Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
ประภัสร์ จงสงวน มือกฎหมายทางด่วน             
 


   
search resources

ประภัสร์ จงสงวน
Consultants and Professional Services
Law




หนุ่มนักเรียนนอกผู้นี้หมายมั่นปั่นมือว่าเมื่อเรียบจบออกมาจะเป็นตำรวจ แต่ความตั้งใจที่มีอยู่เดิมต้องแปรเปลี่ยนไปด้วยเหตุผลส่วนตัวบางประการ ในขณะที่ความสามารถขณะนั้น ได้ผลักดันให้เขาเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองนิติการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ประภัสร์ จงสงวนเป็นบุตรชายของส่องศรี-สุพจน์ จงสงวนซึ่งรับราชการอยู่กระทรวงการต่างประเทศโดยมีตำแหน่งในปัจจุบันเป็นอัครราชทูตไทยประจำประเทศบรูไน และเป็นพี่ชายของณัฐศิลป์ จงสงวน กรรมการผู้จัดการบริษัทมอร์แกนเกรนเฟลล์ ไทย

ประภัสร์เรียนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ CALIFORNIA STATE UNIVERSITY AT FRESNO ในสาขาอาชญากรโดยที่ประภัสร์คิดว่าเป็นวิชาที่ตรงที่สุดกับความตั้งใจที่จะออกมาเป็นตำรวจ

และแล้วความคิดที่จะสมัครเป็นตำรวจที่แคลิฟอร์เนียหลังจากเรียนจบก็ต้องยกเลิกไปเมื่อประภัสร์ถูกแม่ขอร้องให้กลับประเทศไทย พร้อมกับความตั้งใจจะกลับมาเป็นตำรวจเมืองไทย

แต่เมื่อกลับมาแล้วเห็นว่าไม่ไหวจึงเปลี่ยนใจเพราะคิดว่าคงไม่เหมาะสมกับตนเอง จึงได้สมัครเข้าทำงานกับสำนักงานทนายความของอังกฤษ มงคลนาวินในปี 2523 รับผิดชอบทางด้านงานที่ปรึกษากฎหมายทั่วไปอย่างเช่นสัญญาเช่าหรือสัญญาจำนอง ในขณะเดียวกันก็รับผิดชอบงานด้านสิทธิบัตร (เครื่องหมายการค้า) อยู่ที่บริษัทเทพศรีหริศ ซึ่งเป็นสำนักงานทนายความเก่าแก่ที่อังกฤษซื้อกิจการมาจากเจ้าของเดิม

ในช่วงขณะนั้นเองได้มีคดีหนึ่งเกิดขึ้น โดยที่สำนักงานทนายความของอุกฤษเป็นทนายให้กับทางบริษัทผู้รับเหมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทางพิเศษฯ ในเรื่องการก่อสร้างทางด่วนดินแดง ทำให้ประภัสร์ได้มีโอกาสรู้จักกับ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับการทางพิเศษฯ ในขณะนั้น

จุลสิงห์ได้ชักชวนให้ประภัสร์มาทำงานที่การทางพิเศษฯ ด้วยเห็นว่าหน่วยก้านดี และที่สำคัญคือความสามารถทางด้านภาษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทางพิเศษฯขณะนั้น

ประภัสร์ตัดสินใจมาทำงานที่การทางพิเศษฯ จากความเห็นชอบของครอบครัวที่ต้องการให้ลูกชายเข้ารับราชการ

"ตอนนั้นคิดว่าจะมาช่วยเขาจริง ๆ เนื่องจากขณะนั้นการทางฯ รับผิดชอบทางด่วน มีผู้รับเหมาต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะเงินกู้เพื่อการพัฒนาจาก OECF ความจำเป็นในเรื่องของภาษาจึงเกิดขึ้น ในขณะที่ปัญหาของการทางฯ ช่วงนั้นนักกฎหมายแท้ ๆ ที่สามารถโต้ตอบภาษาอังกฤษได้อย่างทันทีทันควันขาดแคลน ผมทราบเรื่องนี้จากคุณจุลสิงห์จึงคิดว่ามาช่วยเขาได้ก็เลนมา" ประภัสร์กล่าวถึงเหตุผลของการตัดสินใจมาอยู่การทางฯ

