|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปตท.คาดปีหน้า ยอดนำเข้าแอลพีจีพุ่งถึง 1.1 ล้านตัน หวั่นกระทบกระแสเงินสดของปตท.หากต้องแบกรับภาระนำเข้าแอลพีจีที่สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท เตรียมหารือก.พลังงานเพื่อหาทางออก หลังคาดปีนี้แบกภาระดังกล่าวถึง 6 พันล้าน พร้อม เรียกร้องให้ผู้ค้ามาตรา 7 ช่วยแบกรับภาระนำเข้าแอลพีจี เพื่อพยุงปตท.ด้วย พร้อมโต้ไม่มีได้ตั้งบริษัทจ่ายเงินให้นักการเมืองที่เกาะเคย์แมน ยันระบบการจ่ายเงินของปตท.เข้มงวด ตรวจสอบได้
นายสุรงค์ บูลกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้มีการประเมินความต้องการใช้แอลพีจีในปีหน้าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 14% ทำให้ต้องมีการนำเข้าแอลพีจีจากต่างประเทศเข้ามาถึง 1.16 ล้านตัน ทำให้ยอดรับภาระนำเข้าแอลพีจีเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯมีความกังวลกระทบกระแสเงินสดของปตท. หากต้องแบกรับภาระราคานำเข้าแอลพีจีไปจนถึงปีหน้าที่ราคาตลาดโลก 930 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่นำมาขายในราคาที่ 332 เหรียญสหรัฐ/ตัน หรือปตท.ต้องแบกภาระไปก่อนตันละ 600 เหรียญสหรัฐ จึงต้องมีการหารือกับกระทรวงพลังงานต่อไป
ทั้งนี้ ปตท.ได้มีการอุดหนุนทั้งราคาน้ำมันขายปลีกที่ปรับขึ้นช้ากว่าคู่แข่งในช่วงที่ผ่านมา การอุดหนุนราคาแอลพีจี และเอ็นจีวี ซึ่งแต่ละปีปตท.อุดหนุนเป็นเงิน 4-5 หมื่นล้านบาท หากต้องมีแบกรับภาระราคานำเข้าแอลพีจีเพิ่มเติม ก็จะมีทำให้กระแสเงินสดของปตท.ตึงตัวได้
ส่วนนโยบายรัฐในการกำหนดแอลพีจีเป็น 2 ราคา โดยจะปรับขึ้นราคาแอลพีจีในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมให้สูงกว่าภาคครัวเรือนนั้น หากเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่ไม่สูงมาก ก็คงไม่มีผลให้ยอดการใช้แอลพีจีลดลง ดังนั้น การปรับขึ้นราคาแอลพีจีควรให้เป็นไปตามตลาดโลก เพื่อให้ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมหันไปใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นแทน ทำให้ลดการนำเข้าแอลพีจีลงด้วย
“ ขณะนี้ยังไม่มีผู้ค้ามาตรา 7 สักรายที่นำเข้าแอลพีจี จึงอยากเรียกร้องให้ผู้ค้าม.7 หันมารับภาระต้นทุนนำเข้าแอลพีจีด้วย จากเดิมที่ปตท.ต้องเป็นผู้นำเข้าเพียงรายเดียว เพราะพอถึงจุดหนึ่งปตท.ก็คงแบกรับภาระทั้งประเทศไม่ได้ โดยปตท.พร้อมที่จะสนับสนุนผู้ค้าม. 7 ในการนำเข้าแอลพีจีทั้งการนำเข้าร่วมกัน หรือให้เรือขนก๊าซฯมาลอยที่ท่าเทียบเรือ รวมถึงการใช้คลังก๊าซฯร่วมกันกับปตท.ด้วย “
ปัจจุบันคลังก๊าซแอลพีจีที่เขาบ่อยา จ.ชลบุรี สามารถรองรับได้เพียง 5 หมื่นตัน แต่เดือนก.ค.นี้มีการนำเข้าถึง 1 แสนกว่าตัน ทำให้ต้องมีเรือมาลอยจอดเพื่อรอการขนส่งก๊าซฯเข้าคลัง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเดือนละ 4 หมื่นเหรียญสหรัฐ/วัน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาครัฐอยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะเพิ่มสำรองก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 0.5 %ของปริมาณการขาย หลังจากตัวเลขการนำเข้าแอลพีจีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง หากรัฐกำหนดปริมาณสำรองก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้น ทางปตท.ก็คงต้องลงทุนในการสร้างถังเก็บแอลพีจีเพิ่มเติมอีก 2 ถังๆละ 1 หมื่นตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.5-2 พันล้านบาท
