|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2551
|
 |

อาจมีหลายคนที่เกิดอาการตกใจเล็กน้อย เมื่อได้เห็นข่าวซิคเว่ เบรกเก้ ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) โดยจะมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กันยายนที่จะถึงนี้
เพราะต้องยอมรับว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมาชื่อของซิคเว่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของ DTAC ด้วยลักษณะการทำงานอย่างถึงลูกถึงคน การลงไปสัมผัสกับผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนทุกแขนงสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง บทบาทในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซิคเว่ เขาพยายามผ่องถ่ายความรับผิดชอบต่างๆ ลงไปสู่ผู้บริหารระดับรองๆ ลงมาหลายคน รวมถึงเพิ่มบทบาทให้กับผู้บริหารเหล่านี้ อีกทั้งยังพยายามสร้างวัฒนธรรมให้กับคนและองค์กรของ DTAC ให้มองเห็นถึงเป้าหมายเดียวกัน จนสามารถเรียกได้อย่างเต็มปากว่าเป็นองค์กรของมืออาชีพ
แต่ในความรู้สึกของคนอีกหลายส่วนยังพยายามผูกตัวตนของเขาไว้กับบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความจริงการลาออกจาก DTAC ของซิคเว่ ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งแต่อย่างใด ตรงกันข้าม เขาได้รับการโปรโมตให้ขึ้นไปรับบทบาทที่กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยไปรับตำแหน่ง Head of Telenor Asia ของกลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ DTAC โดยจะดูแลรับผิดชอบธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศปากีสถาน บังกลาเทศ มาเลเซีย และประเทศไทย
และเขายังมีตำแหน่งเป็นกรรมการของ DTAC อยู่ ส่วนคนที่จะมารับตำแหน่งแทนเขา เทเลนอร์ได้คัดเลือก โทเร จอห์นเซ่น ซึ่งได้ร่วมงานกับกลุ่มเทเลนอร์มาเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยเคยดูแลธุรกิจในหลายประเทศของเทเลนอร์ ทั้งในทวีปยุโรป เอเชียกลาง และเอเชีย และตำแหน่งสุดท้ายเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของเทเลนอร์ ปากีสถาน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ถึงปัจจุบัน ขณะที่ก่อนหน้านั้น ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทดิจิ เทเลคอมมูนิเคชั่น ประเทศมาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม หากวัดจากปฏิกิริยาของนักลงทุนแล้ว การปรับเปลี่ยนผู้บริหารของ DTAC ครั้งนี้ก็ไม่เป็นภาพลบ เพราะราคาหุ้นของ DTAC ในวันจันทร์ที่ 7 และอังคารที่ 8 กรกฎาคม หลังรับรู้การลาออกของซิคเว่อย่างเป็นทางการแล้ว ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่ปิดตลาดที่ 49.25 บาท ในวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม ได้มาปิดที่ 51 บาท ในวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม และระดับราคาปิดดังกล่าว เป็นระดับสูงสุดของวัน
ส่วนผลงานทิ้งท้ายในตำแหน่งของซิคเว่ นั่นคือการประกาศผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2551 ซึ่ง DTAC มีกำไรสุทธิ 6,251.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 100% จากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีกำไร 2,891.79 ล้านบาท และเป็นระดับกำไรที่สูงกว่าเป้าหมายที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์เคยประเมินไว้ด้วยซ้ำ
หลังจากนี้ไปเมื่อ โทเร จอห์นเซ่น ได้เข้ามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กันยายน ผลการดำเนินงานของ DTAC ในงวดถัดๆ ไป จะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า DTAC เป็นองค์กรมืออาชีพ สมดังที่ซิคเว่ได้พยายามปูรากฐานเอาไว้ ไม่ใช่องค์กรที่ติดอยู่กับตัวบุคคล อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดในอดีต
|
|
 |
|
|