ทุกวันนี้ประเทศไทยได้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย สิ่งที่สื่อมวลชนหลายแขนงได้รณรงค์กัน
อย่างครึกโครม ก็คือการรักษาสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องอากาศหรือแม่น้ำ
ลำคลอง แต่บางครั้งผู้ที่ห่างไกลจากมลภาวะเป็นพิษเหล่านี้ก็ยังมิได้ตระหนักถึงปัญหานี้อย่างจริงจัง
นอกจากนั้นเมื่อไม่นานมานี้ก็มีข่าวหนึ่งที่เป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่ทั่วไปที่พนักงานในโรงงานซีเกทเกิดอาการเจ็บป่วย
อันเนื่องมาจากการได้รับสารพิษจากการทำงาน ก็ทำให้เกิดประเด็นความคิดขึ้นมาว่าหากเกิดเหตุการณ์ที่คล้างคลึงอย่างนี้ขึ้นกับเราไม่ว่าจะเป็นการได้รับสารพิษจากการทำงาน
หรือได้รับจากการรั่วไหลออกมานอกโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว เราจะมีมาตรการทางกฎหมายที่คุ้มครงอหรือชดใช้เยียวยาให้ความเสียหายอย่างไรบ้าง
กฎหมายไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการกำกับและควบคุมสิ่งแวดล้อมนั้น ก็มีอยู่หลายฉบับด้วยกันคือ
1. พ.ร.บ.ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้นเป็นองค์กรของรัฐเพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่ว
ๆ ไปของชาติ แต่บทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้ มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจหน้าที่ให้องค์กรของรัฐดังกล่าวขอความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยราชการอื่นของรัฐ
หรือบุคคลอื่น โดยเป็นผู้เสนอแนะการควบคุม และป้องกันคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามนโยบายหรือมาตรฐานตามหลักวิชาการเท่านั้น
ซึ่งหากหน่วยงานนั้น ๆ ไม่ให้ความร่วมมือด้วยแล้ว คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหามีอำนาจบังคับโดยลำพังไม่
อำนาจบังคับตามพ.ร.บ.นี้อยู่กับนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานเท่านั้น
2. พ.ร.บ.วัตถุมีพิษ พ.ศ.2510 โดยแบ่งวัตถุมีพิษออกเป็น 2 ประเภทคือ วัตถุมีพิษ
ธรรมดา และวัตถุมีพิษร้ายแรง ซึ่งผู้ใดนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
นำผ่าน ผลิตเพื่อการค้าขายมีไว้เพื่อขาย หรือใช้รับจ้าง ซึ่งวัตถุมีพิษธรรมดา
และหรือร้ายแรงต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่พ.ร.บ.นี้ก็ควบคุมเฉพาะสารเคมีที่ถูกระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาหรือร้ายแรงเท่านั้น
ถ้าไม่ใช่สารเคมีที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงก็ไม่อยู่ในบังคับของการควบคุมตาม
พ.ร.บ.ฉบับนี้
3. พ.ร.บ.โรงงา พ.ศ. 2512 มีวัตถุประสงค์ในการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน
และอนามัยของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม และให้ความคุ้มครองแก่อุตสาหกรรมบางประเภทโดยมีมาตรการบังคับ
คือ การสั่งพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย
และในกรณีทีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำผิดตามกฎหมายนี้ กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใด
ซึ่งรับผิดชอบในการกระทำความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังบัญญัติให้ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการบางประเภทจัดทำรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารพิษยื่นต่อกรมโรงงานทุก
ๆ 3 เดือนอีกด้วย
เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นก็มีกฎหมายที่ใช้ควบคุมสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ
เช่น
ประการแรก กฎหมายพื้นฐานว่าด้วยการควบคุมมลพิษในสิ่งแวดล้อมได้กำหนดหน้าที่ภาระรับผิดชอบให้แก่
รัฐบาล และประชาชนเพื่อที่จะสนับสนุนนโยบายสมบูรณ์แบบ (COMPREHENSIVE POLICIES)
เพื่อควบคุมกำจัดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม โดยมีบทบัญญัติให้รัฐบาลกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มาตรการในการควบคุมการปล่อยน้ำเสีย การใช้ทีดิ่นและก่อสร้างโรงงานสนับสนุนการติดตั้งเครื่องมือป้องกันมลพิษในสิ่งแวดล้อม
นอกจากั้นก็มีการกำหนดภาระรับผิดชอบของหน่วยงานระดับจังหวัด และหน่วยงานระดับท้องถิ่นค่อนข้างชัดเจนเมื่อเทียบกับกฎหมายไทย
ประการที่สอง กฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญาต่อการกระทำที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์
โดยบัญญัติให้ผู้ประกอบการโรงงานที่ปล่อยของเสียจากการประกอบการของตนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
หรือสุขภาพประชาชน หรือทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอาจจะต้องได้รับโทษจำคุก
หรือปรับตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และในกรณีที่ผู้แทน ตัวแทนลูกจ้างหรือคนางานของนิติบุคคล
คนใดทำความผิดดังกล่าวไม่เพียงแต่ผู้กระทำฝ่าฝืนจะถูกลงโทษเท่านั้น นิติบุคคลก็ต้องถูกระวางโทษปรับตามกฎหมายนั้นด้วย
