Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
กว่าจะได้กลิ่นหอมรัญจวนใจ             
โดย นฤมล อภินิเวศ
 


   
search resources

Cosmetics
โสภณ เริงสำราญ




อาจจะเป็นเพราะแรงขับเคลื่อนส่วนลึกของมนุษย์ที่ใฝ่หาความมั่นคงทนถาวรในสรรพสิ่งให้มากที่สุดและยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

แม้แต่กลิ่นของธรรมชาติที่ไร้ตัวตน มิอาจสัมผัสจับต้องได้ก็มิถูกละเว้น ความหอมหวนทั้งมวลจากพฤกษานานาพันธุ์หรือจากต่อมน้ำมันเร้นลับของสัตว์บางชนิด อันเต็มเปี่ยมด้วยพลังที่สร้างอารมณ์ความรู้สึก เมื่อปลายประสาทสัมผัสของจมูกทำหน้าที่สูดลมหายใจกลิ่นที่อาจจะเป็นความสดชื่นเย็นฉ่ำชื่นใจอวลอุ่นกรุ่นละไม รื่นรมย์รุกเร้าเสียดแทง และอื่น ๆ อีกนับพันประการ จึงถูกรังสรรค์ยืดอายุความหอม คงความเข้มข้นและคงคุณภาพของกลิ่นไว้ มิต้องเหี่ยวเฉาโรยราจากไปตามสภาพของสิ่งมีชีวิตที่เคยอยู่ร่วมกัน

การกลั่นกรองเฉพาะหัวเชื้อกลิ่นจรุงใจหรือหัวน้ำมันหอมนั้นถือกันว่าเป็นยอดศิลปะแขนงหนึ่งทีเดียว ต้องมีความรู้ทั้งทางพฤษาศาสตร์ - ต้องรู้ว่ากลิ่นดอกมะลินั้นจะจางหายไปกับแสงอาทิตย์ หรือต้องรู้ว่ากล้วยไม้บางชนิด ส่งกลิ่นหอมเพียง 2-3 ชั่วโมงในตอนเช้าเท่านั้นทั้งยังต้องรู้วิธีทางเภสัชกรรมเคมี และที่สำคัญคือต้องมีประสาท "จมูก" ที่ไว ละเอียดอ่อนสามารถแยกแยะกลิ่นได้ดี

ในสมัยโบราณ วิธีสกัดหัวน้ำมันหอมมีอยู่เพียงวิธีเดียวคือการต้มกลั่น หรือเรียกว่าการกลั่นด้วยไอน้ำ สมัยนั้นการจะกลั่นหัวน้ำมันหอมแต่ละครั้งต้องใช้ความอดทนพอสมควร

เริ่มจากการรอคอยดอกไม้ให้ผลิบานตามฤดูกาล นำมาคัดเลือกเพื่อเด็ดแยกกลีบดอกเตรียมไว้ เสร็จแล้วโรยใส่ลงในหม้อต้มกลั่นทองเหลืองใบเขื่องมีน้ำหล่อคลอตั้งบนเตาไฟ ปิดปากหม้อด้วยหม้อกลั่นหรือหม้อแขกมัวร์ ชื่อที่เรียกตามชาวฝรั่งเศสผู้เป็นต้นตำรับการกลั่นด้วยวิธีนี้

หม้อแขกมัวร์มีลักษณพิเศษคือจะมีท่อระบายอากาศ เข้า - ออก และท่อระบายหัวน้ำมันหอม

เมื่อน้ำในหม้อทองเหลืองเดือดขึ้น ไม่ช้านักก็จะมีของเหลวหยอดออกมาจากท่อ เริ่มจากค่อย ๆ ทยอยมาทีละหยด ๆ หยดถี่ ๆ แล้วรี่ไหลเป็นสายลงในขวดแก้วที่ตั้งรองรับไว้

ของเหลวที่กลั่นได้นี้ดูคล้าย ๆ กับน้ำซุปขุ่นสีน้ำตาลจางเมื่อตั้งทิ้งไว้สักพักจะแยกตัวออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างคือน้ำเชื่อดอกไม้ ส่วนที่ลอยอยู่ชั้นบนคือ หัวน้ำมันหอม

ขวดแก้วที่รองรับเป็นขวดที่สั่งทำพิเศษมีฝาจุกด้านล่างของขวด เพื่อให้น้ำเชื้อดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเพียงน้อยนิดไหลอก ให้เหลือเฉพาะน้ำมันหอมบริสุทธิ์อันเข้มข้นเท่านั้น

วิธีการต้มกลั่นแบบดั่งเดิมยังคงใช้อยู่จวบจนทุกวันนี้จะมีข้อต่างก็เพียงเครื่องมือเครื่องใช้ทันสมัยขึ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับพวกสารกลิ่นหอมระเหยยาก เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ พิกุล ผู้เชี่ยวชาญได้จัดกลุ่มสารชนิดนี้เป็นอันดับสามเรียกว่า BOTTOM NOSE รองลงมาจาก MIDDLE NOSE สารระเหยปานกลาง และ TOP NOSE -สาระระเหยง่าย

