Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
"ทุนเท็กซ์" คว้าโครงการพีทีเอ ชัยชนะของ "แบงก์กรุงเทพ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย), บมจ.-TUNTEX
Chemicals and Plastics




หลายคนบอกว่างานนี้เป็นชัยชนะของแบงก์กรุงเทพ

วันนั้น 30 กันยายน 2534 บอร์ดใหญ่ของบีโอไอซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่งได้ตัดสินให้บริษัท ทุนเท็กซ์ ไต้หวันเป็นผู้ชนะในโครงการพีทีเอ เฉือนอโมโก้จากสหรัฐอเมริกาไปอย่างลอยลำทั้งที่เดิมอโมโก้เป็นตัวเต็งที่ทุกฝ่ายเห็นว่าเขาจะคว้าชัยชนะในครั้งนี้

เนื่องจากอโมโก้เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและเป็นผู้ครองตลาดพีทีเอ มากกว่า 50% ของโลก

สำหรับโครงการพีทีเอของไทยนั้นเป็นหนึ่งในโครงการขั้นกลางของปิโตรเคมีระยะที่ 2 ซึ่งจะรับพาราไซลีน วัตถุดิบหลักของโรกอะโรเมติกส์ และตัวพีทีเอนั้นเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยประมาณการว่าต้องการใช้อย่างต่ำ 250,000 ตันต่อปี

เหตุที่ต้องเปิดคัดเลือกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากบริษัท ไทยพีทีเอ จำกัด ถอนตัวออกไปโดยอ้างเหตุผลของความไม่คุ้มทุนและสหยูเนี่ยน หนึ่งในผู้ร่วมทุนหลักไม่พร้อมที่จะเพิ่มทุน

บีโอไอจึงเปิดคัดเลือกใหม่ โดยถือหลักการว่าจะไม่เน้นเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประมูลจะเสนอให้รัฐเหมือนคราวแรกแต่จะดูความเป็นไปได้ของโครงการเป็นสำคัญ

ความชำนาญเฉพาะในด้านปิโตรเคมีของอโมโก้จึงเป็นจุดได้เปรียบที่ต่างเล็งกันว่าคงจะนำชัยในคราวนี้ แม้แต่เอ็ดวินชอย ผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังให้ความเห็นต่อนักข่าวหลายคนว่า ข้อเสนอขงอโมโก้ดีมาก

พอเอาเข้าจริง ทุกอย่างกลับพลิกหน้ามือเป็นหลังเท้า

แต่ก็มีข้อสังเกตอยู่วาโชติ โสภณพนิช กรรมการบริหารของแบงก์กรุงเทพกล่าวว่า มั่นใจต่อชัยชนะครั้งนี้ถึง 60% ซึ่งสอดคล้องกับคำตัดสนิของบีโอไอ

โดยชีระ ภาณุพงศ์ เลขาธิการบีโอไอกล่าวก่อนหน้านั้นว่าเงื่อนไขพอ ๆ กัน ตัดสินใจยาก

ถ้าเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ทำให้ทุนเท็กซ์ได้โครงการนี้ไป ทั้งที่แหล่งข่าวจากบีโอไอรายหนึ่งกล่าวก่อนการตัดสินว่า "อโมโก้น่าจะได้รับเลือกอย่างแน่นอน"

นั่นก็เพราะว่า ข้อเสนอของอโมโก้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขาที่บีโอไอกำหนดเมื่อวันนที่ 16 กรกฎาคม 2534 หลายประเด็น

เช่น ไม่ขอรับข้อผูกพันที่จะรับซื้อพาราไซลีนจากโรงอะโรเมติกส์ในราคาไม่ต่ำกว่า 1.25 เซ็นต์ต่อปอนด์ไม่ให้คำมั่นว่าจะสร้างโรงงานเสร็จและเริ่มผลิตก่อนโรงอะโรเมติกส์ได้ 3 เดือน หรือไม่

ขณะเดียวกัน ก็ผนวกข้อความเพิ่มเติมด้วยว่า ถ้าโรงอะโรเมติกส์สร้างเสร็จช้ากว่าโรงพีทีเอ อโมโก้จะขอนำเข้าพาราไซลีนจากต่างประเทสด้วยตัวเอง ทำให้บอร์ดบีโอไอรับไม่ได้ นอกจากนี้อโมโก้ยังขอรับสิทธิพิเศษคือขอยกเว้นภาษีวัตถุดิบ 50%

ขณะที่ทุนเท็กซ์เสนอเงื่อนไขได้ตรง และยังเปิดทางให้รัฐบาลเจรจาต่อรองระยะเวลาการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุด 7 ปี และไม่ขอรับสิทธิพิเศษการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ

ข้อเสนอเหล่านี้ทำให้ทุนเท็กซ์ซึ่งแม้จะดูเป็นรายเล็ก แต่ก็เป็นประเภท "เล็กพริกขี้หนู"

