|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายกสมาคมบลจ. วาดฝัน 5 - 6 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าดันกองทุนรวมทั้งระบบโตเท่าตัว จากปัจจุบันที่มีสินทรัพย์รวม 2.23 ล้านล้านบาท ระบุหลัง พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้กับกองทุนรวม โดยเฉพาะมันนี่มาร์เก็ต วอนภาครัฐเห็นใจ ให้ความคุ้มครองถึงเงินฝากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและอาร์เอ็มเอฟ เช่นเดียวกบข. และประกันสังคม พร้อมขอให้ ก.ล.ต. ร่วมผลักดันกองทุนรวมเพื่อการศึกษา ควบคู่การเสนอให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทยพิจารณาด้วย
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 5 – 6 ปีข้างหน้านี้ สมาคมฯ คาดว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวจากปัจจุบันที่มีมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งระบบอยู่ทั้งสิ้น 2.23 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นบัญชี 3.40 ล้านบัญชี โดยแบ่งออกเป็นธุรกิจกองทุนรวม 1.61 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวน 1.48 ล้านบัญชี , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีจำนวน 0.44 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1.92 ล้านบัญชี และกองทุนส่วนบุคคล 0.18 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1,185 บัญชี
สำหรับแนวโน้มการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมจะยังคงมีการเติบโตมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากในช่วงปลายปีนักลงทุนจะให้การตอบรับเข้ามาลงทุนกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ)
ขณะเดียวกัน หลังจากที่มี พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าในช่วง 1 -2 ปีข้างหน้านี้จะส่งผลให้กองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกองทุนประเภทดังกล่าวมีสภาพคล่องใกล้เคียงกับเงินฝาก อีกทั้งยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและยังไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย ซึ่งเม็ดเงินในกองทุนมันนี่มาร์เกตจะไหลเข้ามาเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบันเงินฝากเงินแบบประเภทออมทรัพย์และแบบกระแสรายวันมีอยู่ประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันเงินฝากทั้งระบบมีอยู่ทั้งสิ้น 6.93 ล้านล้านบาท
"หลังจากที่ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้แล้ว เชื่อว่าทุกคนจะต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยี ตลอดจนเตรียมความพร้อมทั้งในด้านของบุคลากรและระบบการทำงานให้ทันกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงต้องทำการศึกษา พ.ร.บ. ดังกล่าวให้รอบครอบด้วย นอกจากนี้แล้วต้องมีการรวมตัวกันของธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" นางวรวรรณ กล่าว
นางวรวรรณ กล่าวว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวควรจะคุ้มครองให้ครอบคลุมไปถึงเงินฝากของกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) แทนที่จะคุ้มครองให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันสังคม(สปส.) เท่านั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในทุก ๆ ฝ่าย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าภาครัฐจะมีเหตุมีผลและคิดอย่างรอบครอบในการที่จะคุ้มครองกองทุนใดบ้างและต้องมีความเท่าเทียมกันด้วย ทั้งนี้ทางสมาคมฯ จะทำเรื่องเพื่อร้องขอความคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย
สำหรับแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการศึกษา ถือว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ยังไม่มีใครนำเรื่องเสนอเข้าไปพิจารณา สมาคมฯ จึงอยากให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตั้งใจที่จะทำการผลักดันในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ สมาคมฯ เองได้เล็งเห็นแล้วว่า กองทุนดังกล่าวเป็นประโยชน์และจะนำเสนอเข้าไปในสภาธุรกิจตลาดทุนต่อไป
"จะเห็นได้ว่ากองทุนรวมเพื่อการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้รับการตอบรับและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะจะเห็นได้ว่าจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา จากปี 1998 มีเพียง 3 กองทุนเท่านั้น จนมาถึงช่วงสิ้นปี 2007 กองทุนดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 130 กองทุน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 4.42 ล้านล้านบาท" นางวรวรรณ กล่าว
ด้านนายกฤษดา อุทยานิน ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับเรื่อง พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ เชื่อว่ายังคงไม่มีธนาคารไหนจะล้มลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกธนาคารคงจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังมีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ด้าน ที่เงินจากธนาคารขนาดใหญ่จะไหลไปยังธนาคารขนาดเล็ก และเงินจากธนาคารขนาดเล็กจะไหลมายังธนาคารขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าธนาคารของรัฐน่าจะได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะมีความแข็งแกร่งและมั่นคงในด้านของเงินทุนสำรอง โดยเฉพาะธนาคารออมสินซึ่งได้รับเงินสนับสนุนตั้งแต่การก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันมีเงินกองทุนสำรองอยู่กว่า 20% จึงสะท้อนถึงความมั่นคงของแบงก์ดังกล่าวได้
|
|
|
|
|