Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
อดีตนักเรียนทุนหลวง ทำถังแก๊สขาย             
 


   
search resources

สหมิตรถังแก๊ส, บมจ.
สุธรรม เอกะหิตานนท์
Import-Export
Energy




"สหมิตรถังแก๊สต้องการสร้างภาพพจน์ในสายตาต่างประเทศ" สุธรรม เอกะหิตานนท เถ้าแกใหญ่บอกกับ "ผู้จัดการ" ถึงเหตุผลที่ต้องการเข้าเป็นบริษัทในตลาดหุ้น

เวลานี้การส่งออกของสหมิตรถังแก๊สอยู่ในสัดส่วนประมาณ 22% ของยอดขายปีละกว่า 200 ล้านบาท เป้าหมายช่วงหลังปีหน้าเป็นต้นไป สัดส่วนการส่งออกต้องไปให้ถึงปีละ 30% ของยอดขายให้ได้

นั่นแสดงว่ายอดขายหลักประมาณ 70% ยังคงอยู่ในตลาดในประเทศ

ผู้ผลิตถังแก๊สมีทั้งหมด 4 ราย ประกอบด้วย สหมิตร ชื่นสิริ อุตสาหกรรมถังแก๊สและแสงอุทัยวิศวกรรม แต่ละรายมีกำลังผลิตเดือนละระหว่าง 4-50,000 ใบ

ถังแก๊สที่ผลิตกันมีหลายขนาดตั้งแต่เล็กที่สุด 1 กิโลกรัมไปจนถึงถังใหญ่ขนาด 200 ลิตรถังขนาดที่ใช้กันในครัวเรือและร้านอาหารขนาด 15 และ 48 กิโลกรัมจะเป็นขนาดที่มีการผลิตกันมากที่สุดเนื่องจากการขยายตัวความต้องการของครัวเรือนและร้านอาหารปีละ 30%

"ตลาดของเราอยู่ที่ขนาด 15 และ 48 กิโลกรัมเป็นหลัก" สุธรรมพูดถึงช่องทางการผลิตเพื่อตลาดของสหมิตร

การผลิตถังขนาด 48 กิโลกรัมจะได้กำไรดีกว่าถัง 15 กิโลกรัมกว่า 1 เท่าตัว กล่าวคือราคาถังเล็กจะตกราว ๆ 400-500 บาทเทียบกับถังใหญ่จะตกราว ๆ 1,000 บาท เนื่องจากการผลิตถังใหญ่กว่าใช้เนื้อเหล็กมากกว่าไม่มากนัก

"เราไม่อยากเข้าไปที่ขนาดถังใหญ่กว่า 48 กิโลกรัมเพราะว่าตลาดมันเล็ก ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานหรือไม่ก็ปั๊มแก๊สเขาพูดถึงเหตุผลอีกด้านหนึ่งที่เลือกช่องทางเน้นถังขนาดใช้ครัวเรือนและร้านอาหาร

ถังขนาดเล็ก ว่ากันจริงแล้ว มีโอกาสเข้าตลาดต่างประเทศได้ง่ายกว่า เนื่องจากความต้องการมีมาก ผู้บริโภคสามารถนำไปใช้หุงต้มในโอกาสต่าง ๆ กัน ปิกนิก การจัดปาร์ตี้หรือแม้แต่ในครัวเรือน

สหมิตรจึงมีตลาดต่างประเทศรองรับมาก การส่งออกใช้วิธีผลิตแบบแยกส่วนแทนที่จะส่งเข้าไปแบบสำเร็จรูปเนื่องจากภาษีนำเข้าจะถูกกว่ามาก ยกตัวอย่างในมาเลเซียคิดภาษานำเข้าถังแก๊สขนาด 15 กิโลกรัมสำเร็จรูปสูงถึง 15 เหรียญริงกิต