สำหรับทุนเท็กซ์ในไต้หวันนั้นโด่งดังมาก โดยเริ่มกิจการจากอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร ตั้งแต่การผลิตเส้นโพลีเอสเตอร์ ทอ ฟอก ย้อม และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ส่งออกไปทั่วโลก จากนั้นก็ขยายไปสู่ธุรกิจพัฒนาที่ดินจนเป็นมีชื่อเสียงด้านนี้เป็นอย่างดีในระยะเพียง 10 ปี ยังไม่รวมไปถึงการขยายไปสู่ธุรกิจค้ารถยนต์ ธุรกิจค้าปลีกในรูปของดีพาร์ตเมนสโตร์หรือซูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดนถึงธุรกิจท่องเที่ยว

เฉพาะด้านสิ่งทอและปิโตรเคมีนั้น ทุนเท็กซ์ได้ก่อตั้งบริษัททุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) ขึ้นมาดำเนินการโรงงานผลิตโพลีเอสเตอร์ ซึ่งจากใช้วัตถุดิบคือ อีจีและพีทีเอ

การณ์ครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของทุนเท็กซ์ที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่น ซึ่งไทยนับเป็นอันดับที่ 4 หลังจากที่ทุนเท็กซ์ได้ลงทุนในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้

โรงงานพีทีเอในไทยนั้น ชอยยืนยันว่า "จะเริ่มผลิตได้ภายในปี 2537 แน่นอน โดยจะมีลักษณะและรุปแบบเช่นเดียวกับโรงงานพีทีเอในไต้หวันที่กำลังเริ่มดำเนินการ วิธีการนี้จะช่วยย่นระยะเวลาให้น้อยลงอีกหนึ่งปีเป็นอย่างน้อย จะใช้เทคโนโลยี MONTEDISON ของอิตาลีซึ่งได้รับถ่ายทอดจากอโมโก้อีกต่อหนึ่งและจะเปิดคัดเลือกผู้รับเหมาในกลางปี 2535"

ดังนั้น ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีแล้วก็ไม่ต่างกัน

แต่อโมโก้จะเสียเปรียบในประเด็นว่า ไม่มีประสบการณ์ในย่านนี้มาก่อน จึงไม่มีโรงงานที่จะเป็นแบบมาสร้างในไทยได้ทันทีอย่างทุนเท็กซ์ ถ้าจะยกแบบจากยุโรปมาใช้ในไทย จากสภาพที่ต่างกันทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและองค์ประกอบของโรงงาน ซึ่งต้องเพิ่มทั้งต้นทุนและเสียเวลามากขึ้นอีกหลายเท่า

โดยเฉพาะปัจจัยด้านเวลา ทำให้อโมโก้ไม่แน่ใจว่าตนจะสร้างโรงงานได้เสร็จทันเวลาที่บีโอไอกำหนดหรือไม่

ทางด้านกำลังการผลิต ทุนเท็กซ์กำหนดไว้ 350,000 ตันต่อปี 40% จะป้อนบริษัทของตน และอีก 60% จะขายให้โรงงานเส้นใยสังเคราะห์รายอื่นในประเทศเป็นหลัก

ส่วนอโมโก้เสนอไปที่ 250,000 ตันต่อปีและจะเพิ่มอีกปีละ 50,000 ตันต่อปีใน 2 ปีแรก ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตรวมเป็น 350,000 ตันต่อปีเช่นเดียวกับทุนเท็กซ์

ความต่างของข้อเสนอสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องราคา

ชอยยืนยันว่า ทุนเท็กซ์พร้อมที่จะรับซื้อพาราไซลีนจากโรง อะโรเมติกส์ในราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาตลาดโลกไม่เกิน 1.25 เซ็นต์ต่อปอนด์ เทียบกับราคาพาราไซลีนที่ซื้อขายในภูมิภาคนี้ปัจจุบันต่ำกว่าราคาตลาดโลกระหว่าง 1.25 ถึง 3 เซ็นต์ต่อปอนด์ "เป็นราคาต้นทุนที่บริษัทรับได้แน่นอน ไม่อย่างนั้นเราคงไม่รับเงื่อนไข"

ขณะที่อโมโก้ขอต่อรองเงื่อนไขราคาเพราะไม่แน่ว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า ราคาพาราไซลีนอาจจะต่างจากปัจจุบัน หากรับเงื่อนไขก็เท่ากับผูกมัดตนเอง จึงเป็นธรรมดาของบริษัทใหญ่ทำธุรกิจมาช้านาน จำเป็นต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ

"นี่เป็นความต่างของบริษัทใหญ่จากฝั่งสหรัฐฯและยุโรป เขาจะรับหลักการและข้อตกลงที่มั่นใจว่าทำได้เรียกว่าต้องแน่นอน แต่อย่างไต้หวันก็มีแบบฉบับของตนเองตามแบบของประเทศที่พัฒนาใหม่ในอุตสาหกรรมหนัก จะเรียกว่าไม่มีแบบแผนก็ไม่เชิงแต่จะละเอียดน้อยกวา เรียกว่าขอให้ได้ก่อน เงื่อนไขใดทำไม่ได้ก็ค่อยต่อรองกันทีหลัง ก็เป็นสไตล์แบบไทย ๆ และจีน ๆ " แหล่งข่าวจากวงการปิโตรเคมีเปิดเผย "ผู้จัดการ"

