|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2551
|
|
เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ แปล/เรียบเรียง
เรื่อง ดิอีโคโนมิสต์ 10 กรกฎาคม 2551
หลังจากหวาดวิตกว่าจะถูกจีนยกทัพบุกเข้ารุกรานมานานหลายทศวรรษ แต่ขณะนี้ไต้หวันกำลังเชิญชวนและยินดีที่จะถูกรุกรานโดยทัพนักท่องเที่ยวจากจีน
เที่ยวบินนั้นถูกระบุบนบอร์ดแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเที่ยวบินต่างๆ ที่สนามบินในกรุงปักกิ่งว่า เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ และเดินออกไปจากอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ผู้โดยสารชาวจีนต้องผ่านด่านศุลกากรและด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนที่จะขึ้นเครื่อง และก่อนที่เครื่องบินจะร่อนลงจอดที่กรุงไทเปของไต้หวัน ลูกเรือของสายการบิน Air China เที่ยวบินที่ 185 ประกาศเตือนผู้โดยสารว่า ห้ามนำผลไม้เข้าไปใน "ประเทศ" ที่พวกเขาจะไปเยือน ถ้ายังอยู่ในจีน คงไม่มีใครที่นั่นที่จะใจกล้าพอจะเรียกเที่ยวบินดังกล่าวว่าเป็นเที่ยวบินระหว่าง "ประเทศ" เป็นแน่ เพราะจีนนั้นถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
ความขัดแย้งที่มีมายาวนานระหว่างจีนกับไต้หวันนั้น รวม ไปถึงการพยายามจะเอาชนะคะคานกันแม้แต่เพียงถ้อยคำด้วย การเปิดเที่ยวบินเช่าเหมาลำที่บินตรงระหว่างจีนกับไต้หวันเป็นประจำเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา แม้จะนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย แต่การเล่นเกมบลัฟกันด้วยถ้อยคำแสดงให้เห็นว่า ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงห่างไกลกันมากเพียงใด
แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเที่ยวบิน "ตรง" ระหว่างจีนกับไต้หวัน แต่ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น ความกังวลด้านความมั่นคง และการขาดข้อตกลงการบินระดับมาตรฐานระหว่างจีนกับไต้หวันทำให้เที่ยวบิน "ตรง" นี้ ยังคงต้องบินอ้อมเป็นระยะทางไกลผ่านน่านฟ้าของฮ่องกงตามเดิม อย่างไรก็ตาม นับว่ายังดีกว่าที่เคยเป็น มาเมื่อก่อนนี้อยู่มาก ก่อนหน้านี้เที่ยวบินระหว่างจีนกับไต้หวัน จะต้องลงจอดและแวะพักที่ฮ่องกงหรือมาเก๊าด้วย แม้ว่าเที่ยวบิน "ตรง" ใหม่นี้ก็ยังคงทำให้ต้องเสียเวลาเพิ่มอีก 1 ชั่วโมงและเดินทางไกลขึ้นอีกเกือบ 1,000 กิโลเมตร สำหรับการเดินทางจากกรุงปักกิ่งไปยังกรุงไทเปก็ตาม
การมาถึงไต้หวันของเที่ยวบินตรงเที่ยวแรกจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ได้รับยกย่องจากทั้งจีนและไต้หวันให้เป็นความ ก้าวหน้าครั้งใหญ่ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย เที่ยวบินเที่ยว แรกที่เดินทางมาถึงกรุงไทเปได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยพิธีฉีดน้ำโปรยปรายเป็นสายๆ จากเครื่องฉีดน้ำดับเพลิงของสนามบิน ประดาคนใหญ่คนโตทั้งของไต้หวันและจีน ต่างพร่ำกล่าว ถึงความดีงามอันเลิศเลอของการเปิดเที่ยวบินประวัติศาสตร์ครั้งนี้
