Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
ทีวีสตาร์วอร์             
 


   
search resources

ไอบีซี ซิมโฟนี, บจก.
ไทยสกายทีวี
STAR Group Limited
TV




ศึกเคเบิลทีวีในช่วงเดือนที่ผ่านมาเริ่มดุเดือดเผ็ดมันเข้มงวดเข้ามาทุกที แต่ละค่ายวิ่งหาสมาชิกกันอย่างหนัด อัดแคมเปญรายการส่งเสริมการขายยกใหญ่ คนในวงการบอกว่าศึกครั้งนี้มิใช่สู้กันแต่เฉพาะเคเบิลทีวีในเมืองไทยเท่านั้น ยังมีแถมพ่วงเคเบิลทีวีสายตรงจากต่างประเทศระบบดาวเทียมเข้าร่วมชิงชัยด้วยอีกต่างหากไม่ว่าจะเป็นไอบีซีของค่ายชินวัตร ไทยสกายของคีรี สตาร์ทีวีของฮัทชิสัน หรือโทปาซของแปซิฟิค เหล่านี้คือที่มาของศึกชิงสมาชิกซึ่งตลาดใหญ่อยู่ที่กทม.นี่เอง

ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีบรรดาธุรกิจต่างๆ เร่งทำตลาดเพื่อให้ยอดได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดอย่างเต็มที่ การแข่งขันที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปีตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสที่ 3 เกมการตลาดเป็นไปในลักษณะของการรักษาส่วนแบ่งตลาดให้คงอยู่หรือเพิ่มอัตราส่วนตลาดเท่าที่ทำได้

ทว่าไตรมาสสุดท้ายของปีการเพิ่มยอดให้บรรลุเป้าหมายย่อมหมายถึงสัดส่วนครองตลาดที่เพิ่มขึ้น มูลค่าการตลาดจะเติบโตและขยายตัวเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าไตรมาสอื่น ประกอบกับหน้าใหม่ๆ มักจะโดดเข้าสู่วงการเพื่อช่วงชิงตลาดในช่วงนี้ด้วยเหมือนกัน การแข่งขันของเกมการตลาดจึงดุเดือดและเข้าข้นในไตรมาสสุดท้าย

เคเบิลทีวีเป็นธุรกิจที่เกิดใหม่เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาแต่ก็ได้รับความสนใจจากคนกรุงอย่างมากมาย จะว่าไปแล้วในต่างจังหวัดเกิดธุรกิจเคเบิลตามสายมานานปีก่อนที่จะขยับเข้ากทม. และพัฒนาสู่ระบบไฮเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นจนถึงขั้นส่งตรงจากดาวเทียม

ปัจจุบัน มีค่ายต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวีอยู่หลายค่าย ผู้ริเริ่มก่อนย่อมได้เปรียบ อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง เคเบิลทีวีหรือ ไอบีซี บริษัทในเครือของกลุ่มชินวัตรคอมพิวเตอร์จึงได้เริ่มเปิดฉากก่อนค่ายอื่นหลังได้รับสัมปทานจาก อ.ส.ม.ท. เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่บริษัทสยามบรอดคาสติ้ง คอมมิวนิเคชั่นหรือไทยสกายของ "คีรี กาญจนพาสน์" เพิ่งได้รับสัมปทานและเริ่มแพร่ภาพได้เมื่อเดือนสิงหาคมนี่เอง

ไอบีซีได้เปรียบในการก้าวย่างล้ำหน้าไปได้หลายขุมกวาดสมาชิกได้ประมาณเกือบ 40,000 รายจากที่ตั้งเป้าไว้ 60,000 รายในช่วง 2 ปีแรก ไทยสกายเพิ่งจะเริ่มต้นลงมือชิงตลาดเมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมาจากเป้าสมาชิกในปีแรกประมาณ 10,000 ราย

"ขนาดของตลาดเคเบิลทีวีในช่วง 2 ปีแรกมันใหญ่มากเกือบ 100,000 ราย และอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 400,000 ราย" นิวัตร บุญทรง ผู้จัดการใหญ่ของค่ายไอบีซีเล่าให้ฟังถึงขนาดตลาดสมาชิกเคเบิลทีวี

การที่ไอบีซีไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจนี้มาก่อนในช่วงปีแรกไม่มีคู่แข่ง การดำเนินงานของค่ายไอบีซีจึงเป็นไปอย่างเรียบง่าย รายงานไม่มีอะไรโดดเด่นเทียบเคียงได้ในต่างประเทศ

