Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
เบื้องหลังการเจาะตลาดของ ซีเคียวริคอร์             
โดย ศิริเพ็ญ กระตุฤกษ์
 


   
search resources

ซีเคียวริคอร์ ประเทศไทย




ใครเลยจะเคยคิดว่าธุรกิจรักษาความปลอดภัยจะเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าเฉียดหมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งที่วัฒนธรรมของธุรกิจไทยยังไม่ตื่นตัวมากพอต่อการให้ความสำคัญลงทุนซื้อบริการนี้ เหตุนี้แม้ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจนี้กลับต้องเผชิญปัญหาที่คาดไม่ถึง นั่นคือเรื่องของ "คน" การเปลี่ยนแนคิดให้เห็นถึงความมั่นคงและมีเกียรติในอาชีพนี้ จึงเป็นความพยายามของทุกบริษัท แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย

การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมามีผลกระทบโดยตรงต่อวิวัฒนาการของธุรกิจรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะกับการเข้ามาขยายธุรกิจสาขาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย อันมีผลให้ภาพลักษณ์ของคำว่า "แขกยาม" ในอดีตกลับกลายเป็นภาพของ "เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย" (รปภ.) ในปัจจุบัน

"แขกยาม" ซึ่งเป็นคนสัญชาติอินเดียในอดีต มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยให้กับร้านขายทองก่อนที่บทบาทหน้าที่นี้จะถูกโอนมาที่ตำรวจ (แก่ ๆ ) บางคนด้วยเหตุผลว่า เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบตำรวจเป็นเครื่องประกันว่า การประทุษร้ายของพวกมิจฉาชีพได้ดีที่สุด

ความนิยมในการใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นแขกยามเฝ้าร้านขายทองได้รับความนิยมจากพ่อค้าร้านขายทองอย่างมาก ถึงกับมีคำกระทบเทียบเปรียบเปรยเสมอว่า ตำรวจแก่ ๆ บางคนมักเอาเวลาราชการไปหากินเป็นยามร้านทองมากกว่าจับโจร

แต่แขกยามก็ดีหรือตำรวจที่เฝ้าร้านทองก็ดี พวกนี้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ได้อยู่ในรูปธุรกิจเต็มตัว

การทำธุรกิจรักษาความปลอดภัยเกิดขึ้นอย่างเต็มตัวเริ่มเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วนี้เอง เมื่อบริษัทซีเคียวริคอร์แห่งอังกฤษ ได้เข้ามาร่วมลงทุนกับ วารินทร์ พูนศิริวงศ์ แห่ง เวิลด์เอ็กซเปรส และแบงก์กรุงเทพ ก่อตั้งซิเคียวริคอร์ประเทศไทยขึ้น

การตื่นตัวจากการเข้ามาของคู่แข่งหน้าใหม่ที่มีความพร้อมในเรื่องของระบบเทคโนโลยี และเงินทุนทำให้บริษัทที่ทำธุรกิจรักษาความปลอดภัยของไทย ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในธุรกิจ โดยเฉพาะการให้บริการที่ไม่ใช่มีแต่เพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเท่านั้น

การเข้ามาของซีเคียวริคอร์ ดูเหมือนจะเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัด ถึงโอกาสในการสร้างธุรกิจจากรูปแบบของการให้บริการด้านรักษาความปลอดภัยที่หลากหลาย บริษัทซีเคียวริคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2525 โดยเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนของผู้ถือหุ้น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย ซึ่งมีคนในตระกูลพูนศิริวงศ์ และธนาคารกรุงเทพ ถือหุ้นรวมกัน 51% อีกกลุ่มหนึ่งเป็นของบริษัท ซิเคียวริคอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากอังกฤษ ถือหุ้นที่เหลือ 49% โดยปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 24 ล้านบาท

