Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
บัวหลวงเอสเอ็มอีอายุ 10 ปีแล้ว             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
SMEs
Loan




ตัวเลขยอดเงินสินเชื่อที่ธนาคารกรุงเทพปล่อยให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 38,000 ล้านบาท ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ช่างน้อยนิดเมื่อเทียบกับทรัพย์สินของธนาคารที่เป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาแบงก์บัวหลวงแห่งนี้ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมสร้างเครือข่าย ขยายวงกว้างออกไป โดยเฉพาะในงานครบรอบ 10 ปี ที่มีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนามากกว่าพันรายตลอดหนึ่งวันเต็ม และยังมีกลุ่มสมาชิกร่วมจัดนิทรรศการ

การจัดงานเอสเอ็มอีของธนาคารกรุงเทพทุกครั้งมีขาประจำอยู่ 2 คน คนแรก ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ทำพิธีเปิดงานตามธรรมเนียม และโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ที่จะคลุกคลีกับธุรกิจเอสเอ็มอี และร่วมเป็นวิทยากร นอกเหนือจากเป็นนักพยากรณ์เศรษฐกิจของไทยบ้างเป็นบางครั้ง

แต่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะร่วมฟังความเห็นของโฆสิตบ่อยครั้ง เหมือนดังเช่นในงานครบรอบ 10 ปี เขาพูดในหัวข้อการปรับตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีในยุคข้าวยากหมากแพง

เขาบอกว่า วิกฤตเศรษฐกิจผู้ประกอบการไทยเจอและผ่านมาแล้ว เมื่อปี 2540 เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เศรษฐกิจไทยติดลบ 4% และปี 2541 ติดลบเพิ่มเป็น 10.5%

ส่วนปี 2551 เป็นวิกฤติที่เกิดจากภายนอกแต่ประเทศไทย ก็ยังมีอัตราการเติบโตที่ยังรับได้ในครึ่งปีหลัง

ผู้ประกอบการได้รับบทเรียนและได้ผ่านความยากลำบากมาแล้ว และธนาคารก็ได้เรียนรู้และศึกษาวิธีการปรับตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีเช่นเดียวกัน

"การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนสามารถทำต่อไปได้เลยทันที โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะ 2 สิ่งนี้สามารถแยกออกจากกันได้" โฆษิตแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

โฆษิตบอกว่า อาวุธสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจไปรอดได้คือ "องค์ความรู้" เพราะความรู้จะช่วยสร้างมาตรฐานให้สินค้าและบริการเกิดการยอมรับและความรู้ จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการนำความรู้สร้างเอกลักษณ์หรือแบรนด์

ความเห็นของโฆษิตที่บอกเล่าให้กลุ่มผู้ประกอบการฟัง ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่เขาเคยพูดมาแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2550 เขาได้ตอกย้ำเรื่องขององค์ความรู้ ยังเป็นความคิดที่ยังคงทันสมัย ที่ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยยังคงต้องพัฒนาไปอีกหลายปี

การสนับสนุนสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเน้นผลักดันธุรกิจเอสเอ็มอีที่สร้างธุรกิจและบริการใหม่ๆ รวมถึงธุรกิจประหยัดพลังงาน หรือพัฒนาพลังงานทดแทน อิงกับกระแสโลกที่เกิดขึ้นในภาวะปัจจุบันที่ตื่นตัวเรื่องโลกร้อน

การบริหารดูแลเอสเอ็มอีของธนาคาร ได้แบ่งลูกค้าออกเป็น 2 ส่วน ยึดตามภูมิศาสตร์ ส่วนแรกเป็นลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่นครหลวง ที่มีวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ ผู้อำนวยการลูกค้าธุรกิจรายกลางนครหลวงทำหน้าที่ดูแล และส่วนที่สอง ลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดจะมีปิยะ ซอโสตถิกุล ให้ความช่วยเหลือและดูแล

การจัดตั้งชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอี เมื่อปี 2546 ขึ้นมา เป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่แบงก์บัวหลวงต้องการขยายและสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกด้วยกัน เพื่อประโยชน์ของกลุ่มสมาชิกที่จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือร่วมมือกันทางธุรกิจในอนาคต และปัจจุบันมีสมาชิก 600 ราย

ตลอดเส้นทาง 10 ปี บนถนนเอสเอ็มอี เป็นบทพิสูจน์ว่าธนาคารกรุงเทพยังคงเจาะตลาดเอสเอ็มอีต่อไปและคาดหวังว่าจะเป็นแบงก์ที่เข้าไปอยู่ในใจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเช่นเดียวกับสโลแกนของธนาคารที่บอกว่าเป็น "เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us