ซึ่งก็คล้ายกับ พ.ร.บ.โรงงานพ.ศ. 2512 ของไทยเรา แต่กฎหมายญี่ปุ่นนั้น ได้มีบทสันนิษฐานที่เป็นคุณแก่ผู้เสียหาย
คือ "ในกรณีที่ผู้ใดปล่อยทิ้งของเสียซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อื่นในการประกอบการโรงงาน
หรือการประกอบการของสถานประกอบธุรกิจ ถ้าขนาดของสารที่ปล่อยทิ้งเพียงลำพังอย่างเดียวสามารถทให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของประชาชนได้
ถ้าหากมีอันตราเกิดขึ้นแก่ชีวิตหรือสุขภาพของประชาชนแล้ว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
อันตรายนั้นได้เกิดจากสารที่ผู้นั้นได้ปล่อยทิ้งจากการประกอบการ"
ประการที่สาม LAW FOR THE COMPENSATION OF POLLUTION RELATED HEALTH INJURY
ซึ่งเป็นกฎหมายที่จัดให้มีเงินกองทุนทดแทนความเสียหายอันเกิดจากวัตถุมีพิษ
โดยผู้เสียหายไม่ต้องเรียกร้องผ่านกระบวนการทางศาล เพื่อช่วยลดภาวะในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย
คราวนี้ก็มาถึงปัญหา หากจะต้องฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดจากวัตถุมีพิษ
เราจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้คือ
ปัจจัยแรก ความเสียหายที่ได้รับ
ปัจจัยสอง ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการกระทำหรือการประกอบการของจำเลย
และ
ปัจจัยสาม ความสัมพันธ์ระหว่างการทำและผลการพิสูจน์เรื่องความเสียหาย ผู้เสียหายเป็นผู้กล่าวอ้างตนจึงมีหน้าที่ในการนำสืบพิสูจน์
หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใดแน่ ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
เรื่องการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลย ตามหลักทั่วไปผู้เสียหายเป็นผู้กล่าวอ้าง
จึงต้องมีหน้าที่นำสืบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความยากลำบากให้กับผู้เสียหายเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะการประกอบการของโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ที่มีกระบวนการผลิตซับซ้อน
ซึ่งผู้เสียหายไม่สามารถล่วงรู้ขั้นตอนในการประกอบการ ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าจริง
ๆ แล้ว จำเลยได้ใช้วัตถุมีพิษอะไรบ้าง ขั้นตอนการปล่อยของเสียออกจากโรงงานได้มาตรฐานหรือไม่
ซึ่งการพิสูจน์เช่นนี้ก็พอจะทำได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ส่วนพยานบุคคลที่รู้เห็นล้วนแต่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างหรือเป็นฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามผู้เสียหายอาจจะผลักภาระการพิสูจน์ไปให้ฝ่ายจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา
422 ที่ว่า "ถ้าความเสียหายเกิดแก่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่น
ๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้นท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด"
แต่แม้จำเลยจะมีหน้าที่พิสูจน์ดังกล่าว จำเลยเพียงแต่นำสืบว่าตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและขอบเขตที่กฎหมายกำหนดให้กระทำครบถ้วนแล้วเท่านั้น
เพียงเท่านี้ก็เป็นการยากที่ผู้เสียหายจะนำสืบหักล้างโดยอาศัยพยานหลักฐาน
ซึ่งระบุถึงความบกพร่องในกระบวนการผลิตของจำเลยได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วจำเลยมีเอกสิทธิ์ที่จะไม่เปิดเผยวิธีการหรือกระบวนการผลิตของตนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 92
ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลศาลไทยถือหลักว่าความเสียหายของโจทย์จะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำผิดของจำเลย
และต้อไงม่ไกลว่าเหตุด้วย ซึ่งในกรณีของเราก็หมายถึงโรคร้ายที่ผู้เสียหายได้ต้องเป็นผลโดยตรงจากสารพิษที่ออกจากโรงงานของจำเลย
ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับพิษวิทยาและต้องอาศัยพยานผู้เชี่ยวชาญ
ในบางกรณีที่จำเลยมีหลายคน และจำเลยเหล่านี้มีโรงงานอยู่ใกล้ ๆ กัน การที่จะบ่งชี้ว่าความเสียหายเกิดจากโรงงานใดก็ทำได้ยาก
ในต่างประเทศจึงหาทางออกโดยพัฒนาหลักกฎหมาย เช่น นำทฤษฎีความน่าจะเป็น
(PORBABILITY THEORY) มาใช้เพื่อผลักภาระการพิสูจน์ไปให้จำเลย โดยผู้เสียหายเพียงแต่พิสูจน์ให้ได้เบื้องต้นว่าผู้เสียหายได้บริโภคหรือได้รับการแพร่กระจายของวัตถุมีพิษจากการกระทำของจำเลย
ภาระการพิสูจน์ก็จะโอนเป็นของจำเลยที่จะต้องนำสืบหักล้างว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายจากสาเหตุอื่น
ที่มิใช่สาเหตุจากการกระทำของจำเลย
แม้มาตรการในการเรียกร้องค่าเสียหายอื่นเกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษนั้น
ยังมีข้อบกพร่องอยู่บางประการ แต่ก็เป็นธรรมชาติของกฎหมายที่ไม่สามารถที่จะบัญญัติให้ครอบคลุมถึงทุกเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป
แต่เหนือสิ่งอื่นใด การตรวจตราบังคับการให้โรงงานอุตสหากรรมต่าง ๆ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
หากมีเช่นนั้นแล้วก็จะเข้าทำนองที่ว่ากฎหมายนั้นมิได้ชราภาพ แต่ผู้ใช้ต่างหากที่ชราภาพ