Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
กาแฟบดแบรนด์ Folgers             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
www resources

Folgers Coffee Homepage

   
search resources

Coffee
Folgers Coffee




บรรดาคอกาแฟทั้งหลายคงคุ้นเคยกับชื่อและรสชาติของ Folgers กาแฟบดสัญชาติอเมริกันเป็นอย่างดี ขณะนี้ Folgers แบรนด์ใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดกาแฟบดประมาณ 38% (ตัวเลขจาก USDA ช่วงปี 2000-2004) นับได้ว่าเป็นส่วนแบ่งที่สูงสุดในสหรัฐอเมริกา กำลังเป็นข่าวใหญ่ในวงการธุรกิจกาแฟบดของสหรัฐฯ ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา บริษัท J.M. Smucker เพื่อนบ้านของ P&G (Procter & Gamble) ในรัฐโอไฮโอ ประกาศควบกิจการกับแบรนด์ Folgers จาก P&G ไปเรียบร้อยแล้วด้วยหุ้นมูลค่าประมาณ 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ P&G มีสิทธิในหุ้นของ Smucker จำนวน 53.5%

จากการที่อยู่ใต้ร่มของ P&G มานานถึง 45 ปี อาจทำให้นึกไม่ถึงว่า แท้จริงแล้วแบรนด์ Folgers เป็นผลิตผลของยุคตื่นทองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าศตวรรษ นับตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ที่ครอบครัว Folgers นำโดย Peter Folgers เดินทางไกลจาก Norwich แห่งสหราชอาณาจักร สู่ Massachusetts ดินแดนชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปอเมริกา Peter พบรักและแต่งงานกับ Mary Morrell และตั้งรกรากที่เกาะเล็กๆ ชื่อว่า Nantucket พวกเขามีทายาทเป็นหญิง 6 คนและชาย 2 คน หนึ่งในสองคนนั้นคือ Samuel B. Folger ซึ่งต่อมามีบุตรชายนามว่า James A. Folger ผู้ที่ทำให้ชื่อ "Folger" เป็นที่รู้จักต่อมาถึงปัจจุบัน

หลังจากข่าวค้นพบทองคำในดินแดนแถบตะวันตก แพร่มาถึงฝั่งตะวันออก James พร้อมพี่ชายอีก 2 คน Henry และ Edward จึงเป็นตัวแทน ของครอบครัว Folger เดินทางไปขุดทอง ทั้ง 3 หนุ่ม เดินทางถึงซานฟรานซิสโกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1850 เงินทองที่พวกเขาพกติดตัวมาไม่เพียงพอสำหรับ 3 คนที่จะเดินทางต่อไปยังเหมืองทอง ทำให้ น้องเล็ก James ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 15 ปีต้องอยู่ทำงานเก็บเงินที่ซานฟรานซิสโก เพื่อตามพี่ๆ ไปยัง เหมืองทอง นั่นเป็นโอกาสให้ James ได้พบกับ William H. Bovee พ่อค้าจากนิวยอร์ก วัย 27 ปี ขณะนั้น William ต้องการช่างไม้มาช่วยสร้างโรงงาน ให้กับเขา หนุ่ม James มีฝีมือในงานไม้งานก่อสร้าง มาบ้างจากการช่วยบูรณะบ้านเกิดของเขาที่ Nantucket เมื่อคราวที่เพลิงพิโรธครั้งใหญ่ในปี 1846 ที่เกิดขึ้นสามปีก่อนเขากับพี่ชายออกเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลมายังฝั่งตะวันตก

James จึงได้ร่วมงานกับ William เจ้าของกิจการคั่วกาแฟในนิวยอร์ก ซึ่งกาแฟคั่ว (Roasted Coffee) ในสมัยนั้นถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์หรู มีราคาแพง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ต้องซื้อเมล็ดกาแฟสดมา คั่วและบดเอง ดังนั้นกว่าจะได้ดื่มกาแฟสักถ้วยหนึ่ง ก็หมดเวลาไปครึ่งวันแล้ว เมื่อ William เดินทางมาถึงซานฟรานซิสโก เขาค้นพบทำเลใหม่สำหรับกิจการ คั่วและบดกาแฟพร้อมชงของเขา โดยเขาเชื่อว่าคนงานเหมืองเหล่านี้จะยอมจ่ายเพื่อซื้อกาแฟของเขาอย่างแน่นอน เขาจึงสร้างโรงบดเมล็ดกาแฟและเครื่องเทศขึ้นบนถนน

Powell ใช้ชื่อว่า The Pioneer Steam Coffee and Spice Mills เขาได้ James มาช่วยสร้างจนสำเร็จเป็นโรงโม่ที่ใช้พลังงานจากลมเป็นแห่งแรกในซานฟรานซิสโก James สร้างกังหันจาก ใบเรือของเรือล่าปลาวาฬที่ถูกทิ้งไว้ที่ท่าเรือ ในที่สุด William สามารถผลิตกาแฟพร้อมชงบรรจุในกระป๋อง เล็กๆ มีฉลากปิดที่ข้างกระป๋องชื่อว่า Pioneer ได้สำเร็จตามต้องการ