“ วันนี้ระบบคลังที่เขาบ่อยาไม่ได้ออกแบบมาเพื่อนำเข้าแอลพีจี แต่ออกแบบมาเพื่อส่งออกแอลพีจีเท่านั้น แต่ถ้ารัฐมีการออกกฎเพิ่มสำรองฯแอลพีจี ผู้ค้าม. 7 ทุกรายก็คงต้องลงทุนสร้างถังเก็บเพิ่ม”
วานนี้ (29 ก.ค.) เรือขนแอลพีจีได้นำก๊าซแอลพีจีในปริมาณ 22,000 ตัน จากประเทศมาเลเซีย มาถึงท่าเทียบเรือคลังก๊าซเขาบ่อยา ปตท. จ. ชลบุรี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นเรือเที่ยวที่ 6 ที่ ปตท. ได้นำเข้ามาเพื่อเตรียมการให้พร้อม รองรับกับความต้องการใช้ในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปตท.มีการนำเข้าแอลพีจีรวมทั้งสิ้นแล้ว 1.31 แสนตัน และในเดือนส.ค.นี้ ปตท.จะมีการนำเข้าแอลพีจีเข้ามาอีก 8.4 หมื่นตัน คาดทั้งปีนี้ปตท.ต้องนำเข้าแอลพีจีประมาณ 4.5 แสนตัน สูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 3 แสนตัน
เป็นผลจากการที่ความต้องการใช้ก๊าซแอลพีจีในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมในปีที่ผ่านมาประมาณ 3 ล้านตัน เป็น 3.5 ล้านตันในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้นถึง 14.2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการใช้ในรถยนต์ ถึง 22.7 โดย ปตท. ต้องนำเข้าในราคาตลาดโลก คือ ประมาณกว่า 950 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่รัฐกำหนดให้ราคาขายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 332 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งรัฐฯ จะสนับสนุนส่วนต่างให้ ภายหลัง ทั้งนี้ ปตท. ได้รับภาระแทนไปก่อนในช่วงแรกประมาณ 3,000 ล้านบาท
แหล่งข่าวปตท.กล่าวว่า บอร์ดปตท.ได้เห็นชอบนโยบายที่ปตท.จะแบกรับภาระการนำเข้าแอลพีจีในปีนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาท แต่ล่าสุด ตัวเลขการรับภาระนำเข้าแอลพีจีของปตท.รวมแล้ว 3 พันล้านบาท หากนับจากนี้จนถึงสิ้นปี 2551 คาดว่าปตท.จะต้องรับภาระประมาณ 6 พันล้านบาท ซึ่งยังไม่เห็นโอกาสที่ปตท.จะได้รับเงินชดเชยการนำเข้าแอลพีจีดังกล่าวคืน หากยืดเยื้อไปจนถึงปีหน้า จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของปตท.ได้
นายสุรงค์ บูลกุล กล่าวถึงกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยระบุว่าปตท.มีการเปิดบัญชีจ่ายเงินนักการเงินเดือนละ 30 ล้านบาทที่เกาะเคย์แมนว่า ไม่เป็นความจริง เพราะระบบการจ่ายเงินของปตท.มีความรัดกุม โดยควบคุมถึง 3 ขั้นตอน คือ 1 ระบบควบคุมการค้า โดยมีคณะกรรมการพิจารณา มีการตรวจสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2. ระบบเอกสารที่จะต้องรายงานภายใน 24 ชั่วโมง และ3. การตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีชั้นนำของโลก คือ เอิร์น แอนด์ ยังจากสิงคโปร์ แล้วส่งบัญชีจากบริษัทต่างชาติมายังบริษัทแม่แล้วสตง.ตรวจสอบอีกที
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ขณะนี้เหลือเพียงบริษัทเดียวที่เปิดในเกาะเคย์แมน ซึ่งการตั้งบริษัทดังกล่าวเพื่อดูแลการค้าน้ำมันในฟิลิปปินส์ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายของฟิลิปปินส์ และขณะนี้มีแผนที่จะปิดบริษัทดังกล่าว
|
|
|
|
|