Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2551
"เงินเฟ้อยังดีกว่าเงินฝืด"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด

   
search resources

เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น, บจก.
ทศ จิราธิวัฒน์
Economics




"โดยส่วนตัว ผมคิดว่าทั่วๆ ไปนั้น เงินเฟ้อดีกว่าเงินฝืด สำหรับเรานะ คือมีเงินเฟ้อหน่อยๆ นี่ ดีกว่าไม่มีเงินเฟ้อเลย ดังนั้น ผมยังแปลกใจว่าบ้านเรา ตลอดเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ช่วงปี 1997 ที่เราลอยตัวค่าเงิน จนถึงช่วงหลังๆ นี้ อัตราเงินเฟ้อต่ำมาก ต่ำเกินไปด้วยซ้ำ 2-3% แล้วทุกอย่างก็โดนควบคุมหมด ผมว่าแบบนี้ไม่น่าจะดี ผมว่ามีเงินเฟ้อหน่อยจะดี สัก 4-5% หรือ 5-6% ผมว่าน่าจะดีกว่า แต่แน่นอน ถ้ามันไปแบบเวียดนามก็ไม่เอา เป็น 20% อย่างนี้ก็ลำบากแน่นอน อันนั้นคือ high inflation

แต่ที่สำคัญคือ รายได้ต้องขึ้นด้วย ความจริงผมเชียร์นะ เรื่องอาหาร เรื่องเกษตร สินค้าข้าว ควรจะขึ้นให้เยอะด้วย เพราะว่า คนของเรา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาเสียเยอะ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลเลยที่พวกเรา คนในเมืองไปกดราคาเขา แต่ต้องหวังว่าราคาจะต้องไปถึงมือเขานะ ไม่ใช่ว่าไม่ถึงมือเขา เพราะว่าเราต้องการเพิ่มรายได้ของคนใช่ไหม เพราะว่าถ้าราคาสินค้าไม่ขึ้นแล้ว รายได้ของพวกเขาชาวไร่ชาวนาจะขึ้นได้อย่างไร เพราะว่า ถ้าราคาขึ้น เขาได้รับเต็มๆ ประโยชน์สูงมากเลย เพราะรายได้เขาจะขึ้นเร็วมาก ขึ้นเยอะ อันนี้จากฐานต่ำ ไปดูมันก็เลยเหมือนขึ้นเยอะ แต่ไปดูแล้วมันก็ยังต่ำอยู่ดี เพราะฉะนั้นเขาจะต้องขึ้นอีก เยอะมาก จึงจะถือว่าเขาจะมีความเป็นอยู่ที่ดี นั่นคือคนส่วนใหญ่ ของประเทศ เราต้องสนับสนุนตรงนี้

แต่แน่นอน คนในเมืองอย่างพวกเรา ทำงานออฟฟิศ มันก็มีผลกระทบบ้าง เพราะว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงขึ้น แต่ถ้าหากเงินเดือนเราสูงขึ้นด้วย ทุกคนก็จะดีขึ้นหมด

เพราะฉะนั้นเรื่องเงินเฟ้อตอนนี้ โดยเฉพาะถ้ามาจากสินค้า เกษตรแล้ว ผมดีใจด้วยซ้ำ แต่ถ้ามันมาจากค่าเหล็ก ค่าน้ำมันแล้ว แน่นอน มันต้องเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันลด แล้วก็เพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น"

คำกล่าวข้างต้น เป็นการตอบคำถามผู้สื่อข่าวของทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ที่ต้องการให้เขาแสดงทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ ภายในงานแถลงข่าวประจำปีของ CRC เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา

เป็นการแถลงข่าวถึงผลการดำเนินงานปี 2550 และครึ่งแรกของปี 2551 รวมถึงแผนการขยายงานของ CRC ในปีนี้

คำถามนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ทศได้ใช้เวลาในการแถลงเรื่องราวต่างๆ ของ CRC ไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง และการตอบคำถามของเขาครั้งนี้ ดูเคร่งเครียดและจริงจังมากกว่าตอนที่เขาพูดถึงเรื่องของ CRC เสียอีก