แต่เมื่อเกิดไทยสกายเป็นคู่แข่งขัน ความมันในอารมณ์ของคนทำการค้าจึงเกิดขึ้น เกมการตลาดเพื่อใช้ต่อกรกับคู่ค้าหน้าใหม่จึงค่อยๆ เฟยโฉมให้เห็นทีละน้อย

ไอบีซีเริ่มที่รายการ ซึ่งเป็นจุดอ่อนโดยการดึงบริษัทยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จากสหรัฐฯ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจผลิตและบริหารเคเบิลทีวีมาร่วมลงทุนและปรับปรุงรายการ จากเดิมที่อาศัย เพ็ญโสม ดามาพงศ์ ญาติของ ทักษิณ ชินวัตร

ด้านการตลาด ทั้งไอบีซีและไทยสกายเริ่มช่วงชิงสมาชิกด้วยรายการลด แลก แจกและแถม ไทยสกายวางเกมบริหารให้ผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกประจำได้ดูรายการฟรีโดยไม่คิดค่าบริการรายเดือน 1,000 บาทจนถึงสิ้นปี สมาชิกจะเสียเพียงค่าติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณจำนวน 3,000 บาทและค่ามัดจำอุปกรณ์ 3,000 บาท พร้อมติดตามด้วยโปรแกรมบัตรสมาชิกไทยสกายคลับสำหรับการใช้จ่ายและท่องเที่ยวแบบมีส่วนลด

ส่วนไอบีซี ยอมลดค่าสมัครเป็นสมาชิกจากที่เคยเก็บ 5,500 บาทเหลือประมาณ 2,500 บาทแถมสมาชิกหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันฟรี 1 ปี ซึ่งเป็นแคมเปญที่มีกำหนดระยะเวลาสั้นๆ และหากเสียค่าสมาชิกตลอดทั้งปีจะมีส่วนลดพิเศษลงจากเดิมอีก 10% ของราคาปกติ (ไม่คิดค่าบริการรายเดือนๆ ละ 600 บาท)

จากรายการส่งเสริมการขายของทั้ง 2 ค่ายนี้นับว่าได้รับความสนใจอย่างงดงามและปลุกเร้าตลาดได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันแต่ละค่ายต่างโปรโมตให้กันและกันว่าหากเป็นสมาชิกของตนจะสามารถรับสัญญาณของอีกค่ายได้ทั้งนี้เพราะทั้ง 2 ค่ายได้ใช้คลื่นความถี่วิทยุส่งสัญญาณในความถี่เดียวกัน คือ 2,600 เมกะเฮิรตช์ ทั้งไอบีซีแลไทยสกายต่างรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น

กล่าวกันว่า ในช่วงนี้การหาสมาชิกของไอบีซีมักจะพ่วงท้ายโปรโมตไทยสกายควบคู่ไปด้วยคือ พนักงานของไอบีซีจะใช้กลไกวิธีดึงดูดความสนใจในช่วงการตัดสินใจของผู้บริโภคว่า หากสมัครเป็นสมาชิกของไอบีซีจะสามารถรับช่องสัญญาณของไทยสกายได้อีกด้วยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ทว่าการเงียบเฉยไม่ตอบโต้ของไทยสกายนั้นถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเผยแพร่รายการที่คู่แข่งประชาสัมพันธ์ให้เองโดยไม่รู้ตัว "แต่สิ่งนี้ก็เป็นดาบ 2 คมในทางหนึ่งจะทำให้สมาชิกตัดสินใจได้งานขึ้นต่อการเป็นสมาชิกค่ายใดค่ายหนึ่งเมื่อเกิดการเปรียบเทียบรายการที่ปรากฏ แต่ในอีกทางหนึ่งก็เป็นการเสี่ยงหากรายการของไทยสกายไม่มีคุณภาพ" นักการตลาดชื่อดังรายหนึ่งวิเคราะห์กลยุทธ์การปล่อยให้ไอบีซีรบกวนคลื่นสัญญาณของค่ายไทยสกาย

การแข่งขันธุรกิจเคเบิลทีวีนอกเหนือจากรายการส่งเสริมการขายก็คือรายการที่นำมาฉาย ไอบีซีเน้นจุดขายไปที่การเสนอข่าวความเคลื่อนไหวของโลกที่ซื้อจากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น และรายการบันเทิงที่ฉายพร้อมในทีวีอเมริกา ในขณะที่ไทยสกายเน้นข่าวที่ซื้อจากสำนักข่าวบีบีซีและรายการบันเทิงจากทุกมุมโลกที่หาดูได้ยากจากโปรแกรมทีวีในเมืองไทย