การต้มกลั่นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพอตัว มิเช่นนั้นแล้วอาจกลายเป็นกลิ่นคล้ายน้ำมันดิบแทนที่จะเป็นกลิ่นดอกไม้หอมตามที่ตั้งใจไว้

ต่อมาเมื่อวิวัฒนาการทางด้านปิโตรเคมีก้าวหน้าขึ้น ทำให้ค้นพบการสกัดกลิ่นเพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ตัวทำละลาย ซึ่งบริษัทที่ผลิตน้ำหอมชื่อดังของโลกนิยมใช้วิธีนี้กันมาก

ตัวทำละลายที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติเฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ในดอกไม้ ที่นิยมใช้คือ HEXANE มีคุณสมบัติเป็นของเหลว

วิธีการไม่ซับซ้อนนัก เพียงแต่แช่ดอกไม้หอมในอ่างที่บรรจุ HEXANE ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 นาทีเท่านั้น แล้วยกดอกไม้ขึ้นแต่ความยุ่งยากอยู่ที่การระวัง HEXANE ไม่ให้สัมผัสอากาศและรักษาอุณหภูมิให้เย็นจัดที่ -120 องศาเซลเซียส ถึงจะได้กลิ่นที่เหมือนธรรมชาติ เพราะหากอุณหภูมิสูง เซล ตัวอื่นที่อยู่ในกลีบดอกจะแตกออกมาผสม ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว

HEXANE จะทำหน้าที่ดูดซับความหอมจากเกสรดอกไม้ไว้เต็มที่ จากนั้นนำไประเหยออกช้า ๆ ก็จะคงเหลือแต่กลิ่นหอมที่ต้องการซึ่งอาจจะออกมาในรูปทรงเป็นของแข็ง หรือเป็นของเหลวข้นก็ได้ เช่นกลิ่นพิกุลจะมีรูปทรงเป็นของแข็ง

การค้นคว้าวิธีการสักดกลิ่นหอมยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว มีการคิดค้นวิธีการสกัดกลิ่นด้วยการใช้เครื่องดูดกลิ่นหอมขึ้นโดยนักประดิษฐ์คนไทย คือรองศาสตราจารย์ โสภณ เริงสำราญ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการทดลองดูดกลิ่นหอมจากดอกกล้วไม้มิสอุดรซันไฌน์ เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อน้ำมันหอมสำหรับทำน้ำหอมไทย "มิสอุดรซันไฌน์" จนสำเร็จ

วิธีการคือ นำดอกไม้ใส่ในภาชนะ หรือกล่อง ที่มีทางไหลอากาศเข้า-ออกเพียงทางเดียว กลิ่นหอมของดอกไม้จะถูกดูดออกไปตามท่อวิ่งเข้าหลอดดัก ซึ่งตั้งอุณหภูมิเย็นจัดที่ -190 องศาเซลเซียส

หลังจากนั้นจึงนำกลิ่นหอมมาควบแน่นกลายเป็นของเหลวก็จะได้กลิ่นหอมของดอกไม้ล้วน ๆ ดอกไม้ที่ถูกดูดกลิ่นยังคงสภาพเดิมไม่บอบช้ำเหมือนวิธีกลั่นด้วยตัวทำละลาย และสามารถนำไปดูดกลิ่นได้อีก จนกระทั่งต่อมกลิ่นเสียไม่ผลิตกลิ่นต่อไป

วิธีการนี้ อาจารย์โสภณ กล่าวว่า เหมาะสมกับกลิ่นหอมระเหยง่าย หรือ TOP NOSE มากที่สุด เช่น ดอกมะลิ ดอกราตรี

แต่ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นด้วยวิธีใดก็ตาม การจะได้สารกลิ่นหอมมาสักประมาณ 30 มิลลิกรัม หรือถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คงมีขนาดราว ๆ เมล็ดถั่วเขียว 1 เม็ดต้องใช้ดอกไม้เป็นจำนวนเลขหลัก 5 ขึ้นไป ซึ่งจำนวนนี้ไม่ได้รวมตัวเลขที่อยู่ในระหว่างทำการทดลอง หรือที่ผิดพลาดได้กลิ่นเพี๊ยนไปจากของจริง

การลงทุนราคาแพงและความยุ่งยากในการที่จะได้หัวน้ำมันหอมธรรมชาติมานั้น สำหรับผู้ผลิตน้ำหอมในยุคนี้จึงมีไว้เพื่อนำไปวิเคราะห์หาสูตรโครงสร้างทางเคมี มิใช่มีไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นหัวน้ำมันหอมอย่างแท้จริงเฉกเช่นในยุคก่อน

สูตรโครงสร้างทางเทคจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตงอนง้อะรรมชาติน้อยลง แม้นว่าดอกไม้เจ้าของกลิ่นหอมนั้นจะสูญพันธุ์ไปแล้วก็ตาม

