Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 กรกฎาคม 2551
ธปท.ชี้เงินเฟ้อกดจีดีพีต่ำ6%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




แบงก์ชาติปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี51 จาก 4.8-6% เหลือเพียง 4.8-5.8% เผยส่งออกช่วยแค่บางส่วน เหตุการบริโภคและลงทุนฟื้นช้าจากปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงต่อเนื่อง จากเดิมวางกรอบแค่ 4-5% ล่าสุดทั้งปีอาจเฉลี่ยสูงถึง 7.5-8.8% ส่งสัญญาณดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่อง เตรียมเสนอทบทวนกรอบเงินเฟ้อใหม่ให้ กนง.ชุดใหม่เร็วๆ นี้ ระบุ 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาล แค่บรรเทาความเดือดร้อนค่าครองชีพชั่วคราว

นางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้มีการปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่เป็น 4.8-5.8% จากเดิม 4.8-6.0% สำหรับรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือน ก.ค. เนื่องจากการลงทุนและการบริโภคมีการฟื้นตัวช้า และการนำเข้าก็ชะลอตัวเช่นกัน แม้ภาคการส่งออกจะทดแทนได้บางส่วน จึงมองว่าภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมมาช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เพิ่มขึ้น และในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4.3-5.8%

“แม้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากจากความผันผวนด้านราคาเป็นสำคัญ แต่เศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้แย่กว่าที่คาดไว้ โดยครึ่งแรกของปีนี้เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ที่ระดับ 5.9% และคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังจากนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5.8% ส่วนทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 6% มีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนและการบริโภคที่ฟื้นตัวช้า”

ทั้งนี้ ธปท.ยังได้ปรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่เป็น 2.8-3.8% จากเดิม 1.5-2.5% และในปีหน้าอยู่ที่ระดับ 3-4% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 7.5-8.8% จากครั้งก่อนที่ประเมินไว้ 4-5% และในปี 2552 อยู่ที่ 5.0-7.5% โดยมองว่าถ้าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูง ธปท.ก็พร้อมจะมีมาตรการต่างๆ รวมถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบเข้มงวดมาดูแล เพื่อสกัดแรงกดดันการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต รวมทั้งไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคธุรกิจด้วย

“แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เกินกว่าเป้าหมายที่ธปท.ใช้เป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการเงิน คือ 0-3.5% ก็ไม่ได้เกิดจากการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเราไม่ได้ละเลยในการทำหน้าที่ดูแล เพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ที่ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งทุกประเทศก็มีปัญหาเหมือนกับเรา แต่ก็เชื่อว่าเงินเฟ้อที่หลุดจากเป้านี้เป็นเพียงแค่ระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวประมาณ 8 ไตรมาสหรืออีก 2 ปีข้างหน้าจะอยู่ในเป้าตามเดิม คือ เงินเฟ้อไม่เกิน 3.5%”

อย่างไรก็ตาม ในกฎหมาย พ.ร.บ.ธปท.ได้ระบุให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการทบทวนอัตราเงินเฟ้อที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ทุกปีตามภาวะในช่วงนั้นๆ จึงรอให้คณะกรรมการ ธปท.ที่เป็นผู้แต่งตั้ง กนง. ชุดใหม่ก่อน ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุป

นอกจากนี้ หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงต่อไปจะกระทบต่อภาคการส่งออกด้วยเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ เนื่องจากค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ทำให้เสียความสามารถในการแข่งขันมาก ซึ่งขณะนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก ถือเป็นปัญหาต่อการแข่งขันในการส่งออกของไทย นอกจากนี้จากการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงส่วนหนึ่งก็ยิ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้นมาก ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็ตาม

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังได้ปรับประมาณการณ์เครื่องชี้เศรษฐกิจของไทยของปีนี้ใหม่ โดยการส่งออกจะมีมูลค่าขยายตัวที่ 16-19% ปีหน้า 12.5-15.5% และการนำเข้ามีมูลค่าขยายตัว 27-30% ปีหน้า 16.5-19.5% ทำให้ในปีนี้ไทยขาดดุลการค้า 1,500-3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ปีหน้าขาดดุล 6,000-10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 1,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และปีหน้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 1,000-4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านการบริโภคโดยรวมอยู่ที่ระดับ 3-4% และปีหน้า 4.5-5.5% ซึ่งปีนี้ในส่วนของการบริโภคเอกชนอยู่ที่ 3-4% ภาครัฐ 2-3% การลงทุนโดยรวม 4.3-5.3% ปีหน้า 8-9% ซึ่งในปี 2551 คาดว่าเอกชนจะมีการลงทุน 4.5-5.5% ภาครัฐ 3-4%

ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยังได้ประเมินความเสี่ยงต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งปัจจัยด้านลบและด้านบวก โดยปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน คือ รัฐบาลต้องมีการเพิ่มการใช้จ่าย เพื่อรักษาการขาดดุลของงบประมาณ ราคาน้ำมันดูไบต่ำกว่ากรณีฐาน คือ ค่าเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 119.6 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งกรณีเลวร้ายเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 131.1 เหรียญสหรัฐ และค่าเงินบาทอ่อน แม้ธปท.มองว่าค่าเงินบาทในภูมิภาคเอเชียจะแข็งค่าขึ้น จากการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐที่เข้มงวดขึ้น ทำให้ทิศทางค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น แต่ค่าเงินเยนยังอ่อนค่า ขณะที่ปัจจัยฉุดการขยายตัวเศรษฐกิจต่อไป คือ ราคาน้ำมันดูไบที่สูงกว่า 119.6 เหรียญต่อบาร์เรล เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยรวมที่ขยายตัวต่ำกว่า 4.8% รวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคต โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ ราคาน้ำมันสูงกว่าที่ธปท.ประเมินไว้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าเกษตรสูง จากที่ธปท.มองว่าราคาในปีหน้าจะเริ่มลดลง รวมทั้งค่าเงินบาทอ่อน และประเด็นที่น่าห่วงที่สุด คือ กระบวนการคาดการณ์เงินเฟ้อจะเร่งตัวสูง ด้านปัจจัยที่ช่วยให้เงินเฟ้อต่ำลงได้ คือ ราคาน้ำมันไม่สูงกว่าที่ประเมินไว้ และเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ ธปท.ยังคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อีก 2% และปีหน้าเพิ่มอีก 3%

สำหรับมาตรการ 6 ข้อฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นเชื่อว่าเป็นแค่การบรรเทาความเดือดร้อนด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้มีผลให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเป็นมาตรการแค่ระยะสั้น เพราะถ้าจะให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องดำเนินการไม่น้อยกว่า 2 ปี และผลของมาตรการนี้จะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 0.1-0.3% อย่างไรก็ตาม 6 มาตรการ 6 เดือน จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการบันทึกราคาของกระทรวงพาณิชย์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us