Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
เผยสูตรใหม่ค่าไฟเพิ่ม เน้นประหยัดเป็นหลัก             
 

 
Charts & Figures

เปรียบเทียบค่าไฟฟ้า


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (EPPO)

   
search resources

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
Electricity




เราต้องยอมรับว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้ใช้ไฟมักจะจ่ายค่าไฟต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไฟไม่ตระหนักในการใช้อย่างประหยัด ทางปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้ศึกษาและสรุปใช้สูตรค่าไฟใหม่โดยจะเริ่มใช้ในปลายปีนี้

หลักการก็คือ ปรับค่าไฟให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เป็นจริงเพื่อจูงใจให้ลงทุนในการประหยัดและใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่สำหรับบ้านที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน หมายถึงบ้านที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า คือ หลอดไฟขนาด 20 วัตต์ไม่เกิน 4 ดวง วิทยุ เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และตู้เย็นอย่างละหนึ่งเครื่อง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่ถึง 80% ของผู้ใช้ไฟทั่วประเทศที่มีอยู่ประมาณ 8.3 ล้านรายตามตัวเลขในปีนี้ และส่วนมากจะอยู่ต่างจังหวัดจะยังคงจ่ายค่าไฟเท่าเดิม

ส่วนบ้านที่ใช้ไฟมากกว่านี้ แม้จะเพิ่มเครื่องปรับอากาศแค่เครื่องเดียว ซึ่งทำให้ปริมาณการใช้ไฟมากกว่า 150 หน่วยต่อเดือน จะต้องจ่ายค่าไฟตามอัตราในสูตรใหม่

การปรับสูตรค่าไฟใหม่ครั้งนี้ถือว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้ไฟในบ้าน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ใช้ไฟกันมาก หรือ PEAK PERIOD ระหว่างเวลา 18.30 น. ถึง 21.30 น. ด้วยเหตุว่า เป็นช่วงที่ต้นทุนค่าไฟสูงกว่าช่วงปกติ

เนื่องจากการเดินเครื่องผิตกระแสไฟฟ้าจะเดินเครื่องได้เท่าแค่ความต้องการในแต่ละครั้งเท่านั้น ต่างกับการลงทุนอย่างอื่นซึ่งผลิตเผื่อเก็บไว้ใช้ในอีกช่วงเวลาหนึ่งได้ ขณะที่การเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าถ้าเป็นช่วงเวลาอื่นที่ใช้ไฟน้อย เครื่องปั่นไฟส่วนใหญ่จะหยุด แต่จะต้องเดินเครื่องให้ได้ปริมาณไฟสูงสุดสนองความต้องการช่วงเวลาที่ใช้ไฟในปริมาณสูงให้ได้ ทำให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าให้มีกำลังผลิตรองรับดีมานด์สูงสุด

ขณะที่กลุ่มผู้ใช้ไฟสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน หรือเลี่ยงการใช้ในช่วง PEAK ได้ก็จะช่วยลดค่าไฟ ซึ่งมีเพียง 2% ของดีมานด์ทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจขนาดลกางที่ใช้ไฟกว่า 500 กิโลวัตต์ แต่ไม่เกิน 2,000 กิโลวัตต์ กลุ่มนี้จะประหยัดค่าไฟตามสูตรใหม่ได้ราว 10%

ด้านโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกจะต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้นตามสูตรใหม่ เพราะจะไม่นำรายได้จากธุรกิจขนาดกลางประมาณ 800 ล้านบาทต่อปีมาชดใช้อย่างแต่ก่อน

สรุปได้ว่า กลุ่มที่จะไม่กระทบจากสูตรค่าไฟใหม่ คือ บ้านที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน กลุ่มบริการทั่วไปขนาดเล็ก รวมธุรกิจขนาดเล็กและกิจการของการประปา กลุ่มราชการ และหน่วยงานที่ไม่แสวงกำไร และกลุ่มที่สูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อเกษตรกร

ส่วนบ้านอยู่อาศัยขนาดใหญ่ กลุ่มบริการทั่วไปขนาดกลาง รวมธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟไม่เกิน 2,000 กิโลวัตต์ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง กลุ่มบริการขนาดใหญ่และกลุ่มธุรกิจที่ใช้ไฟเกิน 2,000 กิโลวัตต์ รวมถึงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมที่หลอมด้วยไฟฟ้า รวมไปถึงกลุ่มธุรกิจโรงแรมทุกประเภท บ้านเช่า หอพัก จะเป็นกลุ่มที่ต้องจ่ายค่าไฟตามความต้องการบนต้นทุนที่แท้จริง

ทั้งนี้ เพื่อให้บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมหันมาสนใจลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับการใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการลงทุนในอุปกรณ์เครื่องจักรตัวใหม่ที่ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น โดยมีศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษา แนะนำในเชิงปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลที่เริ่มเอาจริงเอาจังกับการอนุรักษ์พลังงาน

ทางด้านผู้ใช้ไฟตามอาคารบ้านเรือนก็เช่นเดียวกัน จะต้องใส่ใจในการใช้ไฟอย่างประหยัดมากขึ้น เพราะต่อไปรัฐบาลจะส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดไฟยิ่งขึ้น เช่น การใช้หลอดไฟขนาด 40 วัตต์ ถ้าหันมาใช้ขนาด 36 วัตต์ก็จะได้ปริมาณแสงสว่างเท่าเดิม แต่มีจุดดีช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่า เป็นต้น

โดยปีหน้าจะมีการใช้ระบบ DSM หรือ DEMAND SIGN MANAGEMENT ซึ่งจะเน้นการออกมาตรการหนุนอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง โดยแหล่งข่าวผู้เกี่ยวข้องกล่าวว่า ต้องใช้เงิน 4 หมื่นบาทต่อการลงทุนระบบไฟฟ้าหนึ่งกิโลวัตต์ ถ้าประหยัดไปได้เพียงหนึ่งกิโลวัตต์ก็ประหยัดเงินได้ 4 หมื่นบาท

ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำลังให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าภูมิภาค (กฟภ.) จัดทำโครงการรณรงค์ให้ผู้ใช้ประหยัดไฟ เช่น อาจจะหนุนให้ผู้ใช้ตามบ้านหันมาใช้หลอดไฟที่ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงซึ่งรัฐบาลจะลดราคาเป็นพิเศษ หรือให้ผู้ใช้หลอดไส้ที่มีอยู่ 10 ล้านหลอดทั่วประเทศหันมาใช้หลอดนีออน เป็นต้น

ตามเป้าหมายของรัฐบาลนั้นเห็นว่า ถ้าประหยัดไฟได้ก็จะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ และพลังน้ำ ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยสัดส่วน 20% 25% 45% และ 10% ตามลำดับ

การปรับสูตรค่าไฟใหม่ดังกล่าว จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะให้ผู้ใช้ทุกฝ่ายยอมรับต้นทุนที่แท้จริงและเป็นวิธีที่จะช่วยประหยัดที่จะได้ผลที่สุด และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง แหล่งข่าวจาก กฟผ. กล่าว

ที่แน่นอนก็คือ เราจะได้เห็นมาตรการเพื่อประหยัดพลังงานต่าง ๆ ในเร็ว ๆ นี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us