Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
"การทำลายล้างวิถีชุมชน ถือเป็นความไม่ชอบมาพากลของมรดกโลก"             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
search resources

Social
ศรีศักร วัลลิโภดม, รศ.




รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาชั้นแนวหน้าของประเทศไทยและอาเซียน เจ้าของรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกูโอกะ ประจำปี 2550 และเจ้าของผลงานจรรโลงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งเป็นแกนนำของนักวิชาการทางด้าน "ประวัติศาสตร์แนวใหม่" ที่มุ่งเน้นกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมเอเชียและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในภูมิภาค โดยอาจารย์มองว่า ภายใต้บริบทของความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชา นี่ถือเป็นโอกาสดีที่คนไทยควรจะเริ่มต้นเรียนรู้แง่มุมใหม่ของ "มรดกโลก"

Q: เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเรียนรู้ทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา มรดกโลกควรมีคุณลักษณะอย่างไร?

A: มรดกโลกต้องมุ่งให้เป็นแหล่งการเรียนรู้แห่งอารยธรรมของโลก และต้องมุ่งประโยชน์ในการที่ประชาชนของโลกจะได้เรียนรู้ เพื่อรู้จักกันเองมากขึ้น ด้วยเกณฑ์นี้ มรดกโลกจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีเขตแดน ซึ่งถ้าทำได้จริงมันก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

Q: เมื่อเจตนารมณ์ของมรดกโลกก็ดูดี แล้วเหตุใดกรณีปราสาทพระวิหารจึงกลายเป็นข้อพิพาทขึ้นมาได้?

A: เห็นได้เลยว่า มรดกโลกไม่ดำเนินไปตามเป้าหมายที่แท้จริง เพราะจริงๆ ปราสาทก็เป็นเหมือนกระดูก ส่วนพื้นที่รอบบริเวณที่อยู่ในเขตไทยเป็นเหมือนเนื้อหนังมังสา ถ้าคณะกรรมการมรดกโลกมีการจัดการที่มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยประกาศให้ไทยและกัมพูชาขึ้นทะเบียนร่วมกัน แหล่งมรดกโลกนี้ก็จะมีคุณค่าทางอารยธรรมอย่างเป็นตัวตนที่ชัดเจน แต่สิ่งที่ปรากฏก็คือคณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาฝ่ายเดียว ทั้งที่ขาดความสมบูรณ์เชิงการเรียนรู้ เมื่อไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ ความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมของมรดกโลกก็หมดไป

Q: ภายหลังปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างไร ประเทศไทยควรมีท่าทีอย่างไรบนเวทีการเมืองระหว่างประเทศ?

A: ขณะนี้ถ้าไทยเราได้เปรียบ 100% เพราะถือว่ากัมพูชายอมรับแผนที่ที่ประเทศไทยเสนอ แสดงว่าไทยเราไม่เสียดินแดนและยังไม่เสียเอกราช ตราบที่ไทยไม่เข้าร่วมเป็นภาคีกับ "คณะกรรมการ 7 ชาติ" ถ้าเราไม่ให้คณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทางดินแดนฝั่งเรา ดูสิว่าจะขึ้นกันทางไหน จะเหาะขึ้นหรือจะทำกระเช้า ถ้าทำกระเช้าความเป็นมรดกโลกก็หมดไป เพราะความถูกต้องและความโบราณก็จะหมดไปเลย ดังนั้นสิ่งที่ไทยควรทำก็คือตัดมรดกโลกออกไปจากแผ่นดินไทยเพื่อรักษาอธิปไตยของไทย ส่วนเรื่องการทวงคืนปราสาทพระวิหารให้ยุติไว้เลยดีกว่า เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ศาลโลกได้ ตัดสินไปแล้ว สิ่งที่เราควรทำตอนนี้ก็คือการนำค่าโง่จากการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารร่วมกับกัมพูชามาเป็นบทเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคตดีกว่า

Q: ความไม่สง่างามของมรดกโลกที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในระดับโลกมีมูลเหตุสำคัญมาจากอะไร?

