Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
ว่องวานิชกับธรรมะ             
 

   
related stories

108 ปี อังกฤษตรางู
ครั้งหนึ่งในอดีต

   
search resources

อังกฤษตรางู (แอล.พี.), บจก.
บุญยง ว่องวานิช
อนุรุธ ว่องวานิช
ล้วนชาย ว่องวานิช
อัญญา ว่องวานิช




แป้งตรางู สินค้าไทยๆ ในกระป๋องขาวๆ ดูไม่ทันสมัยก็จริง แต่ถ้ามองย้อนลึกเข้าไปในองค์กร ที่เป็นเจ้าของ ก็จะพบว่าบริษัทแห่งนี้มีการบริหารจากผู้ที่ใช้ชีวิต ที่ทันสมัย และสำเร็จการศึกษาในระดับสูงจากต่างประเทศทั้งสิ้น และที่น่าสนใจ คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ยังเป็นผู้ที่กำลังสานต่อวัฒนธรรมขององค์กรทางด้านศาสนาอย่างเหนียวแน่นอีกด้วย

ดร.บุญยง ได้เลี้ยงดูลูกๆ อย่างใกล้ชิดศาสนา ตั้งแต่วัยเด็ก อัญญา อนุรุธ ล้วนชาย และเพิ่มหญิง จึงเป็นคนรุ่นใหม่ ที่สามารถสวดมนต์บทยาวๆ และ ฝึกนั่งวิปัสสนากันตั้งแต่เล็กๆ ทุกคน โดยเฉพาะ อนุรุธ พี่ชายคนโตนั้น หลังจากจบการศึกษากลับมาเมืองไทย เมื่ออายุเพียง 24 ปี นอกจากต้องเรียนรู้เรื่องธุรกิจ เพื่อเตรียมรับช่วงบริหารงานต่อจากผู้เป็นพ่อแล้ว ยังได้เข้าไปเป็นกรรมการของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนี้มาเป็นเวลาถึง 11 ปี ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

อนุรุธ กับล้วนชายเริ่มการศึกษาเบื้องต้นจาก อัสสัมชัญ และจบการศึกษา ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับ ดร.บุญยง ในขณะที่อนุรุธเรียนอยู่ชั้น ม.ศ.1 ส่วนล้วนชายกำลังเรียนชั้น ป.7 ก็ได้ส่งไปเรียนต่อ ที่ปีนัง พร้อมกับอัญญา และเพิ่มหญิง ซึ่งตอนนั้น เรียนอยู่ ชั้น ม.ศ.3 และ ป.4 โรงเรียนมาแตร์เดอี ดร.บุญยงเลือกปีนัง เพราะต้องการให้ลูกได้มีพื้นฐานทางด้านภาษาจีน ซึ่งเป็นประเทศ ที่จะยิ่งใหญ่ทางด้านการค้าในอนาคต หลังจากนั้น ทั้งหมดก็ไปเรียนต่อ ที่รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งอนุรุธจบปริญญาตรี 2 ปริญญาทางด้านเศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ อัญญาจบปริญญาโททางด้านวิทยาศาสตร์ และเคมี และปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ ล้วนชายจบปริญญาโททางด้านการเงิน และพัฒนา ที่ดิน ส่วนเพิ่มหญิงจบทางด้านเภสัชจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

"คุณพ่อเป็นผู้วางยุทธวิธีรวมทั้งเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เราสนใจเรื่องการศาสนามาตั้งแต่เด็ก" อนุรุธเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง และบอกว่าทุกวันนี้เขาก็ได้เริ่มเอากลยุทธ์นี้มาใช้กับ "น้องบอส" เจ้านายตัวเล็กวัย 3 ขวบ ที่บ้านด้วยเช่นกัน

"อย่างแรกเลย คุณพ่อให้เราคุ้นเคยกับห้องพระ โดยจะให้เข้าห้องพระพร้อมกันทุกคน จำได้ว่า วันหนึ่งเพิ่มหญิง ซึ่งตอนนั้น ยังเล็กมากแต่ต้องเข้าห้องพระ สวดมนต์พร้อมพวกพี่ๆ สักพักหนึ่งเธอเกิดหลับกลิ้งอยู่กับพื้น พี่ๆ ก็ปลุกเพราะกลัวคุณพ่อดุ แต่คุณพ่อกลับ บอกว่าไม่เป็นไร พ่อเพียงต้องการฝึกให้เข้าห้องพระให้เป็นนิสัย ไม่ให้คิดว่าห้องพระน่ากลัวก่อนเท่านั้น "

