Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 กรกฎาคม 2551
รีดเงินขึ้นน้ำตาล5บ./กก.เข้ากองทุนฯแล้ว             
 


   
search resources

Agriculture




ระเบียบส่งเงินรายได้จากการขึ้นน้ำตาลหน้าโรงงาน 5 บ./กก.ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับแล้วตั้งแต่ 29 ก.ค. เป็นต้นไป กองทุนฯร่อนหนังสือถึง 47 โรงงานเตรียมเงินจ่ายทันทีย้อนหลังตั้งแต่ 30 เม.ย.-29 เม.ย.ส่งภายใน 15 วันรวมเงินประมาณ 2,000 ลบ. และให้จัดส่งทุกเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาล(กท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมาระเบียบว่าด้วยการจัดเก็บรายได้จากการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) เพื่อนำส่งเข้ากองทุนอ้อยฯได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงมีผลบังคับใช้ได้ทันทีส่งผลให้โรงงานน้ำตาลทรายในประเทศที่มีอยู่ทั้งสิ้น 47 แห่งจะต้องจัดส่งเงินรายได้จากการปรับขึ้นราคาน้ำตาลส่งเข้ากองทุนอ้อยฯโดยมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. 2551 เป็นต้นมา

“ขณะนี้กองทุนฯได้ทำหนังสือไปยังโรงงานทั้งหมดแล้วให้จัดส่งรายได้จากการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายจากนี้ไปทุกเดือนโดยให้จัดส่งรายได้ดังกล่าวของทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเว้นเฉพาะของเดือนที่มีผลย้อนหลังให้ทยอยส่งทันทีไม่เกิน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือตั้งแต่ 30 เม.ย.-29 ก.ค.ซึ่งส่วนนี้จะมีรายได้เข้าทันที่ประมาณ 2,000 ล้านบาทและเงินดังกล่าวกองทุนฯก็จะนำส่งใช้หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.)ตามระเบียบเช่นกัน” แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ระเบียบดังกล่าวได้ออกตามมติครม.เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2551 ตามข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งขณะนั้นมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมนำเสนอให้ครม.เห็นชอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) นำเสนอเพื่อเพิ่มราคาอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยคุ้มทุนการผลิตฤดูผลิตปี 50/51 อีกตันละ 107 บาทเพื่อให้ราคาอ้อยเป็น 807 บาทต่อตัน จากเดิมที่ก่อนหน้าอยู่ที่ 600 บาทต่อตัน แต่รัฐบาลที่ผ่านมาเพิ่มค่าอ้อยให้ 100 บาทต่อตันโดยส่วนนี้จำนวน 38 บาทต่อตัน โรงงานจ่ายและ 62 บาทต่อตันกู้ผ่านธ.ก.ส. 4,200 ล้านบาทรวมเงินกู้ 1.23 หมื่นล้านบาทและเมื่อรวมกับหนี้เก่าทำให้กองทุนอ้อยเป็นหนี้ 2.5 หมื่นลบ. จึงต้องจัดหารายได้ด้วยการปรับขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 5 บ.ต่อกก.ซึ่งคาดว่าจะใช้หนี้หมดใน 3 ปี

แหล่งข่าวจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายกล่าวว่า โรงงานพร้อมจะจ่ายเงินดังกล่าวตามระเบียบที่กำหนดเพื่อยืนยันว่าโรงงานน้ำตาลไม่ได้มีรายได้เพื่อที่จะนำไปจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับนักการเมืองคนใดตามที่สื่อพยายามยัดเยียดให้โรงงานเป็นผู้ร้ายซึ่งหากคิดง่ายๆ รายได้ 5 บาทต่อกก.ส่งเข้ากองทุนฯหมดแล้วโรงงานจะได้อะไรกับการขึ้นน้ำตาลดังกล่าว แต่ถ้าจ่ายเงินเข้ากองทุนไม่เต็ม 5 บ.ต่อกก.ค่อยมาต่อว่ากันและหลังจากกองทุนฯนำเงินดังกล่าวใช้หนี้ธ.ก.ส.หมดใน 3 ปี ผลประโยชน์ดังกล่าวอาจจะตกกับระบบได้แต่ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรหากตกต่ำระบบกู้เงินอีกก็จะใช้หนี้ไปกันอีกก็เป็นไปได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us