องค์ประกอบทางเคมีของกลิ่นหอมมีความแตกต่างออกไป อย่างเช่น กล้วยไม้พันธุ์มิสอุดรซันไฌน์ มีสารประกอบทั้งหมด 30 ชนิดด้วยกัน แต่การวิเคราะห์ไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับนักเคมี โดยเฉพาะเมื่อ 10 ปีให้หลังมานี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงมาก เครื่องวิเคราะห์จะทำการวิเคราะห์แยกสารให้เสร็จรู้ผลทันที

หัวน้ำมันหอมหรือสูตรเคมีของกลิ่นหอมแต่ละตัวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นขั้นแรกเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนที่สำคัญคือการนำหัวน้ำมันหอมกลิ่นต่าง ๆ มาผสมผสานเป็นกลิ่นใหม่ที่หอมดึงดูดกว่ากลิ่นธรรมชาติที่ได้มา

ตรงนี้เองที่เป็นหัวใจชี้ขาดว่าน้ำหอมที่เพียรพยายามปรุงนั้นจะได้รับการประพรมฟุ้งกระจาย หรือเก็บไว้ในกรุปิดตาย

แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นหัวน้ำมันหอมตามธรรมชาติหรือหัวน้ำมันหอมเทียมก็ดี ปริมาณที่ผสมในน้ำหอม หรือ PERFUME นั้น จะมีสัดส่วนน้อยกว่า 10% เท่านั้น

ที่เหลือจะถูกครอบครองด้วยเอทิลแอลกอฮอล์เสีย 90% เอธิลแอลกอฮอล์เป็นสารละลายตัวสำคัญท่ำทให้หัวน้ำมันหอมโปรยกลิ่ยนไปไกล และจะต้องมีความบริสุทธิ์ปราศจากกลิ่นอื่นแทรกซ้อน นอกจากนี้แล้วยังเป็นตัวช่วยเจือจางให้กลิ่นอ่อนละมุมขึ้น เพราะลำพังแล้วหัวน้ำมันหอมจะมีกลิ่นแรงเข้มข้นมากเกินไป

ส่วนผสมอีกตัวหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เป็นตัวจับกลิ่นหอมไว้ และกักกลิ่นหอมให้ปล่อยออกช้า ๆ เรียกว่า FIXATIVE COMPOUND หากไม่มีตัวนี้กลิ่นหอมที่โรยตามเนื้อตัวจะหายไปตามอากาศที่พัดผ่าน FIXATIVE จะมีสัดส่วนประมาณ 5% ของหัวน้ำมันหอม หากใส่มากเกินไปจะให้กลิ่นเหม็นหื่นแต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยูกับคุณภาพด้วย

สำหรับน้ำหอมเกรดดีเลิศจะใช้ "ชะมดเช็ด" ซึ่งมีราคาแพงมหาศาล กิโลกรัมละถึงแสนบาท ปัจจุบันนี้คงมีผู้ผลิตน้ำหอมน้อยรายนักที่ใช้สารตัวนี้

FIXATIVE ที่ได้จากสัตว์ยังมีอีก 2 ชนิดคือ CASTOREUM จากต่อมอวัยวะเพศของบีเวอร์ และ AMBERGRIS จากมูลของปลาวาฬ ราคาของสารเหล่านี้มีราคาแพงเช่นกัน ประมารกิโลกรัมละ 4-5 หมื่นบาท

ดังนั้นสารที่นิยมใช้ในอุตสหากรรมน้ำหอมจึงมักได้จากการสกัดจากเปลือกไม้ ที่เรียกกันว่า "กำยาน" มีตั้งแต่ราคาถูก ๆ กิโลกรัมละ 500 บาท ไปจนถึงเป็นพัน ๆ บาท

การเลือกใช้สารตัวนี้ มีเหตุผลทางธุรกิจที่จำเป็นนอกเหนือที่ว่าหาซื้อได้ง่าย และราคาพอควรแล้ว คือสารประเภทนี้ช่วยให้ความหอมติดทนนานประมาณ 6 ชั่วโมงเท่านั้นไม่เหมือนน้ำหอมสมัยก่อนที่กลิ่นติดกายนานเป็นเดือน

การเลือกสรรสารใช้ในการทำน้ำหอมก็คงต้องเป็นไปตามกาลสมัย กระนั้นก็ดี ฉายาที่ใช้เรียกผู้ปรุงน้ำหอมในสมัยแรกเริ่มว่าเป็น "นักเล่นแร่แปรธาตุ" ก็คงใช้เรียกผู้ปรุงน้ำหอมยุคนี้ได้เช่นเดิม

เพราะการปรุงกลิ่นน้ำหอมเป็นศิลปะที่ไม่มีสูตรตายตัวดังสูตรเลขคณิต ฉะนั้นย่อมขึ้นอยู่กับฝีมือว่าจะทำให้กลิ่นหอมนั้นกลมกลืน ราวกับวงดนตรีบรรเลงประสานกันไพเราะหรือมีเสียงปร่างแปร่งของไวโอลินโดดออกมาให้ต้องสะดุ้งทุกครั้งที่บรรเลง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us