Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
"กฎหมู่" กลยุทธ์ปิดปากสื่อ             
โดย ติฟาฮา มุกตาร์
 


   
search resources

Social




เช้าวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่กุมาร เกตการ์ บรรณาธิการคร่ำสังเวียนของหนังสือพิมพ์ Loksatta กำลังเตรียมออกจากบ้านไปทำงาน ก็พบว่าบ้านถูกล้อมด้วยชายฉกรรจ์ร่วม 70 คน ชายเหล่านั้น นอกจากตะโกนกราดเกรี้ยว ยังระดมขว้างก้อนหินเข้ามาตามกระจกหน้าต่าง และโยนสาดยางมะตอยเข้ามาในบริเวณบ้านอีกหลายถังก่อนจะยอมสลายตัวไป การคุกคามชวนสะเทือนขวัญครั้งนี้ เป็นผลจากบทบรรณาธิการที่เกตการ์ตั้งคำถามกับโครงการสร้างอนุสาวรีย์ของรัฐมหาราชตระ

อนุสาวรีย์ที่ว่าสำคัญเช่นไร ทำไมสื่อจึงไม่มีสิทธิปฏิบัติหน้าที่ตั้งคำถามกับนโยบายรัฐที่จะให้คุณโทษแก่ประชาชน กรณีดังกล่าวอาจช่วยสะท้อนให้เราเห็นความจริงว่า แท้จริงแล้วในสังคมประชาธิปไตยอย่างอินเดีย สิทธิเสรีภาพของสื่อกำลังอยู่ในสถานะใด

ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลท้องถิ่นรัฐมหาราชตระประกาศแผนก่อสร้างอนุสาวรีย์ศิวะจีมหาราช วีรบุรุษของชาวมาราธาประชากรส่วนใหญ่ของรัฐมหาราชตระขึ้นที่อ่าวหน้าเมืองมุมไบ เมืองหลวงทางการเงินและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย โดยจะตั้งอยู่บนเกาะเทียมบริเวณมารีน ไดรฟ์ หันหน้าสู่ทะเลอาหรับ มีความสูง 309 ฟุต ซึ่งสูงกว่าเทพีเสรีภาพของสหรัฐอเมริกา 4 ฟุต คาดว่าจะใช้เงินงบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านรูปี (ประมาณ 800 ล้านบาท)

ศิวะจีมหาราช (Chhatrapati Shivaji Maharaj) เป็นกษัตริย์นักรบชาวฮินดูผู้กอบกู้เอกราชจากราชวงศ์โมกุล แล้วรวบรวมแผ่นดินของชาวมาราธาที่ตกอยู่ใต้อาณาจักรน้อยใหญ่ ก่อตั้งราชอาณาจักรมาราธาขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งดินแดนดังกล่าวก็คือรัฐมหาราชตระในปัจจุบัน นอกจากจะเข้มแข็งในการศึก ศิวะจีมหาราชยังได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม เป็นผู้นำคนแรกๆ ของอินเดียที่ย้ำถึงแนวคิดการปกครอง ตนเอง (swaraj หรือ self-rule) ต่อมาในช่วงที่อินเดียเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ศิวะจีมหาราชก็กลายเป็นวีรบุรุษที่บรรดานักต่อสู้เพื่อเอกราชถือเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจ

แม้ในเวทีการเมืองร่วมสมัย บรรดานักการเมืองต่างก็ยก ชูแนวคิดอุดมการณ์ของวีรบุรุษอมตะผู้นี้เป็นธงนำ เช่น พรรคศิวะเสนา พรรคการเมืองสำคัญของรัฐมหาราชตระก่อตั้งโดย Bal Thackeray นับแต่ปี 1966 ซึ่งปวารณาตัวเป็นขุนศึกของศิวะจียึดนโยบายปกป้องผลประโยชน์ของชาวมาราธา กีดกันคนจากรัฐอื่น บาง ยุคถึงกับใช้ความรุนแรงก่อกวนพ่อค้านักธุรกิจที่ไม่ได้มีเชื้อสายมาราธา พรรคมหาราชตระนวเนียร์มันเสนาซึ่งแยกตัวมาจากพรรคศิวะเสนา แม้จะไม่เน้นนโยบายชาตินิยมฮินดูอย่างศิวะเสนา แต่ก็ยึดนโยบาย เรียกคะแนนเสียงด้วยการโจมตีชนเชื้อสายอื่นเช่นกัน ล่าสุดเป้าที่ถูกโจมตีคือดาวค้างฟ้าอย่างอมิตาภ บัชจัน ซึ่งบ้านถูกนักเลงท้องถิ่นทุบทำลายเสียหาย ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นคนจากรัฐอุตตรประเทศที่มารุ่งเรืองอยู่ใต้ร่มเงาของชาวมาราธา แต่ไม่เคยรู้จักทดแทนบุญคุณ ส่วนพรรค Shiv Sangram แม้ว่าจะเป็นคู่แข่ง พรรคศิวะเสนาแต่ก็ชูธงความเป็นชาติมาราธานิยมไม่น้อยหน้ากัน