จิโรจน์ หิรัญสมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของซีเคียวริคอร์ (ประเทศไทย) ได้เล่าถึงเบื้องหลังของการร่วมทุนกับซีเคียวริคอร์ในครั้งนั้นว่า "เนื่องจากตระกูลพูนศิริวงศ์ทำธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศมานานกว่า 20 ปี โดยใช้ชื่อบริษัทเวิลด์เอ็กซเปรส จำกัด ในขณะนั้นได้มีองค์กรหลายแห่งมอบหมายให้บริษัทนี้ขนของมีค่าโดยใช้รถคาร์โกธรรมดาที่บริษัทมีอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าความเสี่ยงมีสูง

จากช่องว่างตลาดที่มีอยู่นี้ ทางผู้บริหารบริษัท จึงมีแนวความคิดที่จะขยายธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และจากชื่อเสียงในประสบการร์ความชำนาญด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีมานานกว่า 50 ปีของซีเคียวริคอร์ ทำให้ผู้บริหารเลือกที่จะร่วมทุนกับบริษัทนี้ในที่สุด"

ก่อนหน้าที่ซิเคียวริคอร์จะเข้ามาเปิดธุรกิจด้านรักษาความปลอดภัยในประเทศไทยนั้น ได้มีบริษัทที่ให้บริการด้านนี้อยู่จำนวนไม่น้อย แต่บริษัทที่มีอยู่จำให้บริการรักษาความปลอดภัยเพียงอย่างเดียว คือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซีเคียวริคอร์จึงเป็นบริษัทแรกในขณะนั้นที่เปิดให้บริการรักษาความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายเงินสดและทรัพย์สินมีค่า

อาจเป็นเพราะความแปลกใหม่ของบริการด้านนี้ ทำให้การเปิดตลาดของซีเคียวริคอร์ในช่วงแรกเป็นไปด้วยความยากลำบาก

ธนาคารกรุงเทพดูเหมือนจะเป็นลูกค้าคนไทยรายแรกของซีเคียวริคอร์สำหรับการใช้บริการขนเงินสดให้กับสาขาของธนาคารกว่า 100 แห่งในเขตกรุงเทพฯ ในขณะที่ธนาคารรายอื่นของไทยยังใช้พนักงานของตนเองทำหน้าที่นี้

ทางออกของซีเคียวริคอร์ในการหาลูกค้าขณะนั้น คือ ธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย (มีทั้งหมด 14 ธนาคาร) ซึ่งรู้จักชื่อเสียงของซีเคียวริคอร์เป็นอย่างดี และในที่สุดซีเคียวริคอร์ก็สามารถยึดตลาดการให้บริการขนเงินสดกับธนาคารต่างประเทศกลุ่มนี้ได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากที่ให้บริการกับธนาคารกรุงเทพผ่านไป 1 ปี

ไม่เพียงเท่านั้น โรงงานต่าง ๆ ก็ตกเป็นลูกค้าเป้าหมายสำคัญของซีเคียวริคอร์ด้วย ก่อนหน้าที่ซีเคียวริคอร์จะเข้ามานั้น พวกโรงงานต่าง ๆ ประสบปัญหาในการเบิกเงินเพื่อนำมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้กับพนักงานทุกเดือน โดยเฉพาะโรงงานที่มีการจ่ายเงินเดือนมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ดังนั้น บริการของซีเคียวริเคียว จึงสอดรับกับความต้องการที่มีอยู่ นั่นคือ บริการนำเช็คเงินสดที่โรงงานออกให้ไปเบิกเงินสดที่ธนาคารและนำไปส่งให้กับโรงงาน ซึ่งลูกค้ารายแรกที่ใช้บริการด้านนี้ของซีเคียวริคอร์ คือ กลุ่มบริษัทซัมมิท

แต่ดูเหมือนโอกาสจะเอื้ออำนวยได้ไม่นานนัก เพราะช่วงที่ซีเคียวริคอร์เข้ามาเปิดตลาดด้านนี้เป็นช่วงเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยได้เปิดบริการเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงโรงงานหันมาใช้บริการจากเครื่อง ATM ในการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานของตน จึงเป็นเหตุให้บริการด้านนี้ของซีเคียวริคอร์ต้องเงียบหายไป