Lien Chan อดีตประธานพรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintan: KMT) ของไต้หวันกล่าวว่า "เที่ยวบินตรงนี้จะทำให้คนทั่วทั้งโลกรู้สึกภาคภูมิใจในคนจีนชั่วรุ่นนี้" Wang Yi เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ จีน ที่จัดการเกี่ยวกับประเด็นไต้หวัน กล่าวเมื่อเดินทางไปส่งเที่ยวบินตรงเที่ยวแรกออกจากปักกิ่งในทำนองเกี่ยวกับ "การเริ่มต้นใหม่" และ "โอกาสอันหาได้ยากของการพัฒนา"
ไม่ว่าจะพยายามประโคมโหมโอ่ความยิ่งใหญ่อย่างไรก็ตาม แต่การเริ่มเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างจีนกับไต้หวันครั้งนี้เป็นเพียงความคืบหน้าอีกก้าวหนึ่งเท่านั้น เที่ยวบินลักษณะนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อนแล้ว ในช่วงวันหยุดตามประเพณีจีนบางเทศกาล และมีการเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่นั้นมา แต่อุปสรรคเหล่านั้นก็ไม่อาจกั้นขวางหรือเพลาความกระตือรือร้นของนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ลงได้ พวกเขาต่างปรารถนา ที่จะมีโอกาสได้เดินทางมาเห็นด้วยตาตนเอง ถึงสถานที่ที่พวกเขา เพียงแต่เคยได้ยินการกล่าวขวัญถึงไม่ว่าจะในทางดีหรือไม่ดี มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเกือบ 700 คนที่เดินทางไปยังไต้หวันในวันสุด สัปดาห์แรกของการเปิดเที่ยวบินตรง พวกเขาใช้เวลาเพียงเล็กน้อย ในการเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ในไทเป ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผ่านการเลือกสรรคัดกรองอย่างระมัดระวังแล้วจากรัฐบาลของทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวยังส่วนอื่นๆ ของเกาะไต้หวัน สถานที่ แห่งหนึ่งที่อ่อนไหวและไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไปเยือนก็คือ อนุสรณ์สถานเจียงไคเช็ค (Chiang Kai-shek) อดีตผู้นำ พรรคก๊กมินตั๋งและศัตรูตัวฉกาจของประธานเหมา (Mao Zedong) เจียงไคเช็คนำรัฐบาลของเขาหนีมายังเกาะไต้หวันในปี 1949 หลังจากที่เขาพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองในจีน
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจากจีนยังถูกห้ามไม่ให้แตกออกจากกลุ่มของตนอย่างเด็ดขาด บริษัทท่องเที่ยวไต้หวันชี้ว่า นี่คือการสะท้อนความวิตกทั้งของจีนและไต้หวัน จีนไม่ต้องการเสี่ยงที่จะให้คนของตนแปรพักตร์ไปเข้ากับไต้หวัน ส่วนไต้หวันก็ไม่ต้องการให้สายลับจีนที่อาจแฝงตัวมาในคราบนักท่องเที่ยว สามารถเข้าไปในสถานที่ที่ไม่ควรเข้าไปได้ตามสบาย อย่างไรก็ตาม สถานที่หนึ่งที่เป็นข้อยกเว้นก็คือ ห้างสรรพสินค้า Johny Tsai ผู้จัดการ บริษัทท่องเที่ยว China Times Travel Service บอกว่า ลูกทัวร์ชาวจีนกว่าร้อยคนของเขาได้รับอนุญาตให้ไปไหน ก็ได้ตามสบายในห้างสรรพสินค้าที่เมือง Kaohsiung ในภาคใต้ของไต้หวัน และสามารถใช้จ่ายเงิน ได้อย่างอิสรเสรี
สำหรับรัฐบาลที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ของไต้หวัน ซึ่งมาจากพรรค ก๊กมินตั๋ง นักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่มีความสำคัญไม่แพ้การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนกับไต้หวันตั้งแต่ขึ้นครองอำนาจในเดือนพฤษภาคม ประธานาธิบดี Ma Ying-jeou ของไต้หวันถูกกดดันให้ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าอัตราการเติบโตของไต้หวันจะยังคงอยู่เหนือระดับ 4% และเงินเฟ้อ ยังต่ำกว่านั้น