ในเมื่อศิวะจีมหาราชถูกบรรดาพรรคการเมือง ทั้งอิงและใช้เป็นธงนำในการเรียกคะแนนเสียงจากประชากรส่วนใหญ่ของรัฐมหาราชฯ จนภาพของศิวะจีแทบจะพ้องกับลัทธิชาตินิยมมาราธาและการกีดกันชนต่างรัฐต่างภาษา เช่นนี้แล้วอนุสาวรีย์ศิวะจีมหาราช ที่คาดว่าจะตระหง่านง้ำเหนืออ่าวมุมไบจะสื่อถึงอะไร จะกล่าวต้อนรับผู้มาเยือนโดยไม่เลือกเชื้อชาติภาษาเช่นเทพีเสรีภาพ หรือประกาศย้ำว่านี่คือดินแดนของมาราธาเพื่อชาวมาราธาเท่านั้น

บทบรรณาธิการของกุมาร เกตการ์ ต้นเหตุการคุกคามข่มขวัญนั้น ไม่ได้ตั้งคำถามที่อาจจะอ่อนไหวต่อความรู้สึกเหล่านี้เลย น้ำเสียงเขาอาจฟังดูเสียดสี แต่มีลีลา ไม่ได้จาบจ้วงล่วงเกิน เนื้อความทุกวรรคและบรรทัดตรงไปตรงมา เช่นเดียวกับชื่อบทความที่ว่า "บ้านเมืองหมดสิ้นปัญหาแล้ว มาสร้างอนุสาวรีย์กันเถิด" โดยการเกริ่นนำว่า "ดูเหมือนว่าปัญหามากมีของรัฐมหาราชตระจะได้รับการแก้ไขแล้ว ประชาชนไม่เพียงแต่อยู่ดีมีสุข ยังตั้งหน้ารออนาคตที่สดใส รัฐของเราชาวนาพากันปลอดหนี้ ไม่มีชาวนาฆ่าตัวตาย ไม่มีการตายจากโรคขาดสารอาหาร เด็กทุกคนได้เรียน หนังสือ แถมไม่มีคนว่างงาน..." เพียงแค่อ่านมาถึงวรรคนี้ หลายคนก็น่าจะฉุกใจว่า ในความเป็นจริงยังมีปัญหาอีกร้อยแปดที่เป็นเรื่องเร่งด่วนกว่าโครงการที่ใช้งบมหาศาลอย่างการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อแข่งขันกับเทพีเสรีภาพของสหรัฐฯ โดยเฉพาะปัญหาชาวนาฆ่าตัว ตายนั้น มหาราชตระเป็นรัฐที่มีสถิติสูงที่สุดในประเทศ โดยในช่วงปี 1997-2005 มีจำนวนเกือบ 29,000 คน รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาข้าวสารอาหารแห้งที่ขึ้นราคาอันเนื่องมาจากการขึ้นราคาน้ำมัน