หลังจาก James ทำงานกับ William ได้ประมาณเกือบปี เขาสามารถเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งเพียงพอที่จะออกเดินทางไปตามฝันอย่างพี่ๆ ได้แล้ว เขาจึงมุ่งหน้าสู่เหมืองทอง พร้อมกับนำตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศและกาแฟ Pioneer ที่คั่วและบดแล้วติดมือไปด้วย ขณะเดียวกันก็รับออเดอร์จาก ร้านขายของชำในเมืองที่เป็นที่ตั้งของเหมืองที่เขาผ่านมาจนกระทั่งถึงเมืองที่ชื่อว่า Yankee Jim's ในปี 1851 หลังจากที่ James ทำเหมืองและค้าขาย อยู่ประมาณ 14 ปี เขาเดินทางกลับมาที่ซานฟรานซิสโก ในปี 1865 และเขาได้เป็นหุ้นส่วนเต็มตัวในบริษัท Pioneer Steam Coffee and Spice Mills จากการซื้อหุ้นส่วนของ William และในปี 1872 เขา ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายอื่นมาจนหมด และเปลี่ยนชื่อกิจการเป็น J.A.Folger & Co. มีอาคารสำนักงานใหญ่อยู่ ณ หัวมุมถนน Howard ในซานฟรานซิสโก

เป็นที่น่าเสียดายที่ James มีโอกาสดูแลกิจการของเขาเพียงแค่ 17 ปีเท่านั้น เส้นเลือดตีบในหัวใจคร่าชีวิตของ James ด้วยวัยเพียง 51 ปี ธุรกิจ J.A.Folger & Co. จึงถูกส่งต่อไปยัง James A. Folger II บุตรชายคนโตของเขา ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 26 ปี ขึ้นรับตำแหน่งประธานบริษัทแทนบิดา เขาดำเนินกิจการได้เจริญรุ่งเรือง นอกจากจะมีธุรกิจขายส่งเมล็ดกาแฟคั่วสำเร็จเป็นธุรกิจหลัก ยังมีกาแฟบดสำเร็จจำหน่ายภายใต้แบรนด์ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับคุณภาพ โดยแบรนด์ที่มีราคาสูงสุดคือ Folgers Golden Gate Coffee ที่ฉลากมีรูปภาพของเรือลำหนึ่งที่จอดอยู่ที่อ่าวซานฟรานซิสโก

ในช่วงศตวรรษที่ 20 J.A.Folger & Co. ได้ Frank P. Atha มาร่วมงานในตำแหน่งพนักงานขาย แต่ Frank ต้องการทำมากกว่างานขาย เขาจึงเข้าพบ James A. Folger II และขออนุญาตเปิดโรงงานคั่วกาแฟในเทกซัส การขยายกิจการครั้งนั้นทำให้ Folgers ประสบ ความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง ในปี 1908 Frank เปิดโรงงานที่ 2 ใน Kansas City ซึ่งโรงงานนี้ยังคงเปิดดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี 1963 ยักษ์ใหญ่ทางด้านสินค้าอุปโภค บริโภคอย่าง P&G เห็นช่องทางการสร้างรายได้จาก Folgers จึงเข้าซื้อกิจการ และเริ่มจัดจำหน่ายกาแฟ Folgers ไปทั่วประเทศ ทำให้ Folgers กลายเป็นกาแฟบดอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ เบียดคู่แข่งอย่าง Maxwell House ของค่าย Kraft ไปอย่างง่ายดาย

จนกระทั่งเหตุการณ์พายุเฮอริเคนคาทริน่าถล่มนิวออร์ลีนส์ เมื่อปี 2006 สร้างความเสียหายให้แก่โรงคั่วบดกาแฟของ P&G ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Folgers ตกลงไปบ้าง ประกอบกับราคาของเมล็ดกาแฟที่ส่วนใหญ่มาจาก ต่างประเทศมีราคาสูงขึ้นจากราคาขนส่ง ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ P&G เปลี่ยนความ สนใจจากธุรกิจกาแฟ และหันไปลงทุนในด้านของใช้ส่วนบุคคล (Personal Care Products) มากขึ้น P&G จึงขายกิจการ Folgers ให้กับบริษัท J.M. Smucker ผู้ผลิตและจำหน่ายเจลลี่ผลไม้ยี่ห้อ Smucker ชื่อดัง โดย P&G ได้รับผลตอบแทนเป็นหุ้นจำนวน 53.3% ทำให้ P&G กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทใหม่ของ J.M. Smucker ที่มี Folgers รวมอยู่ด้วยไปโดยปริยาย โดยดีลประกาศเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา...ณ วันนี้ กาแฟ Folgers มีอายุ 158 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us