แต่ราคาหุ้นยังคงร่วงลงและมีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันที่ถ่างกว้างขึ้น และเค้าลางของการเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน ราคาเชื้อเพลิงที่แพงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้แทบไม่เหลือช่องว่างให้ Ma ได้ขยับตัว การหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวจีนผู้ร่ำรวยและใช้เงินอย่างมือเติบ จึงดูเหมือนจะกลายเป็นทางเลือกที่เหลือเพียงทางเดียว นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดการณ์ว่า รายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวชาวจีนจะสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตของไต้หวันได้ถึง 0.5% ต่อปีเลยทีเดียว
แต่อีกหลายคนก็ยังสงสัย Tsai ผู้จัดการบริษัทท่องเที่ยวไต้หวันที่นำนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามากับเที่ยวบินตรงเที่ยวแรกสงสัยว่า จะสามารถคัดสรรเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ร่ำรวยและมีระดับอย่างที่เขาทำได้ในเที่ยวบินแรกๆ ที่นำนักท่องเที่ยวชาวจีนมาสู่ไต้หวันได้อีกหรือไม่ในอนาคต ส่วน Chen Wei Lin จากพรรคฝ่ายค้าน Democratic Progressive Party (DPP) เห็นว่า ไม่มีใครจะบอกได้ว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะมาจากการท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่จะมีมากน้อยเท่าใด และวิจารณ์ Ma ว่า มั่นใจเกินไปที่ให้สัญญากับชาวไต้หวันว่า นักท่องเที่ยวจากจีนจะช่วยให้เศรษฐกิจของไต้หวันอยู่รอด Lin ยังตำหนิ Ma ที่ไม่ยอมเปิดเที่ยวบินตรงขนส่งสินค้าไปพร้อมกันด้วย ซึ่งเขาระบุว่าเป็นความล้มเหลว เพราะ Lin เชื่อว่า เที่ยวบินขนส่ง สินค้าจะสร้างกำไรให้มากกว่าสำหรับไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม การที่จีนพูดถึง "การเริ่มต้นใหม่" กับไต้หวัน ก็ไม่ใช่ว่าจะเกินจริงนัก หลังจากที่ต้องทนกับ Chen Shui-bian อดีตประธานาธิบดีคนก่อนของไต้หวันจากพรรค DPP ซึ่งกลายไปเป็นฝ่ายค้านแล้วตอนนี้มานานถึง 8 ปี โดยมีการปะทะคารมกันตลอดมาระหว่างจีนกับ Chen จีนก็รู้สึกยินดีไม่น้อย ที่ได้เห็น พรรคก๊กมินตั๋งกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งในเดือนมีนาคม เมื่อ Ma จากก๊กมินตั๋งชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน
ตอนที่ Ma ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีนั้น จีนกำลังเจอมรสุมหลายลูก ทั้งความไม่สงบนองเลือดในทิเบต ซึ่งทำให้จีนต้องตึงเครียดกับประชาคมโลก ซึ่งยังคงไม่พอใจปัญหาการละเมิด สิทธิมนุษยชนในจีนอยู่ รวมทั้งไม่พอใจที่จีนมีสัมพันธ์กับรัฐบาลที่ประชาคมโลกรังเกียจอย่างพม่า ซูดาน และประเทศอื่นๆ และยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับความเหมาะสมที่จีนจะเป็นเจ้าภาพมหกรรม กีฬาโอลิมปิก
แม้ว่าจีนจะได้รับคำชมเชยในการจัดการกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนเมื่อเดือนมีนาคม แต่ในด้านกิจการระหว่างประเทศแล้ว จีนกำลังต้องการอย่างยิ่งยวดให้มีบางสิ่งที่เดินไปถูกทาง และดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ของจีนกับไต้หวันในยามนี้จะเดินไปผิดทางน้อยที่สุด
|
|
|
|
|