Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
สนทนานักลงทุน             
โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
 


   
search resources

พิพัฒน์ พิทยาอัจฉริยกุล
Stock Exchange




ประเด็น MARKET FOR CORPORATE CONTROL กำลังเป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นมากในตลาดหุ้นไทยในช่วงจากนี้ไป ในฐานะเป็นพลังขับดันที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการจัดการของสถาบันธุรกิจเอกชน"ผู้จัดการ" ได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ "ดร.พิพัฒน์ พิทยาอัจฉริยะกุล" จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประโยชน์ที่พลังขับดันตัวนี้มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจในไทยหรือไม่อย่างไร

การที่มี MARDET FOR CORPERATE CONTROL จะมีผลดีต่อสังคมจริงหรือ

มีทั้งผลดีผลเสีย คือเมื่อมีสินทรัพย์อยู่จำนวนหนึ่ง คนบริหารเห็นว่าจะบริหารอย่างหนึ่ง แต่คนอีกกลุ่มหนึ่ง เขาเห็นว่าถ้าตัวเขาได้เข้าไปบริหารแทนเขาจะสามารถใช้สินทรัยพ์ให้มีประโยชน์มากขึ้น ก็เป็นประโยชน์ต่อสังคม สิ่งนี้เรามองในแง่ของการบริหาร เทคโนโลยี และ SYNERGY แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของากรเงินทุกวันนี้หลายบริษัทยังจัดการบัญชีทางขวามือของงบดุลได้ไม่ดีเท่าที่ควรยังระมัดระวังมากเกินไป

ปี 1958 M&M เขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของทุน (CAPITAL STRUCTURE) สรุปว่าการแบ่งระหว่างหนี้กับทุนไม่มีความหมายเพราะเป็นขนมเค้กชิ้นเดียวกันไม่กระทบต่อค่าของบริษัท

ปี 1963 M&M เขียนรายงาน CAPITAL STRUCTURE อีกในบรรยากาศที่ต้องเสียภาษี การที่เราจะมองค่าของบริษัท มันก็คือค่าของผู้ที่มีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทคือเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น แต่เมื่อมีรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องส่วนที่เป็นค่าของทุนหรือของหนี้สินจะเปลี่ยนแปลง เพราะมีภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องการใช้หนี้จะทำให้ค่าของธุรกิจเพิ่มขึ้นเพราะจมีดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งหักภาษีได้ ทำให้กำไรมากขึ้น แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็เป็นความเสี่ยงของธุรกิจ ที่อาจจะล้มละลายได้ซึ่งจะทำให้ค่าของบริษัทตกลง

ดังนั้นกรณีของผู้ที่เข้ามาสามารถที่จะจัดหาเงินทุนที่ต้นทุนต่ำกว่า และบริหารได้ทั้งสิ้นทรัพย์และเงินทุน ก็เป็นประโยชน์ต่อสังคม

แต่ถ้าอย่างปูนซีเมนต์ฯ ที่ สถาบันวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศแห่งหนึ่ง บอกว่าเป็นบริษัทดีเด่นของไทย แต่สอบตกในเรื่องของ INVESTOR RELATION คือการให้ข่าวต่อสาธารณชนหรือคุยกับ FUND MANAGER หรือขาดความโปร่งใส โดยผู้บริหารปูนฯ คิดว่าหน้าที่ของเขาคือการบริหารสินทรัพย์ว่าทำอย่างไรจึงจะขายได้มากต้นทุนต่ำ มาร์จินดี ในขณะเดียวกันก็ดูด้านบริหารเงินด้วย ทำให้ได้ต้นทุนต่ำในแง่ของเขา แต่ไม่ได้มองในแง่ของ MIRROR IMMAGE คือภาพสะท้อนของธุรกิจที่ปรากฏในตลาดหุ้นวาราคาหุ้นจะสูงหรือต่ำเขาไม่สนใจ จริงแล้วก็น่าจะดีที่ผู้บริหารรู้จักบริหารด้านสินทรัพย์กับหนี้สินให้เหมาะแก่ผู้ถือหุ้นระยะยาวก็น่าที่จะดีที่สุด แต่ในต่างประเทศไม่ใช่ เขายังต้องคอยห่วงพวกผู้ถือหุ้นที่มีอิทธิพล ที่ไม่ใช่ ผู้ถือหุ้นรายย่อยนั่นคือ FUND MANAGER, MUTUAL FUND บริษัทประกัน กองทุนบำนาญ เป็นต้น เรื่องกลายเป็นว่าพวกนี้เขาต้องปกป้องตัวเอง ต้องทำ PERFORMANCE ของกองทุนเมื่อเทียบกับ DOWN JONE INDUSTRY AVERAGE แล้ว BEAT ตลาด เขาจึงต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ PERFORMANCE ของหุ้นทุกตัวในตลาดขึ้นและขึ้นเร็ว ๆ ด้วย ซึ่งเป็นการสวนทางกับปรัชญาในการบริหารงานของผู้บริหารที่ต้องการมองระยะยา

