Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
สหธนาคารถูกปรับวันละแสนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าร้อยละ 8             
 


   
search resources

ธนาคารสหธนาคาร
Banking and Finance
Stock Exchange




ปัญหาคุกรุ่นของสหธนาคารเริ่มก่อตัวอีกครั้งเมื่อแบงก์ชตรวจพบว่าธนาคารฯมีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าระเบียบที่กำหนดไว้ เพราะไม่สามารถเรียกเพิ่มทุนได้เนื่องจากมีข้อขัดแย้งในกลุ่มผู้ถือหุ้น

ปัจจุบัน สหธนาคารมีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงประมาณร้อยละ 6.5

อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหมายความว่าการที่ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อที่เป็นการเสี่ยงภัยมากขึ้นนั้น จำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ของสินทรัพย์เสี่ยง

อีกนัยหนึ่งคือในการขยายสินทรัพย์เสี่ยงทุก 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีเงินกองทุนไม่ต่ำกว่า 8 บาท

มาตรการนี้เป็นการควบคุมการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

หลังจากที่พยายามแก้ปัญหาให้สหธนาคารแต่ไม่สำเร็จ แบงก์ชาติจึงปรับสหธนาคารในอัตราสูงสุดวันละ 100,000 บาท เริ่มประมาณเดือนกันยายนที่ผ่านมา

แหล่งข่าวในสหธนาคารเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "สถานการณ์ของแบงก์ในเวลานี้คงจะอยู่ได้ไม่เกินสิ้นปีนี้ ไหนจะถูกปรับ เพิ่มทุนก็ไม่ได้ ที่มาของรายได้จากการปล่อยสินเชื่อก็ลดน้อยลงกว่าเดิมมาก และยังหนี้เสียและต่ำกว่ามาตรฐานอีกเป็นจำนวนนับพันล้านบาทได้"

หนทางแก้ไขปัญหาสหธนาคารในเวลานี้ดูช่างมืดมนเสียจริง ๆ

เป็นที่คาดหมายกันว่า สหธนาคารจะพยายามอย่างยิ่งในการเจรจากับ CORRESPONDENCE BANK ที่มาร่วมกาปรระชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก/กองทุนการเงินระหว่างประเทศในไทย เพื่อให้เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรใหม่กับตน ทำสงครามฟาดฟันกับพันธมิตรเดิมให้ได้

แต่จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป

ปัญหาเรื่องการเพิ่มทุนของสหธนาคารในเวลานี้ มีสาเหตุโยงใยลึกซึ้งมาตั้งแต่ปี 2531 เหตุการณ์ล่าสุดที่เป็นชนวนประทุของปัญหาตอนนี้คือการที่ฝ่ายชลวิจารณ์ฟ้องศาลเพือ่อายัดหุ้น ABC จำนวน 500,000 หุ้น ไม่ให้มีการซื้อขาย

ทั้งนี้ฝ่ายชลวิจารณ์อ้างว่ากลุ่มที่จะมาซื้อหุ้นจำนวนนี้เป็น NOMINEES ของฝ่ายธนาคารอาหรับฯหรือ ABC+อัศวินวิจิตร+เพ็ญชาติ

พันธมิตร ABC+อัศวินวิจิตร+เพ็ญชาติ ในตอนนี้ครอบครองหุ้นในสหธนาคารอยู่ประมาณ 41% ส่วนกลุ่มชลวิจารณ์คืออยู่ 51% กระทรวงการคลังประมาณ 6% และที่เหลืออีก 2% เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย

เมื่อเดือนมีนาคม 2531 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นฯ ได้มีมติพิเศษให้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 200 ล้านบาทเป็น 800 ล้านบาทโดยการออกหุ้นสามัญจำนวน 2 ล้านหุ้น ๆ ละ 100 บาท

แต่เมื่อมีการออกจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม 2532 สหธนาคารโดยกลุ่มชลวิจารณ์ ก็ฟ้องศาลขอให้ออกคำสั่งระงับการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้จำนวน 500,000 หุ้นเพราะตัวแทนของธนาคารอาหรับฯ มีการถือหุ้นต่อรายเกินข้อกำหนดตามกฎหมาย

ฝ่าย ABC จึงไม่สามารถซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวได้ และจนถึงตอนนี้สหธนาคารก็ยังไม่ยอมขอถอนคำสั่งศาลด้วย

เมื่อมีการประชุมเพื่อขอมติเพิ่มทุนในต้นปีที่ผ่านมาอีกครั้งหนึ่ง คือเพิ่มทุนอีกเท่าตัวเป็นทุจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,600 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นฝ่าย ABC+อัศวินวิจิตร+เพ็ญชาติลงมติไม่สนับสนุนการเพิ่มทุน

ต่อมาพันธมิตรกลุ่มนี้ยื่นข้อเสนอต่อฝ่ายชลวิจารณ์ว่าจะขายหุ้นทั้งหมดของฝ่ายตนให้แก่ชลวิจารณ์ในราคาหุ้นละ 600 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,800 ล้านบาท หรือจะซื้อหุ้นของฝ่ายชลวิจารณ์ทั้งหมดในราคาหุ้นละ 650 บาท

ข้อเสนอที่สามคือเอาหุ้นจำนวน 500,000 หุ้นที่ถูกอายัดไว้นั้นออกมาคืนให้ฝ่าย ABC ฝ่ายพันธมิตรฯ จึงจะยอมให้เพิ่มทุน