ประภัสร์เข้ามาร่วมงานกับการทางฯ ในตำแหน่งนิติกรระดับ 7 เมื่อปี 2528 เพียงระยะเวลาปีครึ่งก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองนิติการ จากนั้นอีกปีครึ่งจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองนิติการเมื่ออายุได้เพียง 33 ปี นับเป็นผู้อำนวยการกองที่มีอายุน้อยที่สุดในการทางฯ

การที่ประภัสร์ก้าวขึ้นมาในตำแหน่งผู้อำนวยการกองอย่างรวดเร็วทำให้ประภัสร์ถูกมองไปว่าเป็น "เด็กเส้น" ของผู้ใหญ่ในการทางฯ ซึ่งประภัสร์เองก็รู้สึกถึงเรื่องนี้ดี

"ตอนแรกก็มีปัญหาเพราะผู้บังคับบัญชาไม่ค่อยยอมรับ แต่พอเขาเห็นเราทำงานได้การยอมรับก็ตามมา ผมก็ไม่เชื่อเหมือนกันว่าเมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้คนจะยอมรับ เห็นหน้าอ่อน ๆ เข้ามาในตำแหน่งสูง ๆ คงคิดว่าต้องเส้นใครเข้ามาทำงานคงไม่เป็น แต่ตอนหลังความคิดก็เปลี่ยนเมื่อเราทำได้เขาก็ยอมรับในที่สุด เป็นธรรมดาของคน"

สิ่งที่ประภัสร์พยายาทำหลังจากได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการ คือพยายามปรับทัศนคติของพนักงานในกองให้มีความรับผิดชอบต่องาน ทำอย่างไรให้การดำเนินงานของกองราบรื่นที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อคนที่มาใช้บริการของกองนิติการโดยเฉพาะการทำงานที่มีเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะทุกนาทีทุกชั่วดมงหมายถึงดอกเบี้ยที่คิดเป็นตัวเงิน ตราบใดที่ข้อสัญญายังไม่ออก งานก็ไม่สามารถทำกันได้ ความล่าช้าจะเกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ความเสียหายก็จะเกิดตามมา

หน้าที่ในความรับผิดชอบของกองนิติการคืองานด้านกฎหมายของการทางฯ ทั้งหมดรวมถึงสัญญาต่าง ๆ อย่างเช่นสัญญารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 หรือขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 ซึ่งอยู่ระหว่างการให้วิศวกรทำการศึกษาความเป็นไปได้

เมื่อพูดถึงภาระหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของการทางฯ ให้มากที่สุด ประภัสร์กลับมองว่า การรักษาผลประโยชน์ควรให้เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่ายการที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนแน่นอนว่าองค์กรธุรกิจต้องแสวงหากำไร เพียงแต่ว่ากำไรนั้นควรจะเป็นเท่าไหร่ เงื่อนไขเหมาะสมหรือไม่ เพราะความผูกพันต่อสัญญาแต่ละครั้งยาวนานถึง 30 ปี ถ้าสัญญาไม่ดีบาปจะตกต่อคนรุ่นหลังต่อไปจึงต้องพยายามดูกันอย่างดีที่สุด

การยกร่างสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเป็นผลงานท่ประภัสร์มีส่วนในความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ นอกเหนือจากการออกกฎหมายอื่น ๆ ของการทางฯ

โดยส่วนตัวแล้วประภัสร์ยอมรับว่า เขามีความคิดไม่เหมือนคนอื่น อย่างกรณีของการตัดสินใจเข้ามาอยู่ที่การทางฯ ทั้ง ๆ ที่ได้รับเงินเดือนเพียงเดือนละ 6-7 พันบาทในขณะที่เคยได้รับจากที่เดิมถึง 2 หมื่นเศษ แต่ประภัสร์กลับกล่าวถึงเรื่องนี้วา "ผมไม่ได้รวย แต่ผมไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน ผมไม่เคยคิดว่าจะต้องทำงานให้ได้เงินเดือนเป็นแสน ๆ คนเราความสุขมันไม่ได้อยู่ตรงนี้ผสมสามารถรักษาผลประโยชน์ให้กับคนส่วนรวมได้ มันเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งที่ได้เห็นภาพจากการไม่มีอะไร มันผุดขึ้นมาเป็นสะพาน เป็นทางด่วนและเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนั้น ซึ่งผมคิดว่าความภูมิใจอันนี้บางทีเงินก็ซื้อมาไม่ได้"

และดูเหมือนความคิดนี้จะสวนทางกับโรคสมองไหลที่กำลังเกิดขึ้นกับหน่วยงานราชการของรัฐเป็นอย่างยิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us