|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2551
|
|
ยุทธศาสตร์ Convergence อาจส่งผลให้ความเป็นไปของ True ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อุดมด้วยสีสันและกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ชวนติดตามและถูกเฝ้ามองมากที่สุดไปพร้อมกัน
นอกจาก True จะผนึกประสานผลิตภัณฑ์หรืออีกนัยหนึ่ง content ที่มีอยู่อย่างหลากหลายเข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้แคมเปญส่งเสริมการขายได้อย่างครบถ้วนลงตัวแล้ว
สิ่งที่ True ประสบความสำเร็จมาก อีกด้านหนึ่งอยู่ที่การหยิบยื่นให้เกิดไลฟ์สไตล์ ใหม่ที่ถูกกล่าวขานในเวลาต่อมาในฐานะ convergence lifestyle ด้วย
ขณะที่กิจกรรมการตลาดของ True สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับแวดวงธุรกิจ ควบคู่กับการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ อย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ชื่อของ True กลายเป็นแบรนด์ที่ติดหูติดตาผู้บริโภคมากที่สุดรายหนึ่งภายในเวลาอันรวดเร็ว
ความสำเร็จของ True ช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ True ได้รับเลือกให้เป็นบริษัทที่มี นวัตกรรมในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าดีที่สุดติดต่อกัน 2 ปีซ้อนจากการจัดอันดับของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล เอชีย (WSJA) เป็นหนึ่งในสิบอันดับบริษัทที่น่าชื่นชมที่สุดของไทยด้วย
"รางวัลที่ True ได้รับ สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานหนักของทีมงาน เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นย่อมไม่ได้เกิดขึ้นจากความคิดใดความคิดหนึ่งอย่างโดดเดี่ยว หากแต่มาจากความคิดที่ผลิตออกมามาก มาย โดยบางส่วนอาจห่างไกลจากคำว่าสำเร็จเลยก็ได้" ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธาน คณะผู้บริหาร ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวอย่าง มีนัยสำคัญ
Convergence ในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้ True สามารถเปิดช่องทางการรับรู้รายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ท่ามกลาง รูปแบบธุรกิจที่ไม่ต่างจากวิถีการดำเนินไปของซี.พี. ต้นตำรับโมเดลทางธุรกิจคุ้นเคยมากนัก แต่การรับรู้ของสาธารณะ ซึ่งติดตามมาด้วยการหันมาใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการในเครือข่ายของ True อาจหมาย ถึงรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่นั่นก็ยังมิใช่หลัก ประกันสำหรับความสำเร็จในระยะยาวได้ รางวัลที่ได้รับอาจหาประโยชน์ใดๆ ไม่ได้ เมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า การประเมิน ความสำเร็จทางธุรกิจย่อมมิสามารถคิดคำนวณได้จากเพียงมิติของปรากฏการณ์ที่ฉาบฉวย
True อาจได้เปรียบคู่แข่งขันจากผล การมีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมบริการที่กว้างขวางและครบวงจรกว่าผู้ประกอบราย อื่นๆ แต่ความได้เปรียบดังกล่าวต้องแลกมาด้วยต้นทุนราคาแพงเช่นกัน
ประวัติการณ์ความเป็นไปที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งยังมีสถานะเป็นเทเลคอมเอเชีย ก่อนพัฒนามาสู่ True Corporation ไม่ได้เกิดขึ้นบนสุญญากาศ หากแต่เป็นสองทศวรรษที่ได้ส่งผ่านประสบการณ์จำนวนมากให้ศุภชัย และผู้บริหารระดับสูง ของ True ได้พิจารณา
ความคิดคำนึงของศุภชัย ในฐานะที่ ต้องนำ True ไปสู่ความสำเร็จในวันนี้ไม่อาจ พิจารณาเฉพาะหนทางการสร้างรายได้แต่โดยลำพัง เขาต้องแสวงหาหนทางในการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท ภายใต้ร่มธงของ True อีกด้วย
มิติในจังหวะก้าวของ True ภายใต้ ยุทธศาสตร์ convergence ดูไม่ค่อยคืบหน้ามากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการ ในการเชื่อมโยง product ของ True อยู่ที่ ความพยายามนำเสนอ convergence billing ซึ่งพร้อมจะสื่อสารในระดับสาธารณะ ให้เป็นประหนึ่งบริการใหม่ที่ล้ำสมัย อำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นลูกค้า
อีกด้านหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า convergence billing ดังกล่าวสอดคล้องกับความพยายามลดภาระต้นทุนการดำเนินงานให้ลดลง ซึ่งจะนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ส่วนต่างระหว่างรายได้ กับค่าใช้จ่ายดำเนินการถูกบีบให้แคบลง
"convergence billing ที่ True กำลังจะทำ ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดมาก่อน" ศุภชัยกล่าวในการพบกันครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ถ้อยความดังกล่าวอยู่บนข้อเท็จจริง พื้นฐานที่ว่า ในประเทศที่ระบบธุรกิจพัฒนา และเจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว ทั้งสหรัฐอเมริกา หรือในยุโรป ซึ่งมีกฎหมายควบคุม และต่อต้านการผูกขาด หรือ anti trust
การจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการแต่ละราย ย่อมดำเนินไปโดยปราศจากการรวมศูนย์ และไม่มีความจำเป็นต้องหาวิธี convergence billing เช่นว่านี้แต่อย่างใด
ช่วงที่ผ่านมา True ได้นำเสนอรูปแบบการชำระค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ หรือแม้กระทั่งผ่านเทคโนโลยีบนมือถือไปบ้างแล้ว แต่การเชื่อมประสานทางกายภาพ (physical) ภายในของ True อย่างแท้จริง ดูจะเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาอีกไม่น้อย
"เรื่องที่น่าแปลกมากก็คือ เราได้ลงทุนในระบบการจัดเก็บรายได้สำหรับแต่ละส่วนงานไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งแม้จะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างจาก vendor รายเดียวกัน แต่การเชื่อมระบบให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด"
ก่อนหน้านี้ ความคิดคำนึงว่าด้วย convergence billing อาจอยู่ห่างไกลออก ไปจากคณะผู้บริหารของ True เนื่องเพราะ ประเด็นสำคัญกำหนดให้อยู่ที่การแสวงหา รายได้และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเติมเต็มหนทางรอดในธุรกิจและการก้าวเดินใหม่อีกครั้ง
หากแต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน นี่อาจเป็นห้วงเวลาสำคัญที่จะทำให้ True มีโอกาสได้ปรับเปลี่ยนกลไกภายในเพื่อเสริมความแข็งแกร่งอีกครั้ง
ดูเหมือนว่า convergence billing กำลังจะเป็นตัวเชื่อมสำคัญที่จะนำไปสู่บทพิสูจน์ประเมินความสำเร็จของยุทธศาสตร์ convergence โดยองค์รวมด้วย
|
|
|
|
|