แต่การแสวงหาช่องทางการเจาะตลดาของซีเคียวริคอร์ก็ยังต้องไม่จนตรอก เมื่อเทคโนโลยีระบบการชำระเงินอย่างเอทีเอ็มมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

ซีเคียวริคอร์ เริ่มรื้อฟื้นบริการด้านนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสบช่องจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการโอนเงินเข้าบัญชีเงินเดือนพนักงานของลูกค้า ซึ่งธนาคารจะเรียกเก็บครั้งละ 10 บาทต่อคนต่อครั้ง จากเดิมที่ไม่เคยเก็บมาก่อน ค่าใช้จ่ายจากค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นนี้บางบริษัทก็ถือเป็นรายจ่ายของบริษัท แต่บางบริษัทก็นำไปหักจากเงินเดือนพนักงานอีกทีหนึ่ง

และเมื่อบวกเข้ากับความไม่สะดวกในการเบิกถอนเงินในช่วงวันที่เงินเดือนออก โดยเฉพาะการเสียเวลาเข้าคิวเพื่อถอนเงิน ทำให้ซีเคียวริคอร์มองเห็นโอกาสที่จะกลับเข้ามาใหม่ โดยให้ชื่อบริการนี้ว่า "PAY PACK"

"PAY PACK" เป็นบริการรับจ้างบรรจุเงินใส่ซองให้พนักงานหรือคนงานตามโรงงาน โดยที่ซีเคียวริคอร์ จะเป็นผู้นำเช็คของลูกค้าไปเบิกเงินสดจากธนาคาร และนำมาแบ่งบรรจุใส่ซองที่ออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งพนักงานแต่ละคนที่ได้รับไปสามาถตรวจสอบจำนวนเงินได้โดยไม่ต้องแกะหรือฉีกซองออก เมื่อบรรจุเสร็จก็นำไปส่งถึงโรงงานเพื่อแจกให้กับพนักงาน

บริการ PAY PACK เพิ่งเริ่มได้ประมาณ 2-3 เดือน มีลูกค้าที่ใช้บริการอยู่ 5 ราย และจำนวนซองที่บรรจุตกเดือนละ 12,000 ซอง จุดขายอันหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าหันมาใช้บริการ คือ การคิดค่าบริการถูกกว่าธนาคาร ในขณะที่พนักงานก็สะดวกได้เงินสดไปเลย โดยไม่ต้องไปรอคิวเบิกเงิน

การเข้ามาจับงานบริการขนส่งเคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าเป็นรายแรก ทำให้ซีเคียวริคอร์ กลายเป็นผู้นำในตลาดส่วนนี้ จากการเริ่มต้นด้วยรถ 10 คัน (ใช้งานจริงในช่วงแรกเพียง 3 คันที่เหลืออีก 7 คันจอดไว้เฉย ๆ ) จนปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 35 คัน และจะเพิ่มอีก 16 คันในสิ้นปีนี้ หลังจากที่ได้ธนาคารกสิกรไทยเข้ามาเป็นลูกค้ารายล่าสุด

และสำหรับบริการรักษาความปลอดภัยไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ซีเคียวริคอร์ยังมีบริการรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ อีก อย่างเช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปอลดภัย ระบสัญญาณรักษาความปลอดภัย

"บริการด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในตอนแรก เราไม่ได้คิดทำเป็นจริงเป็นจัง บังเอิญก่อนที่จะเปิดแผนกนี้ ทางไทยเชลล์ ซึ่งมาขุดเจาะน้ำมันที่ลานกระบือ ได้มาว่าจ้างให้เราส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปให้ 100 กว่าคน เราก็ลองรับดูปรากฏว่า ทำรายได้ดีกว่า เราจึงหันมาเปิดแผนกนี้ขึ้น จนถึงปัจจุบัน เรามีพนักงานเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งหมดประมาณ 1,000 คนเศษ" จิโรจน์ เล่าถึงที่มาของการเปิดให้บริการด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

