Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 กรกฎาคม 2551
P&Gงัด4แผนฝ่าน้ำมันแพง-เงินเฟ้อลดต้นทุนใช้ก๊าซแทนน้ำมัน             
 


   
www resources

P&G Homepage

   
search resources

พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย), บจก.
ปริญดา หัศฎางค์กุล
Consumer Products




พีแอนด์จี ชู 4 ยุทธศาสตร์ สู้ความท้าทายราคาน้ำมัน ภาวะอัตราเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทแข็ง อัดฉีด 450 ล้านบาท เร่งลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพท่ามกลางเศรษฐกิจไม่แน่นอน ยกเครื่องโรงงานใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมัน ยันไม่ขึ้นราคาหลังลดต้นทุนถึง 90 ล้านบาทต่อปี ปั้นแพกเกจเล็กรับกำลังซื้อหด พร้อมขนนวัตกรรมใหม่ 25 รายการลุย สิ้นปีโต 5-7% กวาดเกือบ 1 หมื่นล้านบาท

นางสาวปริญดา หัศฎางค์กุล กรรมการผู้จัดการ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า ท่ามกลางความท้าทายที่บริษัทต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้มีด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก และค่าเงินบาทแข็งค่าซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของบริษัทมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท นโยบายการทำตลาดระหว่างรอบบัญชีปี 2551 หรือระหว่างเดือนกรกฎาคม 2551 - มิถุนายน 2552 ดำเนินการภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลักด้วยกัน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ซึ่งบริษัทปีนี้ได้ใช้งบลงทุนประมาณ 450 ล้านบาท ทั้งในส่วนของโรงงานและโครงการที่มุ่งเน้นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่งบการตลาดวางไว้ 500-1,000 ล้านบาท

สำหรับยุทธศาสตร์แรก คือ ขจัดความสูญเสียและความซ้ำซ้อน เพื่อรองรับกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ด้วยการทุ่มงบ 12 ล้านบาท เลิกการใช้น้ำมันหนักและเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิตภายในปลายปีหน้านี้ ที่โรงงานผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิต 10 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทยังได้ดำเนินโครงการลดการปล่อยน้ำเสีย 85% หรือจาก 4,000 ตันต่อเดือน เหลือเป็นไม่ถึง 600 ตันต่อเดือน และลดการใช้น้ำส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำลดลง 38.5% ทำให้บริษัทประหยัดได้ถึง 80 ล้านบาทต่อปี

นางสาวปริญดา กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 3 โครงการที่ดำเนินส่งผลให้บริษัทลดต้นทุนไปถึง 90 ล้านบาทต่อปี ในส่วนดังกล่าวทำให้บริษัทไม่มีนโยบายปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยยังตรึงราคาไว้ ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การนำเสนอสินค้าให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินหรือสอดคล้องกับกำลังการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ขนาดประหยัด ในกลุ่มแชมพูแพนทีน ขนาด 90 มล. ราคา 20 บาท โอเลย์ โททัล เอฟเฟ็คส์ ขนาด 20 กรัม ราคา 229 บาท จากขนาดปกติ 50 กรัม ราคากว่า 400 บาท และแปรงสีฟันออรัลบี ราคา 10 บาท เพื่อตอบสนองสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และจากการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวส่งผลให้สินค้าของพีแอนด์จีสามารถเข้าถึงช่องทางเทรดิชันนัลเทรดได้มากขึ้น

ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นแนวทางที่รักษาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและช่วยให้สามารถบริหารจัดการฐานต้นทุน ปีนี้บริษัทจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่และแบรนด์ใหม่ 25 รายการ ตลอดจนการมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน ล่าสุดได้เปิดตัวแคล์รอล เฮอร์บัล เอสเซ้นส์ โดยปรับสูตรและบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเจาะกลุ่มเจเนอเรชั่นวายอายุ 18-25 ปี และจากการปรับสูตรส่งผลให้พีแอนด์จีมีสินค้าในพอร์ตโฟลิโอแชมพูครอบคลุมยิ่งขึ้น ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การลงทุนพัฒนาบุคลากร

"ในส่วนของภาคเอกชนมองว่ารัฐจะมีมาตรการอะไรที่ช่วยลดผลกระทบน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างไร อย่างไรก็ตาม 4 ยุทธศาสตร์นี้ เป็นกลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างในช่วงที่บริษัทผจญกับการลอยตัวค่าเงินบาท และทำให้บริษัทรอดพ้นวิกฤตินั้นขณะเดียวกันยังทำให้บริษัทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยมาก"

สำหรับภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคครึ่งปีหลัง คาดว่าเติบโต 5-7% เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันจึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก สำหรับผลประกอบการของบริษัททั้งปีตั้งเป้ามีอัตราการเติบโตเท่ากับตลาดคือ 5-7% หรือมีรายได้ 9,951 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 9,300 ล้านบาท โดยในช่วงมกราคม - มีนาคม 2551 เติบโต 7% เป็นไปตามเป้าหมาย กลุ่มที่เติบโต ได้แก่ แชมพูแพนทีน ยอดขายเติบโต 10% โอเลย์ ครองส่วนแบ่ง 27% รั้งตำแหน่งผู้นำ ยิลเลตต์ยอดขายโต 20% ครองส่วนแบ่งกว่า 65% ออรัลบี ยอดขายโต 15% ขณะที่ด้านการส่งออกปีนี้ได้เริ่มส่งออกโอเลย์ไปอินเดีย และเฮดแอนด์โชวเดอร์ในญี่ปุ่น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us