"ราคาส่งออกแบบแยกส่วนเมื่อคิดออกมาแล้วจะขายได้กำไรดีกว่าราคาในประเทศมาก" สุธรรมพูดถึงผลดีของการพึ่งพิงตลาดส่งออก

สุธรรมเป็นคนมีวิชั่นทางการตลาด แม้เขาจะมีพื้นฐานเป็นวิศวกร มีประสบการณ์ทางการศึกษาที่ดีเยี่ยมถึงขั้นเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ทุนอานันทมหิดลเรียนวิศวกรรมระดับปริญญาดทที่เยอรมนีเมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1960 ก่อนที่เขาจะกลับมาทำงานเป็นวิศวกรที่ปูนซิเมนต์ไทยอยู่หลายปี และฝากผลงานที่ลือลั่นในการฟื้นกิจการเหล็กกรุงเทพจากขาดทุนมาเป็นกำไรได้ในเวลาเพียง 2 ปี ก่อนที่จะลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว

เขาเริ่มธุรกิจทำถังแก๊สเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน โดยมาที่หลังอุตสาหกรรมถังแก๊สที่เข้ามาลงทุนทำธุรกิจนี้ตั้งแต่เมื่อ 22 ปีก่อน ซึ่งสมัยนั้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกทั้งหมดเนื่องจากตลาดในประเทศยังไม่มี

สหมิตรถังแก๊สของสุธรรมเริ่มการผลิตด้วยกำลังผลิตปีละ 5,000 ใบต่อเดือนก่อนที่จะค่อย ๆ เพิ่มปีละ 50% จนเป็นเดือนละ 40,000 ใบในเวลานี้หรือกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสมัย 10 ปีก่อนถึง 8 เท่า

มันเป็นการเติบโตของยอดขายที่ดึงให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นตาม อุตสาหกรรมนี้มีผู้ผลิตน้อยรายเพียง 4 บริษัทเท่านั้นขณะที่ผู้ซื้อมี 7 รายคือ ปตท. เชลล์ คาลเท็กซ์ เอสโซ่ อุตสาหกรรมแก๊สสยามเวิลด์แก๊ส และยูนิคแก๊สแอนด์ปิโตเคมีคัลส์

การแข่งขันจึงมีน้อยมกเพราะว่ากันจริงแล้วกำลังการผลิตของแต่ละเจ้าก็เต็มที่อยู่แล้ว จุดที่สำคัญในการวัดประสิทธิภาพมานจึงไม่ใช่ยอดขาย แต่อยู่ที่ความสามารถในการทำกำไร

สหมิตรของสุธรรมเน้นขายถังเล็กขนาด 15 และ 48 กิโลกรัม จากรายงานของบริษัทระบุว่ามีมาร์จินอยู่ประมาณ 10-15% เมื่อบวกอีก 7% จากการคืนภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิต ทำให้มาร์จินที่แท้จริงเพิ่มเป็นประมาณ 17-22%

มันเป็นผลตอบแทนระดับปกติของการลงทุนทางอุตสาหกรรมทั่วไป เพียงแต่ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมถังแก๊สมีน้อยมากจาปริมาณความต้องการของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 30% บวกกับการแข่งขันด้านตัดราคาขายไม่มี

"จะมีก็แต่ราคาวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าถึง 70% ของการผลิตและที่สำคัญก็คือแผ่นเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามีสัดส่วนถึง 50% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ต้องซื้อจากญี่ปุ่นคือบริษัทนิปปอนโคคังและมิโตโม" สุธรรมกล่าวยอมรับในจุดนี้ว่าหลายครั้งต้องเจรจาต่อรองเรื่องราคากันบ่อย

ทางออกของสุธรรมคือการหาแหล่งวัตถุดิบแผ่นเหล็กที่ได้มาตรฐานจากเกาหลีและไตัหวันมาเป็นเครื่องต่อรองกับญี่ปุ่น

เช่นนี้ก็หมายถึงจุดสำคัญอยู่ที่การบริหารต้นทุนวัตถุดิบให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us