สุดท้ายกลับมาอยู่ที่การกำหนดราคาของตลาด ถ้าสมมติว่าคนที่อยู่ในตลาดใช้หลักการประเมินค่าบริษัทที่ใช้กันอยู่ในสถาบันการเงินที่ทันสมัย ก็จะมองในแง่ของ CASHFLOW ที่จะเกิดขึ้นแล้วคิดลดเป็นราคาปัจจบันว่าราคาหุ้นจะเป็นเท่าไรเมื่อคิดเช่นนี้คือในระยะยาวเหมือนกัน ปัญหาดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ความเป็นจริงแม้แต่ตลาดที่อเมริกาหรือโตเกียว นักวิเคราะห์ ในสถาบันการเงินหรือผู้บริหารกองทุนส่วนใหญ่ก็ยังใช้ พี/อี เรโซ ซึ่งเละเลยเพราะเขาทำคาม MOOD ของตลาด ซึ่งจริง ๆ แล้วควรที่จะประกอบกัน

การคิดแบบพี/อี เรโซ จะเกิดอะไรขึ้น วิธีนี้จะบอกว่าอุตสาหกรรมนี้ค่า พี/อีควรจะ 15 ดังนั้นถ้าผู้บริหารไม่สนใจในราคาหุ้น เราจะแข่งขันกับต่างประเทศได้ต้องลงทุนใน R & D ถ้าละเลยจะสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ถ้าลงทุนเงินจะจม ส่วนผลตอบแทนไม่รู้ว่าจะได้รับเมื่อไร การพัฒนาคน การซ่อมแซมเครื่องจักร ล้วนแล้วแต่ไม่เห็นผลในระยะสั้น ๆ ผลระยะสั้นกลับแสดงให้เห็นว่ากำไรตากเมื่อตลาดดูค่าพี/อี ค่าราคาปิดก็ตก ผู้จัดการกองทุนก็มาด่า มาบีบว่าถ้ายังบริหารไม่ได้ดีจะใช้อำนาจผู้ถือหุ้นบีบให้ออก ผู้บริหารก็จะคอยหวาดระแวง กลัวหุ้นจะตก ต้องมาคอยดูแลหุ้น แทนที่จะบริหารงานเพื่อผลระยะยาว ดังนั้นถ้าตลาดเป็นตลาดรยะสั้น เป็นเรื่องที่อันตรายมาก

ถ้าเป็นตลาดซื้อขาย CONTROL แล้วเงินแบ่งให้กับคนเพียงบางกลุ่มเช่นอินเวสท์เมนท์แบงเกอร์ นักล่ากิจการหรือสำนักงานกฎหมายและต้องปลดพนักงานออกเอาหนี้สินเข้ามาบริหารแทนแล้วค่อยนำบริษัทออกจากตลาด แล้วจึงนำเข้าตลาดอีกครั้งเพื่อที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไป เรื่องนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

มันจะมีประโยชน์จริงหรือไม่ต้องดู 2 ปัจจัยคือ REAL TERM และ FINANCIAL TERM REAL TERM คืออะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพเพราะถ้าบริษัทใหญ่มา ๆ บางทีก็ไม่ดีมี 100 กิจการในบริษัทเดียว คือ 1 เทะทะ ระดับการบริหารมาก คนที่อยู่จุดเล็ก ๆ ไม่มีกำลังใจในการทำงานพนักงานทำงานเป็นกาฝากได้ง่ายขั้นตอนยุ่งยากมาก การแข่งขันกับธุรกิจอื่นทำไม่ได้ ถ้ามองอีกแง่หนึ่งบางทีมีหลายธุรกิจอยู่ในบริษัทเดียวกัน แล้วใช้วิธีกำหนดราคาโดยใช้ค่าพี/อี จะทำให้มูลค่าสะท้อนออกมาไม่ถูกต้อง เช่นคนมองว่านี่เป็นปูนฯ พี/อี ควรจะ 20 กำไรทั้งกลุ่มเท่าไร ก็เอา 20 คูณ (สมมติว่าพี/อี สอดคล้องกับ DISCOUNTED CASHFLOW) แต่บางทีมีบางกิจการที่เป็น STAR รวมอยู่ข้างใน ถ้าอยู่ข้างนอกค่าพี/อีควรเป็น 30 แต่นี้กำไร 10 บาทคนก็ยังเอา 20 คูณอยู่ ถ้าเราดึงออกข้างนอกอาจจะเอา 30 คูณก็ได้

