Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
เค-เอสเอ็มอี ทางเลือกใหม่ ผู้ประกอบการรายย่อย             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย
โฮมเพจ บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด
โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
สุนทร เด่นธรรม
SMEs
Software
ฮิวแมนิก้า, บจก.
ข้าวกล้า, บลท.
ร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี, บจก.




"ผมอยากได้เงิน อยากได้ชื่อ และอยากได้เพื่อน เป็น 3 เหตุผลหลัก ที่บริษัทฮิวแมนิกา จำกัด ตัดสินใจเปิดทางให้บริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี ในเครือธนาคารกสิกรไทยเข้ามาถือหุ้น"

บริษัทฮิวแมนิก้า จำกัด ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ และให้คำปรึกษาด้านระบบงานองค์กรและทรัพยากรบุคคล เริ่มต้นธุรกิจเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา แต่เจ้าของธุรกิจอย่างสุนทร เด่นธรรม กรรมการผู้จัดการ และพนักงานเกือบทั้งหมดต่างมีประสบการณ์ทางด้านไอที

ทั้งผู้บริหารและพนักงานส่วนใหญ่แยกออกมาจากบริษัทไพรช์ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นองค์กรระดับโลก

สุนทรในฐานะผู้บริหาร มีประสบการณ์ในวงการด้านไอทีมากว่า 10 ปี เขามองเห็นโอกาสธุรกิจ จึงทำให้เขาตัดสินใจลาออก และมีลูกน้องจำนวนหนึ่งมาร่วมทำงานและก่อตั้งบริษัทฮิวแมนิก้า จำกัด

บริษัทฮิวแมนิก้า ก่อตั้งเมื่อปี 2546 ด้วยทุนเริ่มต้น 30 ล้านบาท เป็นบริษัทที่มีเจ้าของเป็นคนไทย มีเป้าหมายเพื่อผลิตซอฟต์แวร์จำหน่ายภายในประเทศ เพราะสามารถจำหน่ายในราคาถูกกว่าซอฟต์แวร์ ที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ

ปัจจุบันบริษัทฮิวแมนิก้ามีฐานลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ อาทิ ซีเกท เทคโนโลยี รอยเตอร์ ยูนิลิเวอร์ และกรุงไทย คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส

จากฐานลูกค้าขนาดใหญ่และความต้องการของตลาดที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต สุนทรรู้ดีว่า บริษัทต้องการเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ

ที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าร่วมโครงการ "นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย" ได้รับอนุมัติสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อพัฒนาระบบซอฟต์ แวร์จัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศอย่างออราเคิล หรือพีเพิลซอฟท์ และสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ถูกกว่า

สุนทรไม่ได้หยุดหาแหล่งเงินทุน แต่เขายังแสวงหาจากช่องทางอื่นๆ จนกระทั่งเขาได้เข้าร่วมสัมมนาธุรกิจเอสเอ็มอีกับธนาคารกสิกรไทย แม้ว่าเขาจะไม่เคยเป็นลูกค้ามาก่อนก็ตาม

การเข้าร่วมสัมมนาทำให้เขารู้ว่า ธนาคารกสิกรมีบริษัทในเครือ คือ บริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี จำกัด ที่มีเป้าหมายเข้าร่วมลงทุนในบริษัทเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจ และมีเป้าหมายเข้าตลาดหลักทรัพย์

เขามองว่า บริษัทร่วมทุนเค-เอส เอ็มอีตรงกับธุรกิจของเขาที่ต้องการสนับ สนุน สิ่งที่เขาต้องการมี 3 ด้าน เงินทุน ชื่อเสียง และพันธมิตร

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเปิดทางให้บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอีฯ เข้าร่วมทุนใน บริษัท คือ ชื่อเสียงของธนาคารกสิกรไทย เพราะจะทำให้บริษัทฮิวแมนิก้าได้รับความ น่าเชื่อถือจากลูกค้า สุนทรบอกถึงความตั้งใจของเขา

ส่วนด้านพันธมิตร ธนาคารมีบริษัทในเครือ และมีกลุ่มสมาชิกเอสเอ็มอี ที่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทสามารถขยายเครือข่ายได้เพิ่มมากขึ้น

ก่อนที่จะเกิดการร่วมหุ้นกันอย่างเป็นทางการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด (บลท.ข้าวกล้า) บริษัทแม่ของบริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี มีบทบาทเป็นผู้บริหารเงินร่วมลงทุนและพิจารณาคัดเลือกบริษัทเอสเอ็มอีได้เข้าไปตรวจสอบบัญชี และแผนธุรกิจของบริษัทฮิวแมนิก้าอย่างละเอียด ในบางวันใช้เวลาตรวจสอบถึงตี 2 หรือตี 3


จนกระทั่งบริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี ตัดสินใจเข้าร่วมลงทุนด้วยจำนวนเงิน 8.97 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 15.60% เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 ล้านบาท