ในส่วนของระบบสัญญาณรักษาความปลอดภัยนั้น ซีเคียวริคอร์ ได้นำเข้ามาให้บริการเมื่อ 2 ปีก่อน โดยมีระบบต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ระบบควบคุมภายในอาคาร ระบบล็อกประตู ตลอดจนระบบทุกประเภทที่เกี่ยวกับการดักจับ และสัญญาณเตือนภัยทุกชนิด

ในต่างประเทศ ระบบสัญญาณรักษาความปลอดภัยเป็นระบบที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตึกสูงจะมีห้องควบคุมภายในอาคาร ในขณะที่เมืองไทยยังไม่มี และความนิยมในระบบนี้ยังอยู่ในอัตราที่น้อยมาก ทั้งนี้เป็นเพราะการลงทุนครั้งแรกในการติดตั้งระบบสัญญาณดังกล่าวใช้เงินสูงมาก เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการใช้บริการรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

กระทั่งถึงปัจจุบัน ตลาดกลุ่มนี้ก็ยังขยายตัวได้ไม่มากนัก ลูกค้าที่ซีเคียวริคอร์ได้ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าอัญมณีที่ซื้ออุปกรณ์ไปติดตั้ง นอกจากนี้ก็มีงานด้านบริการดูแลรักษาเครื่องให้กับผู้ที่ติดตั้งระบบสัญญาณอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม ซีเคียวริคอร์ มีความเชื่อมั่นเต็มที่ว่า ตลาดนี้จะเป็นตลาดใหญ่ในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะพฤติกรรมการยอมรับที่จะลงทุนซื้อบริการด้านการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินมีค่าจะมีมากขึ้นตามระดับความเสี่ยงภัยของอาชญากรรมปล้น และจี้ที่นับวันจะสูงขึ้นในสังคมเมืองหลวง

ถึงแม้ว่า ซีเคียวริคอร์ จะไม่ใช่บริษัทต่างชาติรายแรกที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยก็ตาม แต่การที่ซีเคียวริคอร์ได้นำเอาบริการที่ครบวงจรในธุรกิจรักษาความปลอดภัยเข้ามาเปิดตลาด ถือได้ว่า เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจบริการด้านนี้ตื่นตัวและได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

"ธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัย มันจะคุ้มค่าต่อการลงทุนมันต้องขายเป็นแพ็คเกจ คือ มีบริการทุกอย่างให้ลูกค้าตามความต้องการ" นักการตลาดวิเคราะห์อนาคตการเติบโตและอยู่รอดของธุรกิจนี้

สิ่งนี้เอง คือ กลยุทธ์การที่บริษัทรักษาความปลอดภัย บางบริษัทของไทยได้มีการพัฒนาธุรกิจของตนเอง ด้วยการขยายการให้บริการด้านอื่นเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพียงอย่างเดียว อย่างเช่น การให้บริการด้านขนส่งเงินสดและทรัพย์สินมีค่า ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการอยู่หลายบริษัท เช่น บริษัท วี.ไอ.พี. บริษัทธนพอร บริษัทกรุ๊ป 4 เป็นต้น

"การที่บริการด้านขนส่งเงินสด และทรัพย์สินมีค่า ยังมีบริษัทที่ให้บริการน้อยรายโดยเฉพาะบริษัทของคนไทย ทั้งนี้เป็นเพราะการลงทุนในส่วนของอุปกรณ์ด้านนี้เป็นต้นว่า รถหุ้มเกราะ หรือระบบการป้องกันภัยต้องใช้วงเงินในการลงทุนสูง ในขณะที่ความเชื่อถือหรือความมั่นใจของลูกค้าต่อบริการด้านนี้ยังมีไม่มากนัก ดังนั้น การขยายบริการด้านนี้ยังอยู่ในวงไม่กว้างนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรถให้บริการเพียงไม่กี่คันเท่านั้น" สมบัติ พิมแสง เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัยกล่าวถึงข้อจำกัดที่ทำให้บริการด้านขนทรัพย์สินมีค่าขยายตัวได้ไม่มากนัก

