Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
Pet Loss             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Pet & Animal




ด้วยสถานภาพเทียบเท่าสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวที่รักและผูกพันมานานนับปี เมื่อถึงคราวที่จำต้องพลัดพรากจากกันไปย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่นำพามาซึ่งความอาลัยไม่ต่างอะไรไปกับความรู้สึกที่มีให้กับคนในครอบครัว

ในทัศนคติของคนญี่ปุ่นโดยทั่วไปแล้วการตีความคำว่า "สัตว์เลี้ยง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขและแมวนั้นค่อยๆ เปลี่ยนไปสอดคล้องกับเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นที่เติบโตแบบก้าวกระโดดตั้งแต่ช่วงหลังทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ซึ่งนอกจากจะมีส่วนเสริมสร้างความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นให้ดีขึ้นเป็นลำดับแล้วยังได้ อานิสงส์ส่งไปถึงคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงที่ถักทอสายใยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ แม้จะเป็น สิ่งที่มองไม่เห็นแต่ที่สัมผัสได้ก็คือ สัตว์เลี้ยงอยู่กับเจ้าของในบ้านด้วยฐานะสมาชิกคนหนึ่งไม่ใช่ตัวหนึ่ง

ในญี่ปุ่นมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นมารองรับอุปสงค์ความต้องการอันหลากหลายอย่างต่อเนื่อง* แม้จะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกสะเก็ดแต่สินค้าและบริการสำหรับสัตว์เลี้ยงก็ไม่ได้ซบเซาหรือได้รับผลกระทบมากเท่ากับธุรกิจประเภทอื่นๆเนื่องเพราะกลุ่มลูกค้าที่มีสัตว์เลี้ยงนั้นมีความพร้อมทั้งในด้านเศรษฐกิจ ฐานะและที่อยู่อาศัยที่สามารถ รับผิดชอบเลี้ยงสัตว์ได้โดยไม่เดือดร้อน

ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่นก็คือ ขณะที่อัตราการเกิดของประชากรกำลังลดลงนั้นอัตราการเพิ่มของประชากรสัตว์เลี้ยงในเชิง Companion Animal กลับสูงขึ้น ทั้งนี้แม้จะยังไม่มีรายงานการศึกษาติดตามความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์สองอย่างนี้ก็ตามที แต่มีแนวโน้มที่เป็นข้อสังเกตได้ว่าปัจจุบันคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยดำเนินชีวิตโดยมีสัตว์เลี้ยงพ่วงเข้ามาเป็น Generation พิเศษของครอบครัว

สุนัขบางพันธุ์เช่น Golden Retriever, German Shepherd และสุนัขสายพันธุ์ใกล้เคียงมีความฉลาดสามารถฝึกฝนให้ทำงานเป็นสุนัขตำรวจ ช่วยตรวจสอบค้นหายาเสพติดที่สนามบิน หรือช่วยในหน่วยงานกู้ภัยค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารปรักหักพังยามเกิดภัยธรรมชาติได้ นอกจากนี้บทบาทของ สุนัขช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาหรือทุพพลภาพที่ต้องนั่งบนรถเข็นนั้นก็มีปรากฏให้เห็นทั่วไปตามสถานที่สาธารณะในญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาแห่งความสุขใจใช่จะจีรังยั่งยืนเพราะสัตว์โลกไม่สามารถหลีกเลี่ยงกฎของธรรมชาติไปได้ ดังนั้นด้วยอายุขัยอันจำกัดทำให้สัตว์เลี้ยงมักจะเสียชีวิตจากไปก่อนเจ้าของที่เรียกกันว่า Pet Loss ซึ่งตามรากศัพท์แล้วหมายถึง สัตว์เลี้ยงสูญหายหรือตายจากไป โดยทฤษฎีแล้วความโศกเศร้าเสียใจหลังจากสัตว์เลี้ยงได้เสียชีวิตลงนั้นควรจะดีขึ้นหรือหายไปภายใน 2-4 สัปดาห์แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขโดยรวมของผู้ที่เข้ามาขอรับบริการที่ศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหากลุ่มอาการ Pet Loss หลายแห่งทั่วญี่ปุ่น ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง

กลุ่มอาการ Pet Loss มักเกิดกับคนที่ทำใจ ยอมรับความจริงที่สัตว์เลี้ยงตายจากไปไม่ได้จนเป็นเหตุให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ รู้สึกไม่มั่นคง เหนื่อยล้าไร้สาเหตุ อ้างว้าง กินอาหาร มากเกินหรือน้อยกว่าปกติ อาการของโรคกระเพาะเนื่องจากความเครียดที่ทำให้กรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเกินไป บางคนอาจมีอาการมากถึงขั้นเกิดภาพหลอน หูแว่วว่าสัตว์เลี้ยงได้กลับมาแล้ว

ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงเสียชีวิตเนื่องมาจากความเจ็บป่วยหรือหมดอายุขัยนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงบางคนมักจะโทษตัวเองหรือรู้สึกผิดที่ไม่สามารถปกป้องหรือช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยงไว้ได้ ซึ่งควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรักษาหรือบรรเทากลุ่มอาการ Pet Loss หากสัตว์เลี้ยงเสียชีวิตลงจากเหตุผิดพลาดในกระบวนการรักษาพยาบาลนั้นการฟ้องร้องสัตวแพทย์ ให้รับผิดชอบก็เริ่มมีปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นในสังคมของญี่ปุ่นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สัตว์เลี้ยงตายไปแล้วนั้นการจัดงานศพให้กับสัตว์เลี้ยงได้กลายเป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติกันในหมู่คนที่มีสัตว์เลี้ยงในประเทศญี่ปุ่น

ขั้นตอนการจัดการเมื่อสัตว์เลี้ยงเสียชีวิตลงอาจกระทำโดยติดต่อกับวัดโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ทางวัดจะทำพิธีสวดอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์รวมกันครั้งละ 5-6 ตัวหรือในบางครั้งอาจมากถึง 10 ตัว ตามวันเวลาที่กำหนดเอาไว้ หลังจากสวดอุทิศส่วนกุศลเสร็จแล้วมักจะทำพิธีเผาให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งวัน

ในช่วงก่อนถึงกำหนดวันงานศพของสัตว์เลี้ยงนั้น เจ้าของจะต้องบรรจุศพของสัตว์เลี้ยงลงโลงตามขนาดของสัตว์อาจมีการวางข้าวของเครื่องใช้หรือของเล่นที่สัตว์เลี้ยงชอบลงไปด้วยพร้อมกับก้อนน้ำแข็งแห้งเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในโลงเอาไว้แล้วนำไปเก็บรักษายังสถานที่ที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้

แม้ว่าการดำเนินงานติดต่อทางวัดด้วยตนเองวิธีนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ แต่มีข้อจำกัดที่ว่าเถ้ากระดูกของสัตว์เลี้ยงอาจจะได้คืนมาไม่ครบและ/หรือมีกระดูกของสัตว์เลี้ยงของคนอื่นปะปนมาด้วยเนื่องจากการเผารวมกัน

ในขณะเดียวกันบริการรับเป็นธุระจัดงานศพสำหรับสัตว์เลี้ยงได้กลายเป็นธุรกิจหนึ่งที่กำลังโตวันโตคืนซึ่งทางบริษัทจะจัดงานพิธีอย่างมืออาชีพ สอดคล้องกับงบประมาณและตรงความต้องการของลูกค้า

วิธีนี้นอกจากจะให้ความสะดวกสบาย ไม่เสียเวลางานประจำอีกทั้งยังสามารถกำหนดวันจัดพิธีงานศพซึ่งปกติมักจะเก็บศพของสัตว์เลี้ยงไว้ 49 วันก่อนทำพิธีแล้วเจ้าของยังได้รับกระดูกครบถ้วน เพราะทางบริษัทจะจัดการเผาแบบแยกเดี่ยวโดยใช้เตาเผาที่มีขนาดพอเหมาะกับชนิดและประเภทของสัตว์

ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเลือกได้อีกว่าจะเก็บกระดูกใส่โถตั้งไว้ที่บ้านทั้งหมดหรือจะนำไปฝังดินไว้ในสวนที่บ้าน หรือจะนำกระดูกไปลอยในแม่น้ำ ทะเลหรือจะนำไปไว้ที่สุสานสัตว์ก็สุดแท้แต่ความต้องการของเจ้าของ ในกรณีที่ต้องการเก็บกระดูกไว้เพียงบางส่วนก็มี Accessory ประเภทแคปซูลบรรจุกระดูกแบบพกพาให้เลือกหลายแบบ

ธุรกิจการจัดงานศพให้สัตว์เลี้ยงที่เกิดขึ้นมานี้ เป็นการอุทิศส่วนกุศลตามความเชื่อทางศาสนาที่ดำเนินควบคู่ไปกับการหวังผลในทางจิตวิทยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ Pet Loss ได้เพราะหากเจ้าของยังคงโศกเศร้าอยู่สัตว์เลี้ยงที่จากไปคงหลับอย่างไม่เป็นสุข

อ่านเพิ่มเติม:
* นิตยสารผู้จัดการฉบับมิถุนายน 2546 คอลัมน์ Japan Walker และนิตยสาร Positioning ฉบับธันวาคม 2550 คอลัมน์ From Japan   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us