เศรณี เพ็ญชาติ ผู้ถือหุ้นในฝ่ายพันธมิตร ABCฯ กล่าวว่า "ผมคิดว่าราคาที่เราตั้งไว้ 1,800 ล้านบาทนี่เป็นราคาที่ถูกมาก เพราะใบอนุญาตการประกอบการธนาคารพาณิชย์ไม่มีขายในประเทศไทยและจะไม่มีขายอีกต่อไป แบงก์สยามตอนนั้นจะขายในราคาถึง 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นแค่เศษกระดาษแผ่นเดียว ตัวแบงก์ก็ยุบไปแล้ว สาขาก็ไม่มี ทรัพย์สินก็ไม่มี ไม่มีอะไรสักอย่าง แต่สหธนาคารเป็นแบงก์ที่มีกว่า 80 สาขา สินทรัพย์รวมตั้ง 20,000-30,000 ล้านบาท"

ฝ่ายชลวิจารณืไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ได้มีทางออกอื่น ๆ แต่อย่างใด

วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการธนาคารชาติกล่าวกับสื่อมวลชนฉบับหนึ่งหลังจากที่ กรพจน์ อัศวินวิจิตร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งในสหธนาคารและร่วมเป็นกรรมการอยู่ในเวลานี้ได้นำประธานธนาคารอาหรับ แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่นเข้าพบเมื่อกลางเดือนที่แล้วว่า "เขาก็มาบอกว่ายินดีที่จะให้แบงก์ชาติเข้าไปแก้ปัญหาในสหธนาคาร และก็จะให้ความร่วมมือกับทางการอย่างเต็มที่"

แนวคิดเรื่องการหากลุ่มที่สามที่เป็นกลางเพื่อเข้ามารับซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 800 ล้านบาทเกิดขึ้นในช่วงนี้ เศรณีกล่าวว่า "ผมคิดว่านี่ไม่ใช่ข้อเสนอของแบงก์ชาติ ใครจะยอมเป็น THIRD PARTY ที่อยู่ดี ๆ ยอมให้เอาเงิน 800 ล้านบาทมาวางไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้ผลตอบแทนอะไร หากมีข้อเสนอเช่นนี้ก็ควรทำไปนานแล้ว เพราะอย่างที่รู้กันว่าทางชลวิจารณ์ก็พยายามดึงคนเข้ามาร่วมกับเขา แต่ก็ไม่เห็นสำเร็จสักที"

อย่างไรก็ดี หากความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายผู้ที่จะเข้ามาเป็น THIRD PARTY คงจะหนีไม่พ้นกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินหรือกระทรวงการคลังซึ่งถือหุ้นธนาคารอยู่แล้ว

ผู้รู้เรื่องความขัดแย้งในกลุ่มผู้ถือหุ้นสหธนาคารรายหนึ่ง ให้ความเห็นว่า "ผมไม่คิดว่าฝ่ายชลวิจารณ์จะหาพันธมิตรได้เขาทำถึงขนาดอายัดหุ้นของ ABC ไว้ แล้วพาร์ทเนอร์ที่ไหนจะมาร่วมกับเขาล่ะ"

ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกของสหธนาคารสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2534 ปรากฏว่ามีส่วนของผู้ถือหุ้นหรือเงินกองทุน 1,447.36 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับสุทธิเท่ากับ 25,093.60 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนมีเงินกองทุน 1,426.14 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อรวมดอกเบื้อค้างรับสุทธิเท่ากับ 25,994.29 ล้านบาท

เท่ากับว่าในรอบปีที่ผ่านมาไม่ได้มีความเคลื่อนไหวในสองรายการนี้แต่อย่างใด เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนได้

เมื่อดูความสามารถในการทำกำไรก็ลดลงอย่างมาก ครึ่งแรกของปี 2534 มีกำไรสุทธิ 18.02 ล้านบาทเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2533 มีกำไรสุทธิ 50.02 ล้านบาท

ลดลงถึง 32 ล้านบาท แม้ว่าแบงก์ชาติจะมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่ใช้กำกับดูแลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์อยู่ แต่ในกรณีความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นอย่างที่เกิดกับสหธนาคารนี้แบงก์ชาติไม่อาจทำอะไรได้ และมีการประกาศตลอดมาว่าขอวางตัวเป็นกลาง ให้ผู้ถือหุ้นแก้ไขปัญหากันเอง

ผู้สันทัดกรณีที่เคยผ่านประสบการณ์เมื่อแบงก์พาณิชย์แห่งหนึ่งล้มละลายกล่าวว่า "แบงก์ชาติจะเข้ามาก็ต่อเมื่อสหธนาคารมีปัญหาสภาพคล่องจนหมิ่นเหม่ต่อเสถียรภาพของผู้ฝากเงิน ทำได้อย่างเดียว เพราะกฎหมายให้อำนาจแบงก์ชาติต่อเมื่อแบงก์พาณิชย์มีปัญหาผลการประกอบการจนฐานะเงินกองทุนติดลบ"

ครึ่งแรกของปี 2534 สหธนาคารมีสินทรัพย์รวม 31,556.95 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 30,109.58 ล้านบาท ส่วนงวดเดียวกันของปีก่อนมีสินทรัพย์รวม 25,994.29 ล้านบาท มีหนี้สินรวมเท่ากับ 24,568.14 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us