จะเห็นได้จากคำพูดของชอยที่ว่า "ถ้าโรงอะโรเมติกส์เสร็จช้า คิดว่ารัฐบาลคงยอมให้เราพีทีเอเสร็จก่อนโรงอะโรเมติกส์ซึ่งตอนนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าจะเอายังไง รัฐบาลก็ต้องยอมให้นำเข้าพาราไซลีนชั่วคราวจนกวาโรงอะโรเมติกส์จะผลิตไดแต่สไตล์ฝรั่งเขาต้องการคำพูดที่ชัดเจน" แหล่งข่าวเปรียบเทียบถึงสไตล์ของ 2 ค่าย

ประสบการณ์และสไตล์ที่ต่างกัน จึงทำให้ทุนเท็กซ์และไปโดยปริยาย

เมื่อทุนเท็กซ์ได้รับคัดเลือกแล้ว ก็กำหนดตั้งบริษัททุนเท็กซ์ปิโตรเคมิคัล (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรับผิดชอบโครงการพีทีเอ

ผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบริษัท ทุนเท็กซ์ (ไต้หวัน) 49% และบริษัท ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) 51%

สำหรับทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ถือหุ้นใหญ่โดยทุนเท็กซ์จากไต้หวัน 49% ทีเหลือประกอบด้วยแบงก์กรุงเทพ โชติ โสภณพนิช บริษัท มารูเบนี่ (ประเทศไทย) และบริษัท คอนฟิเด้นท์ โฮลดิ้ง รายละ 10% และรายย่อยอื่น ๆ

เท่ากับว่าทุนเท็กซ์ไต้หวันมีหุ้นในบริษัท ทุนเท็กซ์ ปิโตรเคมิคัล (ประเทศไทย) กว่าครึ่ง ทั้งที่บีโอไอกำหนดเงื่อนไขในข้อ 1.4 ว่าต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 51% ทำให้มีเสียงวิจารณ์ถึงความไม่รอบคอบของบีโอไอ

ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งก็คือ "ตอนนี้บีโอไอและรัฐบาลรู้สึกว่า ใครจะทำก้ได้ ขอให้มีคนทำก็เอาไปเลย มิฉะนั้นแล้วก็จะถูกวิพาก์อยู่เรื่อยว่า ทำไมโครงการนี้ไม่เกิดสักที ทั้งที่หลายคนก็ไม่แน่ใจว่าทุนเท็กซ์จะปฏิบัติตามโดยเฉพาะในเรื่องเงื่อนไขราคาได้หรือไม่ ก็คิดกันว่า ขอให้ทำไปก่อน มีปัญหาก็ค่อยแก้ไขทีหลัง" แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ถึงเบื้องหลัง

ทั้งนี้ทุนเท็กซ์จะต้องส่งหนังสือยืนยันว่าจะดำเนินการโรงงานพีทีเอแน่นอนในวันที่ 30 ตุลาคม 2534 อีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การที่ตัดสินให้ทุนเท็กซ์ได้ก็ดีไปอย่าง "ภาพของรัฐบาลภายใต้การนำของอานันท์ ปันยารชุน เรพาะสหยูเนี่ยนเป็นหนึ่งในผู้ร่วม ในหลักของอโมโก้" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

อีกประเด็นหนึ่งที่คนมองข้ามไปก็คือ เป็นการขยายข่ายธุรกิจการลงทุนและการของแบงก์กรุงเทพไปสู่ปิโตรเคมีเต็มตัวหลังจากที่เคยพลาดโครงการนี้มาแล้ว

พร้อมกันนั้นก็เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแบงก์กรุงเทพกับไต้หวันและอินโดนีเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ก่อนที่กลุ่มนี้จะผงาดบนเวทีธุรกิจปิโตรเคมีในภูมิภาคนี้อย่างทระนง

"จะเห็นว่าแบงก์กรุงเทพไปลงทุนในอินโดนีเซียมาตั้งแต่หลายทศวรราก่อน เมื่อมีโอกาสก็จับมือกับกลุ่ม พี.ที.บรันตามูเลียกับบุญนำ บุญนำทรัพย์ เจ้าพ่อสิ่งทอรุ่นที่สองของไทยลงทุนโรงงานผ้าใบยางรถยนต์ ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบจากขบวนการปิโตรเคมี ตลอดจนร่วมหอลงโรงกับทุนเท็กซ์ตั้งโรงงานโพลีเอสเตอร์ในนิคมมาบตาพุด ซึ่งทุนเท็กซ์ได้ไปลงทุนด้านสิ่งทอในอินโดนีเซียก่อนหน้านี้แล้ว ทั้ง 3 ฝ่ายจึงกลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

โครงการนี้จึงกลายเป็นการก้าวกระโดดของแบงก์กรุงเทพในธุรกิจการลงทุนและการเงินด้านปิโตรเคมีอย่าางไม่คาดฝัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us