|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หมอเลี้ยบลั่นเศรษฐกิจไทยยังโต 6% เตรียมสรุปเมกะโปเจกต์เสนอนักลงทุนเดือนหน้า สศค.ชี้เศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังขยายตัวจากส่งออกและการบริโภค ยอมรับการลงทุนเริ่มสะดุดเหตุเอกชนไม่มั่นใจการเมือง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 71.9 จุด ระบุอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปียังน่าห่วง ยันเป้าจีดีพีครึ่งปีหลังยังขยายตัวได้ในระดับ 5-5.5%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังกล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับประมาณการทางเศรษฐกิจขยายตัวลดลงว่า ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ครึ่งปีหลังถ้าเงินเฟ้อไม่รุนแรงและหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังมีมาตรการต่างๆ ออกมาตัวเลขการขยายตัวในอัตรา 6% ในภาวะเงินเฟ้อสูงก็ถือเป็นอัตราที่เหมาะสม
นพ.สุรพงษ์กล่าวด้วยว่า ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ นาสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สรุปภาพรวมโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ขนส่งมวลชนทางอากาศ, ขนส่งระบบราง , ระบบน้ำ, สาธาณสุข และการศึกษา เพื่อเตรียมนำเสนอต่อทูตประเทศต่างๆ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบความชัดเจนภายในเดือนสิงหาคมนี้
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมิถุนายนและไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีโดยมีการส่งออกและการบริโภคเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญโดยเฉพาะการส่งออกที่ขยายตัวเกินคาดในระดับ 25.2% ส่วนการบริโภคที่ขยายตัวนั้นจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นและยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นเครื่องชี้แนวโน้มการบริโภคในอนาคตปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 71.9 จุด จากระดับ 72.5 จุด ในไตรมาสแรกของปี 2551 เนื่องจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองและราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนแม้จะยังขยายตัวต่อเนื่องแต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลงจากปัจจุบัน โดยเฉพาะเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัว 8.4% ต่อปี ในเดือนมิถุนายน และ 10.1% ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 31.3% ต่อปี สอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมิถุนายน และไตรมาส 2 ที่กลับมาหดตัว -20.9% ต่อปี และ -5.6% ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนถึงภาพรวมการลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณการชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างที่วัดจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวได้ดีที่ 25.9% ต่อปี และ 29.3% ต่อปี ในเดือนมิถุนายนและในไตรมาสที่ 2 ตามลำดับ อันเป็นผลจากมาตรการลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายปูนซีเมนต์ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกที่ 3.5% ต่อปีในเดือนพฤษภาคม หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องมาโดยตลอดในช่วง 17 เดือนที่ผ่านมา
"การลงทุนในหมดเครื่องมือเครื่องจักรเริ่มลดลงสะท้อนว่าการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงแม้จะมีนักลงทุนเข้ามามากขึ้นและมองว่าเศรษฐกิจไนเริ่มฟื้นแต่ส่วนใหญ่ยังเป็นห่วงเรื่องการเมืองและสอบถามเข้ามามากเพราะต้องการความมั่นใจซึ่งการที่รัฐบาลและรมว.คลังยังเดินหน้านโนบายต่อไปก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง"นางพรรณีกล่าว
นางพรรณีกล่าวว่า ส่วนรายได้จัดเก็บภาษีของรัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัว 3.7% ต่อปีในเดือนมิถุนายน และ 12.1% ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บจากภาษีฐานรายได้ขยายตัว 3.7% ต่อปีในเดือนมิถุนายน และขยายตัวที่ 16.2% ต่อปีในไตรมาสที่ 2 สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 12.2% ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ด้านภาษีฐานการบริโภคขยายตัวในระดับสูงที่ 16.0% และ 15.8% ต่อปีในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ตามลำดับ เนื่องจากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นประกอบกับการบริโภคยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง
สำหรับรายจ่ายงบประมาณในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 143.2 พันล้านบาท และ 424.6 พันล้านบาท ตามลำดับ สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ 94.0% ของกรอบวงเงินงบประมาณปีงบประมาณ 2551 ซึ่งสะท้อนบทบาทภาคการคลังในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่
ขณะที่การส่งออกในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวได้ในระดับสูงมาก โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมิถุนายน และในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 16.3 และ 45.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ หรือขยายตัวที่ 27.4% ต่อปี และ 25.2% ต่อปี ตามลำดับ สำหรับสาเหตุหลักที่มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในตลาดส่งออกใหม่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงค์โปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง
สำหรับการนำเข้าในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าขยายตัวชะลอลงตามการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยการนำเข้าในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 15.6 และ 45.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึง 30.7% ต่อปี และ 29.7% ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุลที่ 0.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 กลับมาเกินดุลการค้าเล็กน้อยที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับการขาดดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 จำนวน -1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตามในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเงินเฟ้อและราคาน้ำมันโดยมองว่าหลัง6มาตรการ 6 เดือนมีผลน่าจะช่วยกดเงินเฟ้อทั้งปีลงมาจาก 7-8% เหลือ 6-7% ได้ ส่วนน้ำมันขณะนี้เริ่มลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้จาก130เหรียญต่อบาร์เรลปัจจุบันอยู่ที่ 121 เหรียญต่อบาร์เรลจึงเชื่อว่าจีดีพีครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ที่ 5-5.5% ซึ่งต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่น่าจะอยู่ในอัตรา 5.9%ส่วนไตรมาส 2 น่าจะขยายตัวที่ 5.8% เทียบกับไตรมาสแรกอยู่ที่ 6%โดยหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้จีดีพีทั้งปีน่าจะอยู่ในระดับ 5.6%
|
|
|
|
|