ดังนั้นมีอยู่ 2 ด้านคือประสิทธิภาพด้านการบริหาร การแตกบริษัทออกเป็นบริษัทย่อย ๆ จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานสูง คนมีกำลังใจ มีโอกาสให้ผู้บริหารถือหุ้นได้ มีความยืดหยุ่นในการบริหาร สามารถที่จะต่อสู้กับคู่แข่งได้ถือว่าเป็นประโยชน์แต่ถ้าแตกออก แล้วเล่นแร่ แปรธาตุ เอาเคมีทางด้าน CORPORATE RESTRUCTURING ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

เราต้องยอมรับพวกนักล่ากิจการ (CORPORATE RAIDER) ให้มีอยู่ด้วยหรือ

เรียกว่าพวก CORPORATE RESTRUCTURING ดีกว่า คือยอมรับว่าการปรับโครงสร้างของธุรกิจเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป จะรักษารูปแบบเดิมไว้คงไม่ได้ คือต้องโต้แล้วแตก แตกแล้วโต มันเป็นธรรมชาติ

ถ้าไม่มีคนกลุ่มนี้ ผู้บริหารก็อาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ที่จริงแล้ว ผู้บริหารควรที่จะเปลี่ยนแปลงเสียก่อน ก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาเทคโอเวอร์แล้วเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ว่าคอยให้เขาเข้ามาเทคโอเวอร์ แล้วเปลี่ยนแปลง ฝืนกับใจเรา

เรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้นในไทยหรือไม่

อาจจะเป็นไปได้ แต่ดีกรีจะมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ผู้ถือหุ้นเดิมกับผู้บริหารสัดส่วนของเราค่อนข้างจะใหญ่บริษัทในตลาดของเรามีผู้ถือหุ้นเก่าอยู่ ดังนั้นคนนอกจะเข้ามาซื้อกิจการจึงเป็นไปได้ยาก การที่จะเข้าซื้ออย่างต่างประเทศได้เครื่องมือเราไม่มีเหมือนเขา จั้งบอนด์ไม่มี ขนาดบอนด์ธรรมดาเรายังฝืดแต่ถ้าความคล่องตัวในตราสารเพื่อการไฟแนนซ์คล่องตัวขึ้น โอกาสก็จะมีมากขึ้น

LBO ทำให้ผู้บริหารกระตือรือร้นมากขึ้นจริงหรือไม่ เพราะในโครงสร้างของทุนมีหนี้สินเยอะ

มีความเป็นไปได้ เพราะเหมือนมีแส้ในมือ คนเราจะเปลี่ยนแปลงไปได้ดี มีตัวขับอยู่ 2 ทางคือแรงท้าทาย และแรงกดดันตัวแรงท้าทายเป็นตัวล่อทางบวก แรงกดดันเป็นตัวล่อทางลบ การสร้างหนี้มาก ๆ ผู้บริหารต้องวิ่งสุดขีดเพราะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายแต่ผมยังต้องการให้เราไปด้วยแรงท้าทายมากกว่า คือเราเห็นแล้วเราล่อด้วยตัวเราเอง

บริษัทในตลาด มีการเล่นแร่แปรธาตุมีการทำกำไรที่ไม่ได้มาจากธุรกิจหลัก เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ (เช่นการ SWAP หุ้นการนำเงินเพิ่มทุนไปลงทุนในหุ้นากรขายอสังหาริมทรัพย์ออกเพื่อบันทึกำไร)

ผมว่าปัจจุบันนักวิเคราะห์ดูออกว่าเป็นกำไรปกติหรือไม่ปกติส่วนคนที่พยายามจะทำเช่นว่าเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็จะได้รับการต่อต้าน เราต้องพยายามสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักลงทุน เมื่อนักวิเคราะห์มีมากขึ้น มีหลักวิชาการมากขึ้นพวก นี้จะหลุดไม่พ้นสายตา เป็นบทบาทของ นักวิเคราะห์และบทบาทของสื่อมวลชนด้วยที่จะต้องรู้เท่าทันการกระทำอันนั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us