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กรณีที่ซีเคียวริคอร์ ได้รับมอบหมายงานให้ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย และขนเงินสดจากธนาคารกสิกรไทยที่มีสาขาทั่วกรุงเทพฯ มากกว่า 100 สาขานั้น ซีเคียวริคอร์ไม่สามารถให้บริการได้ทันทีในช่วงเวลาขณะนั้น โดยเฉพาะด้านบริการขนเงินสดที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนเพิ่มในส่วนของการจัดสร้างรถหุ้มเกราะ (รถคันหนึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 1 ล้านบาท) ซึ่งตามแผนที่วางไว้สำหรับงานบริการใหม่ 100 กว่าสาขานั้น จะต้องเพิ่มรถทั้งหมด 16 คัน โดยทยอยเพิ่มเดือนละ 4 คัน เพื่อให้ครบภายในสิ้นปีนี้ในขณะที่พนักงานในแผนกนี้ก็ต้องรับเพิ่มจาก 120 คนที่มีอยู่เดิมเป็น 200 คน

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการให้บริการขนส่งทรัพย์สินมีค่าก็คือ ความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญเสียเกิดขึ้นกับทรัพย์สินมีค่าเหล่านั้น บริษัทที่ให้บริการจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายเต็ม 100% ในขณะที่บริการทางด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องชดใช้ค่าเสียหายเหมือนกันแต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงกับบริษัทผู้ว่าจ้างเท่านั้น

และในกรณีนี้ บริษัทต่างชาติที่มีสาขาทั่วโลก มักจะได้เปรียบกว่าในเรื่องของการทำประกันภัย ซึ่งจะทำทีเดียวครอบคลุมทุกประเทศที่มีสาขาตั้งอยู่ ทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกลง ดังนั้นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จึงต่ำกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทในประเทศที่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันในอัตราที่สูง ดังนั้น ราคาค่าบริการจึงแตกต่างตามไปด้วย

ในช่วง 10 ปีที่ผ่าน ธุรกิจด้านรักษาความปลอดภัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี โดยได้รับการยอมรับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานภาคเอกชน จะเห็นได้จากการหันมาใช้บริการเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากบริษัทรักษาความปลอดภัย แทนการรับพนักงานเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวในฐานะพนักงานประจำของบริษัท

อีกประการหนึ่ง การเติบโตของบริษัทรักษาความปลอดภัยจาก 5-10 บริษัท เมื่อ 20 ปีก่อนเพิ่มจำนวนสูงขึ้นกว่า 500 บริษัทในปัจจุบันก็น่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้เป็นอย่างดี แต่การที่บริษัทให้บริการด้านรักษาความปลอดภัยขยายตัวในอัตราที่รวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของคุณภาพในการให้บริการซึ่งเกี่ยวโยงโดยตรงกับภาพพจน์ของธุรกิจประเภทนี้

"บริษัทที่เปิดกันมาในปัจจุบัน ส่วนมากจะมาจากการแตกตัวของพนักงานที่เคยอยู่ในอาชีพนี้มาก่อนธุรกิจนี้บางคนคิดว่ามันง่าย เห็นเขาเปิดกันก็เปิดบ้าง แต่เวลาทำจริง อาจทำไม่ได้เหมือนบริษัทที่ตัวเองเคยอยู่หรือเหมือนกับที่คนอื่นทำเพราะองค์ประกอบไม่พร้อม

ปัญหาที่ตามมา คือ การไปรับค่าบริการที่ต่ำกว่าคนอื่นเมื่อตัวเองไม่พร้อม เมื่อรับค่าบริการมาต่ำก็ต้องจ่ายค่าแรงให้กับพนักงานในอัตราที่ต่ำ จึงส่งผลกระทบให้ผู้ที่จะมาทำงานในอาชีพนี้ไม่อยากเข้ามาทำ และไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดมันก็ทำให้ภาพพจน์ออกมาในเชิงลบ" สมบัติ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากประสบการณ์ในอาชีพที่มีมากกว่า 11 ปี