พอโตหน่อยทั้งสี่คนพี่น้องก็ได้เที่ยวได้ทัศนาจรเหมือนเด็กคนอื่นๆ เพียงแต่ส่วนใหญ่จะเป็นการทัวร์วัดเสียมากกว่า พออายุย่างเข้า 8-9 ขวบ ต้องเริ่มหัดนั่งสมาธิ หัดฝึกลมหายใจเข้าออก ตามคำสอนของหลวงพ่อลี โดยมีคุณพ่อให้เหตุผลชักจูงใจว่าคนที่มีสมาธิจะเรียนหนังสือเก่งกันทุกคน บางครั้งถึงกับลงทุนจ้างให้สวดมนต์ และอดทนกับลูกๆ ทุกอย่างให้สนใจพุทธศาสนา รวมทั้งหาหนังสือให้อ่านพาไปปฏิบัติธรรม ซึ่งลูกๆ ทุกคนต้องทำเหมือนกันหมด

"พอผมมีลูกเลยซึ้งเลยว่าการที่จะให้ลูกทำได้อย่างนี้นั้น เป็นเรื่อง ที่ยากของคนเป็นพ่อเหมือนกันนะเพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่จะตามใจลูก แต่พ่อผมจะบอกตลอดว่าเรื่อง ที่ถูกใจ อาจจะไม่ใช่เรื่อง ที่ถูกต้อง พ่อก็ไม่ยอม เห็นใจมากนะลูก แต่ป๋าไม่เห็นด้วย เป็นคำพูด ที่ผมได้ยินบ่อยที่สุดในวัยเด็ก"

เมื่ออายุเพียง 13 ปี ครั้งหนึ่งของการปิดภาคเรียน อนุรุธได้กลับมาบวชครั้งแรก และบวชครั้ง ที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2526 พร้อมล้วนชาย ที่วัดปากน้ำ การบวชครั้ง ที่ 2 นี้ เป็นการบวช เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เป็นแม่ ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง แต่โยมแม่ได้รับบาตรจากลูกชายทั้ง 2 เพียงเดือนกว่าก็เสียชีวิต อนุรุธเล่าว่าการบวชครั้งนั้น เคร่งมาก จะขยันมากทั้ง 2 คนพี่น้องนั่งสมาธิกัน เพื่อส่งบุญให้แม่หายป่วยเพราะเข้าใจแบบเด็กๆ ว่า ถ้าเราทำดีมากๆ เราคงไปแลกกับเจ้ากรรมนายเวรได้ แม่จะได้มีชีวิตต่อ แต่ก็เจอกับความจริง หลังจากแม่เสียชีวิต อนุรุธ และล้วนชายก็ได้กลับไปศึกษาต่อจนจบ

"ความจริงแล้วตอนแรกคุณบุญยงต้องการให้ลูกคนโตเข้าไปในวงการการเมือง เพราะจะได้อำนาจในการช่วยประชาชนส่วนใหญ่ด้วย และท่านเองก็มี เพื่อนๆ ที่อยู่ในวงการเมืองหลายคน แต่เมื่อมองแล้ว สรุปได้ว่างานการเมืองเป็นของร้อน มีเล่ห์กลทางการเมืองหลายอย่างที่วุ่นวายมาก เลยเปลี่ยนใจให้ลูกมาทำงานเย็นดีกว่า คือ เข้าไปช่วยงาน ที่ยุวพุทธ ซึ่งเป็นงานทางด้านศาสนา" คนเก่าแก่ท่านหนึ่งในบริษัทเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ตลอดเวลา ที่ผ่านมารายได้ส่วนหนึ่งประมาณ 5% ของการขายสินค้าของบริษัทในเครือว่องวานิชต้องบริจาคให้กับ มูลนิธิว่องวานิช ที่ ดร.บุญยงได้สร้างขึ้น เมื่อ ปี 2517 เพื่อทำการสาธารณกุศลต่างๆ รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ใน ธรรมสถานว่องวานิช ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ ปี 2529 พื้นที่ติดกันกับโรงงานของบริษัท และหมู่บ้าน ล้วนพฤกษาบนถนนเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ

