|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2551
|
|
พรศิริ มโนหาญ ได้รับเลือกขึ้นมาเป็น "แม่ทัพ" ภายใต้แรงกดดันรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในและภายนอกองค์กร บรรยากาศติดลบทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่สิ่งที่น่าหนักใจมากที่สุดคือการทำความเข้าใจกับสังคมเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของ ททท.
Q: คุณมีแนวคิดอะไรเป็นปรัชญาในการทำงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย?
A: จำได้ว่าวันปฐมนิเทศ พลโทเฉลิมชัย จารุวัสตร์ อดีตผู้อำนวยการ อสท. บอกว่า จริงๆ ผมอยากให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ปีหนึ่งมี 1 คน เมื่อ 38 ปีก่อนถ้าพูดถึงฝรั่งเป็นล้านคนมาเมืองไทยมันเยอะมากนะ ท่านบอกว่า ถ้านักท่องเที่ยวเข้ามาล้านคน ทุกคนกินไข่ เป็นอาหารเช้า ชาวบ้านก็ขายไข่ได้ถึงล้านฟอง รายได้ก็กระจายไปยังพวกเขา คอนเซ็ปต์นี้ทำให้รู้สึกว่าทุกเม็ดจากต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในเมืองไทยมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งนั้น
Q: สิ่งที่อยากสร้างความเข้าใจกับสังคมให้ชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นบทบาทของ ททท.?
A: อยากให้ทุกคนเข้าใจด้วยว่า ททท. มีหน้าที่คือ ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในเมืองไทยแทนที่จะไปประเทศอื่น อันนี้ถือว่าจบไป เราสามารถไปช่วงชิงจากประเทศอื่นมาได้ ส่วนเขาจะไปเที่ยวที่ไหน พักที่ไหน ต้องอยู่ที่ความน่าสนใจของผู้ประกอบการ หรือแหล่งท่องเที่ยวตรงนั้นด้วย ฉะนั้นคุณเองต้องช่วยตัวเองกันบ้าง ไม่ใช่ยืนรอแล้วเอาแต่ถามว่า ทำไมไม่มีใครมาหาฉัน หรือ นักท่องเที่ยวคนไทยก็เหมือนกัน เมื่อเรากระตุ้นให้เขาออกมาท่องเที่ยวได้ ตัวคุณเองก็ต้องออกแรงดึงพวกเขาไปหาคุณด้วย
Q: สิ่งที่ ททท.อยากบอกไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการร่วม กันส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย?
A: ททท.ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นของตัวเองเลย ดังนั้น วัดบางแห่งที่คนตำหนิกันเยอะว่าขายของมากเกินไป เป็นพุทธพาณิชย์จนเดินแทบไม่ได้ ต้องไปดูว่าอยู่ในความดูแลของกรมการศาสนาหรือกรมศิลปากร หรืออุทยานแห่งชาติไม่ปลอดภัยก็อยู่ในความรับผิด ชอบของกรมป่าไม้ เหมือนที่ดิฉันมองว่าหน้าที่หลักของ ททท.ก็คือการโปรโมตภาพลักษณ์ด้านบวกของประเทศ เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศให้ได้ เราก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ฉะนั้นทุกหน่วยงานก็ควรรับผิดชอบในส่วนของตัวเองให้ดีที่สุดด้วย
Q: ดูเหมือนว่าการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็กลายเป็นข้อจำกัดในการทำงานบางอย่างของ ททท. ด้วยหรือไม่?
A: เหตุที่ตั้งกระทรวงฯ ขึ้นมาก็เพราะในอดีต เวลาที่ ททท.จะไปขอความร่วมมือจากใคร เราเหนื่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความ ปลอดภัย หรือเรื่องอะไรก็ตาม เพราะเขามองว่า เราเป็นแค่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้มีตัวตนเป็นกระทรวง อย่างไปขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย การเข้าถึงรัฐมนตรีจะเหนื่อยมากๆ รัฐบาลสมัยนั้นก็เลยตั้งกระทรวงฯ นี้ขึ้นมาเพื่อการหารือระดับกระทรวง ดังนั้นพอมีกระทรวงฯ ททท. ก็เลยมีหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเดียวจริงๆ
ก่อนหน้านี้ นอกจากการโปรโมต ททท. ยังทำหน้าที่พัฒนาสินค้าหรือแหล่งท่องเที่ยวให้น่าไปด้วย เช่น ปกติ ททท.จะมีแผนอบรมชุมชนเป็นประจำไม่ต่ำกว่า 50 หนต่อปี ไม่ว่า อบรมการเป็น เจ้าบ้านที่ดี อบรมคนขับสามล้อ อบรมคนขับรถแท็กซี่ อบรมภาษาต่างประเทศ ฯลฯ แต่พอมีกระทรวงฯ เวลาเราตั้งงบสำหรับอบรม สำนักงบประมาณฯ ชี้แจ้งเรียบๆ นิ่มๆ เหมือนต่อว่าว่า เราน่าจะรู้ ภารกิจของตน ตามพระราชบัญญัติงานนี้ไม่ใช่ภารกิจของ ททท. อีกต่อไป เราเลยต้องแฝงการอบรมไปกับแคมเปญอื่น กลายเป็นความลำบากอย่างหนึ่ง เพราะประชาสัมพันธ์ก็ไม่ได้เต็มที่พูดก็ไม่ได้เต็มปาก เพราะมันทับซ้อนกับงานของกระทรวงฯ เหมือนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ เคยใช้คำว่า แย่งงานกันทำ
Q: เวลาที่ ททท. ไปขอความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ผู้มีอำนาจระดับท้องถิ่น เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ฯลฯ คนเหล่านี้มีความเข้าใจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างไร?
