้าเสรีระหว่างประเทศคู่ค้าหรือ FTA กำลังเดินหน้าตามกรอบสมมุติฐานที่ควรจะเป็นคือทุกฝ่ายวิน-วิน ไม่ว่าจะเป็นไทย-ญี่ปุ่น, ไทย-ออสเตรเลีย,ไทย-อินเดีย เป็นต้นทำให้การค้าขาย-ส่งออกระหว่างประเทศคู่ค้ามีมูลค่าสูงมากขึ้นตามลำดับ ขณะเดียวกันประเทศคู่ค้าที่เศรษฐกิจใหญ่กว่า อย่างเกาหลี , ญี่ปุ่น ,จีน ก็พยายามจะเปิดเสรีการค้าในระดับที่ใหญ่กว่าเดิมคือในระดับอาเซียนกับประเทศนั้นๆ ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการไทย เพราะไทยคือหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่กำลังจะพัฒนาไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Econcmic Community หรือ AEC) ภายในปี 2558

โดยหากประเทศใหญ่ๆที่กล่าวมาสามารถบรรลุข้อตกลงกับอาเซียนได้ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในบางเซกเตอร์ที่ต้องแข่งขันกันเองภายในอาเซียน และทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องวางแผนธุรกิจเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อให้อยู่รอดได้ มีสิ่งไหนบ้างที่ไหนต้องปรับตัวเพื่อรับมือ และธุรกิจประเทศใดที่ต้องปรับตัวอย่างหนักในการแข่งขันระดับโลก

Detroit of Asia ไม่กระทบ

อรุณ เหล่าวัฒนกุล รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าวถึง ทิศทางการพัฒนาและปรับตัวภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจาใหม่ว่า เป้าหมายของไทยยังชัดเจนว่า ต้องการเป็นดีทรอยส์ออฟแห่งเอเชีย (Detroit of Asia) เหมือนเดิมถึงแม้จะมีการเปิดการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นก็ตาม แต่ข้อตกลง JTEPA ไทย-ญี่ปุ่นยังเป็นจุดดึงดูดนักลงทุนส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นอยู่ดี แม้ญี่ปุ่นจะมองภาพรวมว่าจะใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิตใหญ่ก็ตาม

ขณะที่นักลงทุนจากเกาหลีก่อนการเกิดวิกฤตฟองสบู่จะเห็นว่ามีค่ายรถยนต์เกาหลีค่อนข้างคึกคักและทำท่าว่าลงทุนจำนวนมากแต่พอเกิดวิกฤตดังกล่าวนักลงทุนจากเกาหลี กลับย้ายฐานออกไปจนไม่เหลือในประเทศไทย จะมีก็เพียงบางค่ายที่จ้างประกอบรถยนต์แทนเท่านั้นตรงนี้น่าเสียดายมาก

หวัง “เกาหลี” ลงทุนในไทย

ปัจจุบันค่ายรถยนต์จากเกาหลีหันไปลงทุนในประเทศมาเลเซียแทน ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสตรงนี้ หากข้อตกลงระหว่างอาเซียนกับเกาหลีบรรลุผลไทยน่าจะเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งในการลงทุนไม่ใช่มองเพียงแค่มาเลเซียเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการที่ไทยจะมีการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างยั่งยืนนั้นจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน

รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ สภาอุตฯ ย้ำว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต้องมีองค์ประกอบหรือนโยบายที่ชัดเจนดังนี้

1.การรักษาฐานการผลิตในประเทศ

2.รักษาความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ในระดับอาเซียน

3.เพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยภาครัฐออก นโยบายมาสนับสนุนของภาคเอกชน, การปฏิบัติของภาครัฐและการปฏิบัติของภาคเอกชน