นอกเหนือจากการร่วมทุนในบริษัทฮิวแมนิก้าแล้ว บริษัทเค-เอสเอ็มอียังได้ร่วมทุนอีก 2 บริษัท บริษัทเนอร์วาน่าฟูดส์ แอนด์ คอมเมิซ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิตและจำหน่ายชา กาแฟบรรจุขวดแก้ว ที่มีโรงงานในสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เพื่อจำหน่ายในและต่างประเทศ

บริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอีร่วมทุนจำนวน 30 ล้านบาท หรือถือหุ้น 15.38% ของทุนจดทะเบียน 195 ล้านบาท

บริษัทที่ 2 บริษัททูสปอตคอมมิวนิ เคชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจด้านการออก แบบและพัฒนารูปแบบคาร์แรกเตอร์ต่างๆ เพื่อขายลิขสิทธิ์ให้บริษัทอื่นๆ นำไปผลิตสินค้า บริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอีร่วมทุน 5.004 ล้านบาท ถือหุ้น 20.17% ทุนจดทะเบียน 20.67 ล้านบาท

บลท.ข้าวกล้า ก่อเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2550 ด้วยฝีมือการเขียนแผนธุรกิจของ วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย ที่ต้องการเติมเต็มธุรกิจเอสเอ็มอีของธนาคารกสิกรไทย ที่หันมารุกตลาดเอสเอ็มอีอย่างเอาจริงเอาจัง จนกระทั่งธนาคารตัดสินใจให้เงินก้อนแรกจำนวน 200 ล้านบาท

บลท.ข้าวกล้าจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด บริษัทนี้มีบทบาทหน้าที่ เป็นนิติบุคคลร่วมทุน ที่ไม่อยู่ในรูปของ กองทุนร่วมทุนเหมือนกับ บลจ.วรรณ และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

เป้าหมายของ บลท.ข้าวกล้า หวังไว้ว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นจะสามารถตอบโจทย์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการ ทั้งเงินทุนและที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจไปพร้อมๆ กัน ในครึ่งปีแรกบริษัทก็สามารถ เข็นบริษัทร่วมทุนออกมาได้ 3 บริษัท

ในปี 2551 บลท.ข้าวกล้ากำหนดแผนธุรกิจไว้ว่า จะเข้าร่วมทุนกับบริษัทเอส เอ็มอีอีกประมาณ 20 รายๆ ละ 10-12 ล้านบาท พร้อมกับผลักดันให้บริษัทร่วมทุนเข้า ตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ

เงื่อนไขของการร่วมทุน บริษัทผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีประสบ การณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยบริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอีจะเข้าไปถือหุ้นร้อยละ 10-50 ของทุนจดทะเบียน มีกำหนดระยะเวลาลงทุน 3-5 ปี และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารงานประจำวัน

แม้ว่า บลท.ข้าวกล้าจะมองเห็นโอกาสในการลงทุนร่วมกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็ตาม แต่ด้วยประสบการณ์การทำงานที่กำหนดระยะขั้นต่ำเพียง 3 ปีและไม่จำกัดประเภทอุตสาหกรรม โอกาสที่จะพบความเสี่ยงจึงมีไม่น้อย บลท.ข้าวกล้าได้เตรียมรับมือกับเรื่องนี้ด้วยการกระจายความเสี่ยง โดยกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมเดียวกันไม่เกิน 1 ใน 3 ของเงินทุนจดทะเบียน

ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ในมุมมองของวิวรรณ มองแนวโน้มของธุรกิจที่จะผลิดอกออกผลในอนาคต จะเป็นธุรกิจที่อิงกระแสโลก และเป็นธุรกิจที่เหมาะจะเกิดขึ้นในเมืองไทย เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับสมุนไพร พืช ผัก สัตว์ เพราะความต้องการของตลาดโลกนับวันยิ่งทวีเพิ่มขึ้น

การก่อตั้งบริษัท 2 แห่ง ทั้ง บลท. ข้าวกล้า และบริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี มีเป้าหมายใหญ่ก็เพื่อขยายธุรกิจบริการให้กับธนาคารกสิกรไทย จากบทบาทที่รับเงินฝาก และให้บริการสินเชื่อ มาเป็นการร่วมทุน โดยเจาะไปที่กลุ่มเอสเอ็มอี

ถือได้ว่า ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารเดียวในปัจจุบันที่มีนโยบายเข้าไปร่วมทุนกับกลุ่มเอสเอ็มอี เป็นมุมมองที่แตก ต่างจากธนาคารกรุงเทพ ที่เป้าหมายหลักให้สินเชื่อเพียงอย่างเดียว เพราะมองว่า กองทุนร่วมทุนในเมืองไทยแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลยในหลายๆ ปีที่ผ่านมา

เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งระหว่าง 2 มุมมองของแบงก์รวงข้าวสีเขียว กับแบงก์ดอกบัวสีน้ำเงิน ใครจะมองธุรกิจเอสเอ็มอีทะลุปรุโปร่งได้มากกว่ากัน!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us