และดูเหมือนการตัดราคาจะเป็นอาวุธสำคัญในการช่วงชิงตลาดของธุรกิจให้บริการรักษาความปลอดภัย จนทำให้คุณภาพของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูจะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรนัก

"การกระทำเช่นนี้ คือ วิธีการทางการตลาดที่ไม่ถูกต้อง เพราะจุดขายของธุรกิจนี้มันอยู่ที่การสร้างความเชื่อถือในคุณภาพของบริการ ไม่ใช่ราคา" นักการตลาดชี้ให้เห็นจุดขายที่แท้จริงของธุรกิจนี้

การรับค่าบริการมาในอัตราที่ต่ำ ในขณะที่บริษัทจะต้องอยู่ได้และมีกำไร ดังนั้น วิถีทางเดียวที่จะอยู่รอดก็คือ บริษัทจะต้องบีบอัตราค่าแรงจากพนักงาน

สมมติว่า บริษัทรับงานจากผู้ว่าจ้างมาในราคา 3,600 บาทต่อคนต่อเดือน ในขณะที่อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตกวันละ 100 บาท ถ้าบริษัทต้องจ่ายให้พนักงานเดือนละ 3,500 บาท ที่เหลือ 100 บาทจะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานหรือไม่ ถ้าไม่บริษัทก็ต้องไปบีบอัตราค่าแรงให้พนักงานต่ำกว่านั้น

ซึ่งนั่นหมายถึงการหลบเลี่ยงข้อกฎหมายแรงงาน และการที่จ่ายค่าแรงให้ในอัตราที่ต่ำกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดนั้น จะได้คนที่มีคุณภาพอย่างไร นั่นเป็นข้อคิดที่นักบริหารในฐานะผู้ว่าจ้างจะต้องคิดหนัก

เช่นเดียวกับพนักงานที่ถูกว่าจ้าง ก็จะต้องคิดหนักเช่นกันในขณะที่มีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้อีกมากมายที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการเปลี่ยนงานของพนักงาน จึงเป็นเหตุการณ์ปกติทั่วไปของธุรกิจนี้

ในปี 2530 ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัยขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก รวมถึงการยกระดับงานรักษาความปลอดภัยให้เป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้นด้วย โดยที่ปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 76 บริษัท มีวารินทร์ พูนศิริวงศ์ เป็นนายกสมาคม

อาจเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดมาเป็นข้อบังคับในการเปิดบริษัทรักษาความปลอดภัย ดังนั้นคระกรรมการของสมาคมฯ จึงเห็นสมควรในการที่จะผลักดันให้สมาคมฯ เข้าไปมีส่วนในคตวามรับผิดชอบต่อการหามาตรการ หรือหลักเกณฑ์ในการเปิดบริษัทให้บริการรักษาความปลอดภัย ซึ่งควรจะมีพื้นฐานที่เพียงพอรวมถึงกำลังเงินและความรู้ของผู้ประกอบการด้วย ซึ่งเรื่องนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เช่นเดียวกับแนวความคิดที่จะให้สมาคมฯ มีบทบาทในการกำหนดค่าบริการขั้นต่ำของธุรกิจด้านนี้

ปัญหาที่สำคัญที่สุดของธุรกิจให้บริการด้านรักษาความปลอดภัย ซึ่งทุกบริษัทกำลังประสบอยู่ก็คือ "การขาดกำลังคน"

ในขณะที่ปัจจุบันธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัย จะได้รับการยอมรับ แต่กลับมีจุดบอดที่บริษัทรักษาความปลอดภัยเกือบทุกแห่งพยายามต่อสู้มาโดยตลอด นั่นคือ คนที่จะมาประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังมีความรู้สึกว่า งานด้านนี้ต่ำต้อย งานด้านนี้จะต้องเป็นงานสุดท้ายที่จะทำ การต่อสู้ที่ว่านี้จึงอยู่ที่ทำอย่างไรจะให้ความรู้สึกนี้หายไป พร้อมกับความรู้สึกที่ว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ รายได้ดี และมีความก้าวหน้า

