|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2551
|
|
สภาธุรกิจไทย-ลาว (THAILAND-LAOS BUSINESS CONSIL) ได้วางบทบาทตัวเองเป็นสะพานเชื่อมการค้าของทั้งสองประเทศให้นักธุรกิจได้โคจรมาพบกัน โดยเฉพาะมือใหม่ที่ยังต้องเข้าใจกฎระเบียบการลงทุน รวมไปถึงการเรียนรู้นิสัยใจคอของคนลาวว่าคิดอย่างไร
บทบาทหน้าที่ส่วนหนึ่งของสภาธุรกิจไทย-ลาว เพื่อเข้าไปร่วมในกิจกรรมในกรอบของการค้าชายแดน กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง GMS กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ACMECS เพราะกรอบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว ด้วย
ศักดิ์ชัย วงศ์มาลาสิทธิ์ ประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว บอกว่า การก่อตั้งสภาธุรกิจฯ มีเหตุผลว่า สปป.ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่ชายแดนติดต่อกับประเทศไทย มีประเพณี วัฒนธรรม ภาษาพูด ภาษาเขียนเหมือนกัน เป็นประเทศที่มีทรัพยากร ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 70 เขื่อนทั่วประเทศ และได้รับสิทธิพิเศษด้านศุลกากร GSP จึงเหมาะกับการตั้งฐานการผลิตสินค้าในลาว เพื่อส่งออกไปประเทศที่มีตลาดใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น จีน สภาธุรกิจฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 4 เมษายน 2550 หรือ 1 ปีที่ผ่านมา โดยความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสถานทูตไทยในลาว ร่วมกับกรมส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนภายในและต่างประเทศ สปป.ลาว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ไทย-ลาว และเป็นกลไกคู่ขนานกับภาครัฐของทั้งสองประเทศ และช่วยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ
สภาธุรกิจฯ ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) ปัจจุบันสภาธุรกิจฯ มีสมาชิก 140 ราย
นอกจากส่งเสริมการลงทุนในลาวแล้ว สภาธุรกิจฯ ยังจัดให้มีการเดินทางพบปะธุรกิจ อย่างเช่น จัดโครงการทัวร์ธุรกิจ ฉลอง 75 ปี หอการค้าไทย สำรวจเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเส้นทาง R3a: ไทย-ลาว-จีนตอนใต้ (คุนหมิง) ตามเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงราย-เชียงของ/ ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-เมืองลา-เชียงรุ่ง-คุณหมิง ระหว่างวันที่ 24-28 กันยายนนี้
การเดินทางในครั้งนี้ เพื่อสำรวจความก้าวหน้าและศักยภาพของระบบคมนาคมขนส่งทางบก ศึกษาท่าเรือเชียงรุ่ง สิบสองปันนา และพูดคุยกับผู้บริหารเอกชน และภาครัฐ
การเรียนรู้ตลาดรอบด้านเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ แม้แต่กฎระเบียบต่างๆ ที่ดูเหมือนว่าจะง่าย แต่ถ้าทำผิดกฎจะกลายเป็นคนที่ขาดความน่าเชื่อถือและมีผลต่อธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะในลาว ที่ประชาชนจะยึดมั่นคำพูดหรือคำสัญญา ซึ่งนักธุรกิจหรือผู้บริหารภาครัฐที่อยู่ประจำ สปป.ลาว จะรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี
|
|
|
|
|