นอกจากนี้เกตการ์ยังเสียดสีถึงการเมืองเรื่องอัตลักษณ์นิยม ที่นักการเมืองใช้เป็นกลยุทธ์เรียกคะแนนนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย อย่างการเปลี่ยนชื่อเมือง หรือสถานที่สำคัญ เพื่อสลัดอดีตยุคอาณานิคมมานิยม อัตลักษณ์ความเป็นมาราธา เช่น เปลี่ยนชื่อเมืองจาก บอมเบย์เป็นมุมไบ สถานีรถไฟวิคตอเรียเป็น Chhatra-pati Shivaji Terminus (CST) และสนามบินเป็น Chhatrapati Shivaji Maharaj ด้วยหวังว่าเมื่อคนปลาบปลื้มกับชื่อใหม่ เคลิ้มไปกับจินตนาการเรื่องอัตลักษณ์มาราธา แล้วจะลืมไปว่าสถานีรถไฟที่ว่าไม่ว่า จะชื่อวิคตอเรียหรือศิวะจี ตารางเดินรถก็ยังอลเวง รถไฟ ทุกตู้ทุกขบวนยังอยู่ในสภาพยัดทะนานเหมือนเดิม

เกตการ์เพียงแต่ตั้งคำถามและท้วงติงว่าในสภาพที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยปัญหารุมเร้า ควรหรือที่นักการเมืองตั้งหน้าเดินเกมเรียกคะแนนนิยม ทำโครงการยาลมยาหอมอย่างการสร้างอนุสาวรีย์ แทนที่จะยอมเสียเหงื่อมากกว่านี้กับการแก้ปัญหาให้ชาวไร่ฝ้ายที่เตรียมจะปลิดชีวิตหนีปัญหาอยู่ทุกชั่วโมง หรือแก้ปัญหาการว่างงานอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่โบ้ยความผิดว่าเป็นเพราะ คนจากรัฐอื่น ที่ไม่ใช่เลือดมาราธาไม่ได้พูดมาราตีทะลักเข้ามาแย่งงาน

แต่ผลคือการถูกคุกคาม และม็อบผู้บุกรุกก็ประกาศตัวชัดเจนว่าเป็นกลุ่ม Shiv Sangram หนำซ้ำวินายัค เม็ทเท ผู้นำและรองประธานของ Nationalist Congress หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลของรัฐมหาราชตระ ยังแสดงการสนับสนุนการกระทำดังกล่าวว่าเป็นเพียงการประท้วงต่อข้อเขียนที่จาบจ้วง ในวันรุ่งขึ้นสมาชิกกลุ่มม็อบดังกล่าว 12 คนถูกจับกุม แต่เม็ทเทไม่ได้ถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด แม้ว่าได้แสดงการหนุนหลังอย่างเปิดเผย ต่อมาเขาให้สัมภาษณ์นิตยสาร Frontline ว่า การคุกคามเช่นนั้นผิดก็จริง แต่สื่อควรจะไตร่ตรองก่อนเขียน "ในรัฐมหาราชตระ ศิวะจีมหาราชเสมือนเป็นเทพองค์หนึ่ง เมื่อมีใครเขียนหรือกล่าวสิ่งใดล่วงเกิน ย่อมจะทำให้สมาชิกกลุ่มของเราโกรธแค้นได้ และผลก็อาจจะเป็นอย่างที่เกิดขึ้น"

การอาศัยกฎหมู่คุกคามปิดปากและปรามความเห็นของฝ่ายอื่น นับวันจะยิ่งทวีความถี่ขึ้น หนังสือพิมพ์ Loksatta เองก็เคยถูกถล่มสำนักงานมาก่อนหน้านี้เมื่อสองปีก่อน ด้วยเหตุผลว่าไม่ได้ร่วมฉลองวันคล้ายวันเกิดของศิวะจีฯ ด้วยการตีพิมพ์ภาพขึ้นหน้าหนึ่งเช่นฉบับอื่น และเป้าการโจมตีก็ไม่ได้จำกัดวงแค่สื่อ ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้พิทักษ์กฎหมู่ก็ได้แก่บรรดากลุ่มสมาชิกพรรคการเมืองสำคัญๆ ในท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มก้อนสาขา ซึ่งล้วนแต่โยงใยกับพรรคการเมือง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และสถานการณ์เช่นนี้อาจคุแรงยิ่งขึ้นเมื่อใกล้ถึงการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า

"พวกนักการเมืองเอาแต่เล่นการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ โดยไม่ยอมพูดถึงรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง" เกตการ์ให้ความเห็นในการสัมภาษณ์นิตยสาร Frontline "เพราะอย่างนี้เขาถึงอยากปิดปากสื่อ ไม่ต้องการฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ อันที่จริงนี่คือรูปแบบหนึ่งของการก่อการร้าย"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us