"ปัญหาเรื่องบุคลากรสามารถแก้ได้ ถ้าจ่ายให้เขาสูง จะเอาคุณภาพแต่จ่ายต่ำจะหาได้อย่างไร ที่ว่าสูงนี้ควรจะให้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ในเมื่ออาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีความรับผิดชอบสูง ก็ควรให้เขามีความสำคัญ และคุณได้จ่ายให้เขาตามความสำคัญอย่างที่คิดหรือไม่ บริษัทต้องหันกลับมาดูในจุดนี้ด้วย" สมบัติ กล่าวถึงปัญหากาขาดบุคลากรในวิชาชีพนี้

ความเป็นจริงที่วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพที่ไม่มีในหลักสูตรการเรียนการสอนโดยเฉพาะในสถาบันการศึกษามาก่อน ดังนั้น การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจึงตกเป็นหน้าที่ของบริษัทโดยตรง ซึ่งนั่นเป็นบทพิสูจน์อันหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความได้มาตรฐานของบริษัทนั้น ๆ โดยเฉพาะความมีคุณภาพของคนในบริษัทด้วย

บริษัท วี.ไอ.พี.สเตชั่น จำกัด เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างมาตรฐานให้กับธุรกิจรักษาความปลอดภัย ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนวิชาชีพรักษาความปลอดภัยขึ้น เมื่อปี 2530 โดยได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นโรงเรียนของเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพรักษาความปลอดภัย

คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าว จะเป็นชายหรือหญิงอายุตั้งแต่ 21 - 47 ปี ความรู้อย่างต่ำ ป.4 มีความสูงตั้งแต่ 160 ซม. ขึ้นไป น้ำหนักชาย 55 กก. หญิง 40 กก. เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและจิตใจสมบูรณ์ ผ่านการตรวจรับรองจากแพทย์แล้ว โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนการสอนทั้งหมด 5 สัปดาห์ ค่าเล่าเรียนคนละ 500 บาท

"เรารับจ้างฝึกและฝึกให้กับตัวเราเองด้วย เมื่อก่อนนักเรียนที่จบจากที่นี่ก็แยกย้ายกันไปสมัครงานตามบริษัทต่าง ๆ แต่ปัจจุบันจบแล้ว วี.ไอ.พี.จะรับหมด" สมบัติพูดถึงนักเรียนที่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้มีโอกาสได้ไปอยู่กับบริษัทอื่นมากนัก พร้อมกับยอมรับว่า ปัจจุบันค่าบริการด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทอยู่ในอัตราที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นคือ 5,000 บาทต่อคนต่อเดือน

ปัจจุบัน ธุรกิจรักษาความปลอดภัยกลายเป็นอุตสาหกรรมการให้บริการที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ใครจะคาดคิด โดยเฉพาะมูลค่าตลาดที่คิดคำนวณคร่าว ๆ จากจำนวนบริษัทที่มีอยู่ทั้งหมด 500 บริษัท และจากอัตรากำลังพลโดยเฉลี่ยของแต่ละบริษัทคือ 300 คน ในขณะที่อัตราค่าบริการโดยเฉลี่ย 4,000 คนต่อคนต่อเดือน ตัวเลขเกือบ 1 หมื่นล้านบาทที่ได้ออกมาคงทำให้หลายคนถึงกับนั่งเก้าอี้ไม่ติด

ในธุรกิจที่เปิดกว้างแบบไม่มีที่สิ้นสุดและยังไม่มีใครครอบครองตลาดอย่างแท้จริงเช่นนี้ จึงไม่ผิดอะไรกับยุคที่ว่ามือใครยาวสาวได้สาวเอาเท่าไหร่นัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us