กลุ่มเป้าหมายของไอบีซีจริงๆ แล้วอยู่ที่ฝรั่งที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยและคนไทยที่เคยอยู่ที่อเมริกา ลักษณะของรายการส่วนใหญ่จึงลอกมาทั้งดุ้นจากสหรัฐฯ ขณะที่ไทยสกายเน้นกลุ่มเป้าหมายระดับครอบครัวเข้าทำนองเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี รายการจึงมีหลายรสหลายชาติจากทั่วโลก

อย่างงไรก็ตาม คนในวงการให้ความเห็นว่าการแข่งขันในธุรกิจเคเบิลทีวีมิใช่เป็นการแข่งขันเพียงแค่ 2 ค่ายที่กล่าวถึงเท่านั้น ทว่ายังมีธุรกิจเคเบิลทีวีจากระบบดาวเทียมที่ส่งตรงจากต่างประเทศถึง 2 รายด้วยกันที่เข้ามาสร้างฐานหวังครอบคลุมอาณาเขตในเมืองไทยหาสมาชิกระดับสูง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับสมาชิกของไอบีซีและไทยสกาย

รายแรกที่เริ่มดำเนินอย่างจริงจังคือ สตาร์ทีวีของบริษัทฮัทวิชั่น ฮ่องกงซึ่งเป็นเครือข่ายของฮัทชิสัน วัมเปาแห่งฮ่องกง ฮัทชิสันเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้วโดยขอติดตั้งสถานีส่งสำรองภาคพื้นดินที่เชียงใหม่ เพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมเอเชียแซทในกรณีที่สถานีส่งหลักที่ฮ่องกงเกิดเหตุขัดข้อง ฮัทชิสันสามารถส่งสัญญาณภาพครอบคลุมได้ในภูมิภาคเอเชียได้ 7 ประเทศคือ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย สิงคโปร์และอินเดีย และมีรัศมีทำการครอบคลุมไกลถึง 40 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนี้

แต่ข้อจำกัดของผู้เป็นสมาชิกสตาร์ทีวีจะต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์จานรับสัญญาณดาวเทียมของสตาร์ทีวีเฉพาะ ซึ่งในไทยบริษัทสามารถเทเลคอมฯ เป็นผู้ผลิตให้ในราคาชุดละ 30,000 บาท ทั้งนี้ต้องอยู่ในกลุ่มที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลคือมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทหรือข้าราชการตั้งแต่ซี 5 ขึ้นไป

สตาร์ทีวีเริ่มโปรโมตอย่างจริงจังโดยการใช้บริษัทเจ วอลเตอร์ทอมสันป์ (เจดับบลิวที) ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณาทำการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและทำประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของสตาร์ทีวีอย่างต่อเนื่อง

จุดขายของสตาร์ทีวีก็เหมือนกับจุดขายของไอบีซีหรือไทยสกายคือ นำรายการของค่ายดังๆ เข้ามาเป็นจุดเร้าในการตัดสินใจ เช่น เอทีวีเอาใจช่องภาษาจีน เอ็มทีวีสำหรับคอเพลง ส่วนรายการข่าวได้ร่วมกับบีบีซีอีกด้วย ซึ่งทางสตาร์ทีวีคาดว่าตนเองจะสามารถหาสมาชิกได้ประมาณ 13 ล้านคนครอบคลุมพื้นที่ 40 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคทั้งหมด

ขณะเดียวกัน โทปาซธุรกิจเคเบิลทีวีของแปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่นในออสเตรียก็ได้เริ่มงานในช่วงการประชุมเวิลด์แบงค์ แล้วหลังจากที่มีอุปสรรคความไม่พร้อมของอุปกรณ์การสื่อสารนามานหลายเดือน ขณะนี้ได้หาสมาชิกด้วยการให้บริษัท สามารถเทเลคอมฯ เป็นผู้ทำตลาดให้

กล่าวคือ ถ้าสามารถเทเลคอมฯ ไปติดตั้งจานรับดาวเทียมที่ใด สามารถเทเลคอมฯ ก็จะเป็นผู้ขายสมาชิกให้กับไทปาซด้วย ซึ่งวิธีการเช่นนี้แปซิฟิคฯ จะประหยัดต้นทุนการตลาดของตนเองลงไปได้ขณะเดียวกันก็ได้สมาชิกที่แน่นอนตามเป้าหมายโดยไม่ต้องดิ้นรนอีกด้วย

แม้ว่าข้อจำกัดของธุรกิจเคเบิลระบบดาวเทียมมีมากต้องใช้งบลงทุนสูงกว่าเคเบิลทีวีระบบไมโครเวฟคือ ต้องมีจานรับสัญญาณดาวเทียม ในขณะที่การลงทุนเป็นสมาชิกของเคเบิลทีวีไมโครเวฟเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าถึง 10 เท่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us