A: พวกเขาเข้าใจว่าการท่องเที่ยวจะนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่น ส่วนใหญ่ จะมองด้านรายได้เป็นหลัก อยากให้มีนักท่องเที่ยวมามากๆ เพื่อจะได้มีรายได้มากๆ เวลาเราไปอบรมให้เขาก็เลยต้องเน้นให้เขารักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สะอาดและน่าอยู่เสมอแล้วจากนั้นนักท่องเที่ยวจะตามมา
Q: หลายครั้งที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยว ททท. มักตกเป็นผู้ต้องหารายแรกๆ ว่าโปรโมตการท่องเที่ยว เยอะจนทำลายชุมชนท้องถิ่น ทำไมคนในสังคมไทยจึงมี "อคติ"ทำนองนั้นกับ ททท.?
A: มันคงโทษง่ายที่สุดเพราะเราไม่ว่าใคร มันเป็นธรรมชาติของการทำงานด้านท่องเที่ยวที่เราต้องเป็นมิตรกับคนอื่นๆ เหมือนกับที่มีคนเคยบอกว่า tourism is passport to peace อันที่จริง ดิฉันไม่เห็นด้วยกับการดึงคนเที่ยวมาเยอะๆ จนแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม อย่างตอนที่อุทยานแห่งชาติประกาศนำมาตรการ เรื่องความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวมาใช้ ดิฉันยินดีมากที่อุทยานฯ คิดอย่างนี้และบังคับใช้อย่างจริงจัง เพราะนี่เป็นโอกาสที่แหล่งท่องเที่ยวจะฟื้นตัวและคนไปเที่ยวจะได้ปลอดภัย
ถ้าไม่จำเป็นอย่ามาอ้างว่าจะสูญเสียนักท่องเที่ยว ดิฉันไม่เคยห่วงเลยถ้ามันจะทำให้นักท่องเที่ยวหรือคนที่อาศัยตรงนั้นปลอดภัย แล้วอยากเรียนว่า ในการรณรงค์ของ ททท. เราไม่เคยทิ้งเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวเลย เรายังคอยสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนดูแลพื้นที่ตัวเองด้วยซ้ำ แต่พอแหล่งท่องเที่ยวเละเทะ ขณะที่เจ้าของสถานที่ยังอาจได้ประโยชน์จากค่าเข้า แต่ ททท.ไม่ได้ อะไรแถมยังถูกหาว่าโปรโมตมากไปจนคนมาแน่น
Q: สุดท้ายปัญหาที่เกิดกับ ททท. เป็นเพราะขาดการจัดการและขาดความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ หรือเปล่า?
A: คงต้องบอกว่า ททท.ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ถ้าเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมก็อาศัยกรมศิลปากร แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็กรมอุทยาน เพราะคนในหน่วยงานเหล่านี้เป็นดอกเตอร์กันทั้งนั้น ท่านเก่งกว่าเราอยู่แล้ว เพราะ ททท.เป็นเหมือนเป็ด เราเพียงแต่มองว่าขอให้แหล่งท่องเที่ยว สวยงาม สะอาด และปลอดภัย เท่านั้นเอง แต่คงไปจัดการเองไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้ก็คือดึงนักท่องเที่ยวลงไปตามแหล่งต่างๆ ส่วนบางเรื่อง ททท. ก็คงลงไปดูหมดไม่ได้ เพราะเราเป็นแค่ รัฐวิสาหกิจเอง ไม่มีอำนาจในพื้นที่ บางทีทางจังหวัดเองก็ต้องดูแลพื้นที่ของตัวเองเองด้วย
|
|
|
|
|