A: ทุกวันนี้ ความหมายของมรดกโลกถูกบิดเบือนจากการเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่ออารยธรรมและเพื่อประโยชน์ของคนท้องถิ่น แปรรูปไปเป็นแหล่งเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการปลดปล่อยอารมณ์บ้าบอภายใต้โครงสร้างการจัดการแบบ top-down โดยไม่คำนึงถึงวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมของคนท้องถิ่น ขณะที่การจัดการความหมายของมรดกโลกก็ถูกผูกขาดให้กลายเป็นมรดกโลกที่ตัดขาดจิตวิญญาณชุมชน โดยคนท้องถิ่นไม่เคยได้มีส่วนร่วมไม่เคยได้วิจารณ์ การจัดการมรดกโลกถูกครอบงำโดยนักวิชาการที่ขายตัว ขายชาติ แล้วก็นำแผนแม่บทที่ขายชาติเหล่านั้นมาผูกมัดคนท้องถิ่น การทำลายล้างวิถีชุมชนของ ชาวบ้านเช่นนี้ถือเป็นความไม่ชอบมาพากลของมรดกโลก โดยมีชาวบ้านท้องถิ่นเป็นเหยื่อมรดกโลก จากการกระหน่ำของโครงสร้างบ้าๆ บอๆ จาก "ข้ามชาติ" ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการล่าอาณานิคม

ผมว่ามรดกโลกทุกแห่งล้วนดูแห้งแล้ง เพราะไม่มองประวัติศาสตร์ทางสังคม ไม่มีการสืบเนื่องของคนท้องถิ่น ที่เป็นเจ้าของที่อยู่ตรงนั้น ตัวอย่างหลวงพระบางที่ปัจจุบันเหลือแต่เปลือกความเป็นเมือง แต่ข้างในกลวง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนลาวไล่ไม่ทันความเปลี่ยนแปลงทางการท่องเที่ยว คนที่อยู่ในหลวงพระบางไม่ใช่คนหลวงพระบาง กลายเป็นตลาดนานาชาติ คนหลวงพระบางจริงๆ ต้องถอยออกไปเพื่อให้คนต่างชาติเข้ามาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ขณะที่ความ สง่างามของโบราณสถานและศิลปวัฒนธรรมของลาวก็ถูกทำให้เสื่อมหมด โดยเฉพาะพระธาตุภูสี ภูศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นประธานของเมือง เวลาคนท้องถิ่นเข้าไปต้องทำความเคารพ แต่นักท่องเที่ยวฝรั่งกลับเข้าไปกอดกันหน้าพระบรมธาตุ ดูพระอาทิตย์ตกดิน...ต่างจากโบราณสถานของพม่าที่ยังคงมีศักดิ์ศรี และยังเป็นของคนท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ จิตวิญญาณแห่งโบราณสถานของพม่าจึงยังไม่ตาย

Q: ในเชิงมานุษยวิทยา แนวทางในการจัดการมรดกโลกเพื่อให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงควรอยู่บนหลักการใด?

A: วิชามานุษยวิทยานี้ไม่ได้เน้นประวัติศาสตร์ที่หมดไปแล้ว แต่เน้นประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่อง เน้นประวัติศาสตร์ สังคมและ วัฒนธรรมของท้องถิ่น ผมจึงสนใจประวัติศาสตร์ที่มองอดีตอย่างต่อเนื่อง และเน้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผมจึงนิยมให้ความหมายกับคนท้องถิ่น ดังนั้นหลักในการทำแผนจัดการมรดกโลกจึงควรให้ชาวบ้านท้องถิ่นมีส่วนร่วมและต้องเอื้ออาทรต่อคนท้องถิ่น ซึ่งถือเป็น stake holder หรือเจ้าของที่แท้จริงที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้น แล้วสิ่งที่เราต้องทำก็คือ "empower" คนท้องถิ่นให้พวกเขาเกิดความมั่นใจในมรดกของเขา เพื่อจะได้มีอำนาจการต่อรอง แต่ที่ผ่านมาสังคมไทยไม่เคยทำเลยพอพูดถึงการพัฒนาประเทศก็ top-down ทั้งนั้น

ดังนั้น ถ้าแหล่งมรดกโลกใดที่ไม่ได้ให้ประโยชน์ในแง่ของการเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสร้างสันติ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของ คนท้องถิ่น และไม่เป็นประวัติศาสตร์ที่เห็นความงดงามของชาติพันธุ์... ถ้าไม่อยู่บนหลักการดังกล่าว ผมถือว่ามรดกโลกเหล่านั้นก็เป็นแค่เรื่องรกโลก!

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย สุภัทธา สุขชู   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us