สถานการณ์เงินเฟ้อได้กลายเป็นข้อขัดแย้งทางความคิดของ คนในวงการธุรกิจ และนักวิชาการทางด้านเศรษฐกิจกับหน่วยงาน ภาครัฐตลอดเวลา 1 เดือนเศษที่ผ่านมา โดยเฉพาะก่อนการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กบง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 16 กรกฎาคม

สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้ง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย ได้ออกมาเป็นแกนนำในการแสดงทัศนะไม่เห็นด้วยกับ กบง.ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมากในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายนที่ผ่านมา ถึงระดับ 7.6% และ 8.9% ตามลำดับ

เหตุผลที่ทั้ง 2 ท่านยกขึ้นมาอ้าง เนื่องจากมองว่าอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น มีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น กดดันให้ราคาสินค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น (cost puch) ไม่ใช่เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าที่สูงขึ้น (demand pull) ดังนั้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดการหยุดการใช้จ่าย จนสถานการณ์กลายเป็นภาวะเงินฝืด ซึ่งแก้ไขยากกว่า

ทางที่ดี ทางการควรหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงดูด การลงทุนให้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อในขณะนี้ได้ดีที่สุด

แต่ กบง.มองว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมเงินเฟ้อ รวมถึงจะมีผลให้ค่าเงินบาทซึ่งกำลังอ่อนตัวลงอย่างมาก แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจทำให้เงินลงทุนต่างประเทศ ที่กำลังไหลออกจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ชะลอตัวลง ดังนั้น แม้ว่าจะมีผู้คัดค้านจากหลายฝ่าย แต่ในที่สุด กบง.ก็ได้ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอีก 0.25% เป็น 3.5% ในการประชุมวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ทศถือเป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ออกมาแสดงทัศนะในทำนองที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการควบคุมเงินเฟ้อของทางการ เพราะ CRC ถือเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ดังนั้นย่อมต้อง ได้รับผลกระทบโดยตรง หากเกิดภาวะเงินฝืดขึ้นมา เพราะผู้บริโภค หยุดการใช้จ่าย

ในการแถลงข่าวครั้งเดียวกัน ช่วงหนึ่งที่ผู้สื่อข่าวได้ถามเกี่ยวกับอำนาจซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบัน ซึ่งทศได้ให้คำตอบที่ชัดเจนว่า

"อำนาจซื้อที่แท้จริง เริ่มน่าเป็นห่วง เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า สินค้า ก็คือค่าใช้จ่ายมันสูงขึ้น ผมว่าผมต้องถามพวกเรามากกว่า ว่ารู้สึกอย่างไร รายรับ รายจ่ายเป็นอย่างไร สำคัญคือโดยทั่วไป รายจ่ายสูงขึ้น ค่าเดินทาง ค่าอะไรก็แล้วแต่เพิ่มขึ้น อย่างที่ผมเรียนไปแล้ว ถ้าค่าอาหารสูงขึ้น ในแง่ภาพรวมทั้งประเทศ ผมว่าดีขึ้น ถ้าเงินเหล่านั้นไปสู่ชาวไร่ชาวนาจริงๆ

แต่สำคัญคือเรื่องของรายรับ รายรับของเราขึ้นหรือเปล่า ซึ่งผมเชื่อว่าเศรษฐกิจมันน่าจะโตกว่านี้ ถ้ามันไม่มีปัญหาเรื่องบ้านเมืองของเราเอง ถ้าเราแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ เศรษฐกิจก็โตได้ พอเราโตได้ รายได้เราก็ต้องขึ้น ถ้าเกิดรายได้ขึ้น ก็จะครอบ คลุมรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ทุกคนก็จะไม่เดือดร้อน

แต่ถ้ารายจ่ายขึ้น เศรษฐกิจไม่ดี แล้วรายได้ก็ไม่ขึ้น อย่างนี้ก็จะเดือดร้อน ณ วันนี้ ผมเชื่อว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เรายังบอกไม่ได้ว่าจะไปทางไหน ขึ้นอยู่กับการจัดการเรื่องภายในของเราเสียมากเลย ถ้าตรงนั้นของเราเรียบร้อย ไม่มีปัญหากัน ผมคิดว่าเศรษฐกิจน่าจะไป แล้วก็ไปได้ดี รายได้ก็จะขึ้น กำลังซื้อก็จะไม่กระเทือน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us