อนาคต‘1โลก-1กม.-1มาตรฐาน’จึงอยู่รอด

นอกจากนี้แล้วยังมีภาคอุตสาหกรรมเกษตรที่แต่ละประเทศอาเซียนแข่งขันกันเองในตลาดโลกหากการค้าเสรีอาเซียนบรรลุผลไทยต้องปรับตัวไปในทิศทางใด “พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล” รองเลขาธิการสภาหอการค้าไทย (ภาคการเกษตร) กล่าวถึงสิ่งที่นักธุรกิจไทยหรือผู้ประกอบการภาคการเกษตรต้องปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า ในอนาคตตลาดของไทยคือตลาดโลกเพราะต่อไป ‘1โลก 1กฎหมาย 1 มาตรฐาน’ และตลาดเป็นหนึ่งเดียวกันทำให้มาตรฐานสินค้าระดับโลกกำลังไล่ล่ามาตรฐานเอกชนไทย หากคุณไม่สามารถปรับตัวได้ก็อยู่ไม่ได้เพราะต่อไปตลาดโลกจะมีมาตรฐานเดียวกัน โดยสิ่งนี้จะพิสูจน์ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในอนาคต

ที่ผ่านมาที่น่าห่วงมากคือผู้ประกอบการไทยยังไม่เปลี่ยนโครงสร้างในการผลิตและลงทุนเพราะยังบริหารงานแบบเก่าไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า และไม่กล้าจะตัดสินใจลงทุนการผลิตแบบใหม่ๆตรงนี้จะทำให้ผู้ประกอบการไทยสู้ต่างชาติไม่ได้

“ในปี 2015 ตลาดในอาเซียนจะเสรีภาษีระหว่างกันจะเหลือ 0% ทุกประเทศจะเข้าถึงวัตถุดิบของอีกประเทศ ผู้ประกอบการจะอยู่ไม่ได้แน่นอนเราถึงต้องปรับตัวเพื่อรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” รองเลขาธิการสภาหอการค้าไทยระบุ

สินค้าเกษตรที่ไทยเสียเปรียบ

อย่างไรก็ดีหากเปรียบเทียบศักยภาพในการส่งออกสินค้าภาคการเกษตรในแต่ละเซกเตอร์กับประเทศสมาชิกในอาเซียนด้วยกันจะพบว่า 1.ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นไทยยังเป็นรองอยู่หลายชนิดเช่น พริกไท ,กุ้ง/ปูสดและแช่เย็น อบเชย แป้งสาลี น้ำมันในถั่วเหลือง กล้วยสด ไขมัน/น้ำมันสัตว์ น้ำแร่/นำอัดลม สุรา/ไวน์ และน้ำมันปาล์ม

2.ส่งออกไปตลาดเกาหลีที่ไทยยังเป็นรองได้แก่ ปลาสดทั้งตัว/แช่เย็น-แช่แข็ง เนื้อปลาฟิเล่สด-แช่เย็น ปลารมควัน/อบแห้ง สัตว์เปลือกแข็ง/สด/แช่เย็น กล้วย ลูกนัด อินทผลัม เมลล่อน และแป้งสาลี

3.ส่งออกไปออสเตรเลียที่ไทยยังเป็นรองอาทิ เครื่องเทศ ธัญพืช ไขมัน/น้ำมันสัตว์ น้ำมันถั่งเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลจากอ้อย/หัวบีต ขนมที่ทำจากน้ำตาล น้ำแร่/น้ำอัดลม น้ำสมสายชู ขนมขบเคี้ยว และ เบเกอร์รี่ และสุดท้าย

4. ส่งออกไปยังตลาดนิวซีแลนด์ที่สินค้าไทยยังเป็นรอง ปลาทั้งตัว/สด-แช่แข็ง ปลารมควัน กล้วยสด อินผลัม และเมลล่อน เป็นต้น

“หากผู้ประกอบการไทยต้องการอยู่รอดให้ได้ตามสินค้าที่ว่ามาต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการต้องลงทุนในการผลิตแบบใหม่ๆต่อไปตลาดของไทยคือตลาดโลก ทำไมเราต้องวิ่งตามโลก เราต้องทำให้โลกวิ่งตามเราให้ได้ภายใต้กรอบการการค้าเสรีทั้งหมด” พรศิลป์ ถึงทิศทางการพัฒนาสินค้าเกษตรของไทย