เดิมทีธรรมสถานแห่งนี้ ดร.บุญยงตั้งใจจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อเก็บของเก่าแก่ของตระกูล เช่น เครื่องมือทางด้านการแพทย์ต่างๆ เครื่องคิดเลข เข็มฉีดยาต่างๆ แต่เมื่อดร.บุญยงมารู้จักคุณแม่สิริ กรินชัย นักวิปัสสนาชื่อดัง ความคิดก็เปลี่ยนไป กลายเป็นสร้างธรรมสถานแทน ซึ่งสถานที่แห่งนี้ได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และกิจการทางศาสนาของบริษัทว่องวานิช และบริษัทในเครือต่างๆ

นอกจากนั้น ในช่วงเวลาปิดภาคเรียนยังเป็นสถานที่สำหรับพักแรมของเด็กๆ ซึ่งเป็นลูกหลานของลูกค้าของพนักงานต่างๆ ในเครือ โดยเริ่ม ที่โปรแกรม ST. LUKE'S GENIUS เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2543 ที่ผ่านมา มีเด็กอายุตั้งแต่ประมาณ 6-15 ปี ประมาณ 60-70 คน เข้าร่วม มีกิจกรรม ที่น่าสนใจ เช่น Mind Map ซึ่งเป็นก้าวแรกของบทนำ และใช้มโนทัศน์ในการคิด และบริหารสมอง เรียนรู้การเจริญสติ สมาธิกับชีวิตประจำวัน รวมทั้งกิจกรรมนันทนาการที่ใช้สติด้านศิลปะวาดรูป โดยมีธัญญา ผลอนันต์ มาเป็นวิทยากร

สำหรับ ที่อาคาร ที่ว่องวาณิช สำนักงานใหญ่ มีแผนกพัฒนาจิตใจ ซึ่งมีพจนา ประกาศเวชกิจ ผู้จัดการสำนักประธาน เป็นผู้ดูแล โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกสมาธิ เจริญสติ บรรยายธรรม ทำบุญให้ทาน ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการบังคับเพียงแต่ชักชวน โดยมีผู้บริหารแต่ละฝ่ายเข้าร่วม ทุกเช้าประมาณ 8.00 น. จะมีกิจกรรมการไหว้พระ ใส่บาตร รวมทั้งจัดงานทำบุญในวันพระ และวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ โดยแต่ละแผนกหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการ รวมทั้งมีโปรแกรมทัวร์วัดเกิดขึ้นเสมอมาในวันหยุด เป็นการเอาศาสนามาใช้กับชีวิตประจำวัน จนเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่บริษัทนี้

"คนส่วนมากเข้าใจว่า ธรรมะกับธุรกิจ สองอย่างนี้ไปด้วยกันไม่ได้ ธุรกิจต้องฉวยโอกาส ต้องเฉือนกันให้ถึงที่สุด ให้ได้กำไรมากๆ แต่ในด้านด้านธรรมะนั้น มีแต่ความเมตตา ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน สองทฤษฎีนี้เดินสวนทางกัน"...

"ผมเป็นนักธุรกิจ ที่ได้ศึกษาธรรมะมาบ้างตามสมควร ผมคิดเอาเองว่าเป็นหน้าที่ของผม ที่จะมาบอก มาทำความเข้าใจว่า ธุรกิจนั้น ขาดธรรมะไม่ได้" ข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายของ ดร.บุญยง ว่องวานิช ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2534 ในขณะนั้น ท่านเป็น นายกกิตติมศักดิ์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย และเป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัทในเครือว่องวานิชด้วย

ด้วยแนวทาง ที่ชัดเจนในการดำรงชีวิตปี 2539 ดร.บุญยง ได้ตัดสินใจลาบวชตลอดชีวิต แต่ด้วยปัญหาทางด้านสุขภาพ และความสะดวกในการปรนนิบัติของลูกๆ ท่านจึงจำเป็นต้องสึกออกมารักษาตัว ที่โรงพยาบาล และบ้าน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้นานเกือบ 2 ปีแล้ว

แต่ภาระทางด้านศาสนาดังกล่าว ทั้ง ที่ ธรรมสถาน และ ที่บริษัทใหญ่ ลูกๆ กำลังดำเนินรอยตามอย่างต่อเนื่อง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us