Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
Core Banking เทคโนโลยีที่เต้นผิดจังหวะของ ธอส.             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
โฮมเพจ บริษัท อินโฟซิส เทคโนโลยีส์ จำกัด

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ดาต้าแมท, บมจ.
Banking
อินโฟซิส เทคโนโลยีส์, บจก.




ผู้จัดการโครงการ บริษัทอินโฟซิส เทคโนโลยี จำกัด ต้องขนทีมงานมาทำงานใกล้ชิดกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากที่ระบบ Core Banking ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงประสิทธิผลในการทำงาน

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ นำทีมผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และผู้สื่อข่าวไปเยี่ยมชมแคมปัสของ บริษัทอินโฟซิส เทคโนโลยี จำกัด เมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย เพื่อยืนยันว่าระบบคอร์ แบงกิ้ง ที่ธนาคารเลือกใช้เป็นระบบที่มีมาตรฐานระดับโลก นอกเหนือจากการเยี่ยมชมงานแล้ว ผู้บริหารยังมีเป้าหมายเพื่อประชุมกับผู้บริหารของอินโฟซิส ให้แก้ไขปัญหาการทำงานของระบบคอร์ แบงกิ้งอย่างเข้มข้น เพราะเห็นว่าเป็น เรื่องที่ต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ขรรค์ยอมรับว่าหลังจากที่นำระบบคอร์ แบงกิ้ง เริ่มทดสอบเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ระบบการทำงานเกิดความผิดพลาด อย่างเช่น โปรแกรมไม่คิดดอกเบี้ย หรือโปรแกรมไม่สั่งตัดชำระหนี้ในระบบของสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสาเหตุเกิดจาก "คน" เป็นหลัก ที่ยังไม่เข้าใจการทำงานของระบบและการทำงาน ของระบบเทคโนโลยียังไม่นิ่ง

ปัจจุบันทีมงานของบริษัทอินโฟซิสฯ จะเข้ามาร่วมทำงานกับธนาคารเป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่กรกฎาคมถึงกันยายนนี้ เพื่อ มอนิเตอร์ระบบ แก้ไขระบบทั้งฮาร์ดแวร์ และระบบเชื่อมโยงโครงข่าย ตามสัญญาว่าจ้างบริษัทอินโฟซิสจะต้องดูแลระบบบริการหลังการขายอีก 3 ปี ซึ่งบริษัทคาดว่าจะต้องมาดูแลโดยตรง หลังจากบริษัทดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) บริษัทจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอทีมีปัญหาด้านการเงินไม่สามารถเข้ามาดูแลได้อีกต่อไป

ก่อนหน้านี้บริษัทดาต้าแมทฯ รับเป็นตัวแทนของบริษัทอินโฟซิสฯ เข้าร่วมประมูลโครงการติดตั้งระบบคอร์ แบงกิ้งให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เมื่อปี 2548 และเป็นผู้ชนะในการเสนอราคา 600 ล้านบาท และใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลา 3 ปี จนกระทั่งมีการทดสอบระบบเมื่อปลายปี 2550 ที่ผ่านมา

ระบบคอร์ แบงกิ้ง เป็นหัวใจหลักของการทำงานของธนาคาร ซึ่งเทคโนโลยีจะทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบการทำงานทั้งหมดของธนาคารทั้งระบบภายใน (back office) และระบบบริการลูกค้า (front office) ที่จะรองรับบริการรับฝากถอนเงิน รับชำระเงิน พิจารณาสินเชื่อ บริการเงินกู้ ระบบบัญชี ติดตามหนี้ รวมไปจนถึงการฟ้องคดีต่างๆ

ระบบนี้ยังทำหน้าที่เชื่อมโยงบริการ ที่เรียกว่า e-Banking เพื่อให้บริการลูกค้ารายย่อย และธนาคารยังหวังไว้ว่าระบบนี้จะสามารถปรับเปลี่ยนบริการให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม

ระบบคอร์ แบงกิ้งจะเชื่อมระบบกับ สาขาทั่วประเทศทั้งหมดสาขาหลัก 75 แห่ง สาขาย่อย 28 แห่ง สาขาศูนย์บริการที่เรียกว่า OSS 20 แห่ง และเคาน์เตอร์การเงินนอกสถานที่อีก 15 แห่ง

เรื่องของการพัฒนา "คน" เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ธนาคารกำลังบรรจุอยู่ในแผนเพื่อพัฒนาอย่างเร่งด่วนในระยะเวลา 2 ปี (2550-2551) เพราะจากบทเรียนที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารตระหนักว่าธนาคารต้องลงมือ ทำเองและพัฒนาบุคลากร

อภิรัตน์ ตันติเวชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์บอกว่า โปรแกรมเมอร์ของธนาคารจะต้องผ่านการ อบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อเรียนรู้ระบบคอร์ แบงกิ้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบฟินาเคิล (Finacle) ของบริษัทอินโฟซิสฯ

ส่วนของพนักงานบริการประจำสาขาต่างๆ ได้รับการอบรมทั้งหมดเช่นเดียวกัน และการทำงานจะต้องเป็นระบบวันต่อวัน นอกเหนือจากนั้นจะมีทีมงานที่เรียกว่า Help Desk ให้ความช่วยเหลือ พนักงานประจำสาขาต่างๆ กรณีเกิดข้อสงสัยในการทำงานของระบบ

ในด้านของผู้ใช้บริการมีประสบการณ์โดยตรงที่พบปัญหาการทำงานของธนาคารมาเป็นเวลา 7 เดือน ได้เรียนรู้วิธีแก้ไขและธนาคารได้ปรับปรุงระบบคอร์ แบงกิ้งมาระยะเวลาช่วงหนึ่งแล้ว พบว่ามีปัญหาลดน้อยลง

การปรับปรุงระบบคอร์ แบงกิ้งเป็น ส่วนหนึ่งที่จะช่วยรับมือกับการบริหารหนี้สินของธนาคารที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคต เพราะธนาคารมองว่าภาวะเศรษฐกิจโดยในปัจจุบันมีผลต่อการชำระสินเชื่อ ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยรวมได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ น้ำมันแพงที่ผลักดันให้ต้นทุนวัตถุดิบของวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กปรับราคาสูงขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ อัตราค่าก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ที่ยากลำบากกว่านั้นจากภาวะเศรษฐกิจที่กระทบโดยตรง ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ทำให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ประเมินสถานการณ์ภาพรวมของธนาคารในครึ่งปีหลัง จะทำให้ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยลดลงน้อยกว่า 94,000 ล้านบาท จากเดิมที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะมียอดสินเชื่อตลอดปี 2551 ไว้ที่ 95,000 ล้านบาท

"แม้ว่าสินเชื่อที่ธนาคารตั้งเป้าไว้ที่ 94,000 ล้านบาท เป็นเรื่องลำบากที่ต้องทำ เพราะเงินที่อยู่ในกระเป๋าของลูกค้าจะมีกู้หรือเปล่า รายได้สุทธิของผู้บริโภคเป็นตัวเลขสำคัญบ่งบอกว่าผู้กู้จะมีความสามารถชำระได้หรือเปล่า"

แม้ว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์จะเป็นธนาคารเฉพาะด้านที่ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังก็ตาม แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอนในปัจจุบันก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธนาคารเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ และในขณะที่ธนาคารอยู่ระหว่างการปรับปรุงเทคโนโลยีคอร์ แบงกิ้งก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารสามารถมอนิเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us