ธุรกิจ SMEs อยู่ลำบาก

นอกจากสินค้าภาคการเกษตรแล้วยังมีอีกภาคบริการที่ไทยอาจจะเพลี่ยงพล้ำคู่แข่งในละแวกอาเซียนได้แม้การท่องเที่ยวและบริการของไทยจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าเพื่อนบ้านก็ตาม แต่ชะล่าใจไม่ได้เช่นเดียวกันและหากภาคการท่องเที่ยวและบริการเปิดเสรีขึ้นมาจริงๆไทยควรจะปรับตัวไปในทิศทางใด “จารุบุณณ์ ปาณานนท์” ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) อธิบายถึงทิศทางการปรับตัวภาคการท่องเที่ยวและบริการของไทยภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีว่า ต้องยอมรับว่ามูลค่าการท่องเที่ยวและการบริการของไทยสูงถึงปีละ 300,000 ล้าน/ปีสามารถทำกำไรให้กับประเทศได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งหากเปิดการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาใหม่ๆอาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน การไหลเวียนของนักท่องเที่ยวระหว่างกันจะมีมากขึ้น

โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวห่วงคือการปรับตัวของผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือ SMEs ที่อาจจะอยู่ลำบากหากช่วงนั้นมาถึงเพราะเงินลงทุนจะไหลเข้ามาภาคท่องเที่ยวและบริการมหาศาลอย่างแน่นอน ผู้ประกอบการขนาดเล็กจะอยู่ลำบากมากขึ้นทั้ง ส่วนผู้ประกอบการขนาดใหญ่สามารถอยู่รอดได้อยู่แล้วไม่น่าจะมีปัญหา

ดันไทยสู่ “ศูนย์กลาง” ท่องเที่ยวอาเซียน

ทว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องมองต่อไปคือต้องทำให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางหรือเป้าหมายการเดินทางในภูมิภาคอาเซียนแล้วค่อยเดินทางต่อไปในประเทศอื่นๆ ซึ่งโครงการดังกล่าวเคยทำมาแล้วและได้ผลเป็นอย่างดี หากสามารถสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียนภายหลังเปิดการค้าเสรีระหว่างกันได้จะทำให้เกิดการไหลเวียนนักท่องเที่ยวไปตามประเทศต่างๆได้โดยมีไทยเป็นเป้าหมายแรกในการเดินทาง

“มาตรฐานการบริการ ภาษา เทคโนโลยีต้องพัฒนากว่านี้นักท่องเที่ยวต้องได้รับบริการอย่างดีที่สุดเพื่อสร้างความพึงพอใจในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านภาษาที่บุคลากรด้านท่องเที่ยวของไทยยังด้อยกว่าประเทศอื่นอยู่มาก” ผู้ทรงคุณวุฒิ ส.อ.ท.ระบุ

ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนเท่านั้นที่ต้องปรับตัวแต่ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต้องส่งเสริมทำตลาดควบคู่กันด้วย โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวตามท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาไปตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าวอาจจะเป็นการให้กู้ยืมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว หรือ พัฒนาสถานที่ประกอบการก็ได้ เพราะผู้ประกอบการรายเล็กไม่มีเงินทุนที่จะปรับปรุงกิจการของตัวเองได้

สุดท้ายความร่วมมือในประชาคมอาเซียน (AEC) ที่พยายามผลักดันมาตลอดจะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ เพราะข้อจำกัดของอาเซียนยังมีอยู่มาก อาทิ การไม่เป็นหนึ่งเดียวกันของสมาชิก , ความยืดหยุ่นของอาเซียนทำให้ไม่มีอุดมการณ์ที่แน่นอน, การไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงของอาเซียน และจุดอ่อนที่สุดคือบทลงโทษสมาชิกหากผิดข้อตกลงซึ่งไม่เคยมีมา คงต้องจับตาดูต่อไปว่า การค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาจะเกิดได้จริงแค่ไหน แต่การเตรียมตัวไว้ก็ทำให้เราอุ่นใจได้ว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรภาคธุรกิจพร้อมรับทุกสถานการณ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us