|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
จับตาโครงการไอพีพี 4 รายส่อเค้าอาจแจ้งเกิดได้ไม่ครบตามผลการชนะประมูลการรับซื้อไฟฟ้าช่วงปลายปีที่ผ่านมาเหตุต้นทุนค่าก่อสร้างและอุปกรณ์ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพุ่งกระฉูดโดยเฉพาะที่ต้องนำเข้าจากจีน ส่อทำให้โรงไฟฟ้าบางแห่งอาจไม่สามารถผลิตไฟได้ตามต้นทุนที่เสนอ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากผลการคัดเลือกผู้ชนะประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระรายใหญ่หรือไอพีพีช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาซึ่งได้อนุมัติผู้ชนะประมูล 4 รายไปแล้วประกอบด้วย 1. บ.Gheco-one 2.โครงการเอ็นพีเอส (เนชั่นแนลเพาเวอร์ซัพพลาย) 3.โครงการ สยาม เอ็นเนอร์ยี่ และ 4. โครงการเพาเวอร์ เจนเนอเรชั่น ซัพพลายส์ ซึ่ง 2 โครงการแรกใช้ถ่านหิน 2 โครงการสุดท้ายใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)จะรับซื้อไฟในราคา 2.135-2.648 บาทต่อหน่วยยอมรับว่าราคาที่เอกชนได้เสนอบางรายมีทิศทางที่อาจไม่สามารถทำได้ตามที่ยื่นเสนอเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงจากค่าวัสดุและอุปกรณ์โรงไฟฟ้าที่ปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
" ยอมรับว่ามี 1 รายน่าเป็นห่วงสุดเพราะอาจมีปัญหาเรื่องต้นทุนที่ขณะนี้ค่าก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะเหล็กได้ปรับขึ้นอย่างมาก ขณะที่อุปกรณ์เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะจากจีนที่เอกชนบางรายได้ติดต่อนำเข้ามาเพื่อก่อสร้างนั้นได้ปรับขึ้นสูงถึง 20-30%และอาจไม่สามารถการันตีการส่งมอบได้ทัน อย่างไรก็ตามเงื่อนไขสำคัญคือหากโรงไฟฟ้าไม่ผ่านด้านสิ่งแวดล้อมภายในวันที่ 1 ก.ย. 2551 ก็จะไม่สามารถเซ็นสัญญาซื้อขายไฟหรือ PPA ได้"แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากบ.เอ็นพีเอส กล่าวยอมรับว่า แผนการนำเข้าเครื่องจักรมีราคาสูงขึ้น รวมถึงค่าก่อสร้างโดยเฉพาะเหล็กได้ปรับตัวอย่างมากแต่บริษัทฯได้พยายามที่จะลดต้นทุนภาพรวมอยู่
แหล่งข่าวจากกฟผ.กล่าวว่า หากผู้ชนะประมูลไม่สามารถที่จะทำตามเงื่อนไขทั้งการผ่านอีไอเอ หรือมีปัญหาต้นทุนแพงจนอาจไม่สามารถขายในราคาที่เสนอไว้ได้นั้นก็จะต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการไปซึ่งหากมีการยกเลิกไป 1-2 โครงการคงไม่ได้ส่งผลกระทบเนื่องจากตามแผนได้มีการวางโครงการไอพีพีไว้เผื่อสำรองไฟฟ้าอยู่แล้วซึ่งคาดว่าสำรองไฟฟ้าในช่วงปี 2554-2555 ที่เป็นช่วงไอพีพีดังกล่าวจะป้อนไฟได้นั้นสำรองไม่ได้เป็นปัญหาใดเนื่องจากปีนี้การใช้ไฟฟ้าต่ำกว่าเป้าหมายค่อนข้างสูงทำให้สำรองเหลือมากกว่า 15 %
อย่างไรก็ตามสิ่งที่กฟผ.กังวลมากกว่าคือ ปัญหาความเสี่ยงจากเชื้อเพลิงเนื่องจากหากบมจ.ปตท.ไม่สามารถจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ได้ทันในต้นปี 2554 ซึ่งตามแผนจะต้องนำเข้ามาป้อนกับโรงไฟฟ้าไอพีพี 2 แห่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงคือสยามเอ็นเนอร์ยี่ และเพาเวอร์เจเนเรชั่น ที่จะต้องผลิตไฟป้อนในช่วงต้นปี 2555-2556 ก็จะมีผลกระทบให้กฟผ.ต้องหันไปพึ่งพิงน้ำมันเตาและดีเซลในการผลิตที่จะนำไปสู่ค่าไฟฟ้าที่แพงได้ดังนั้นปตท.จะต้องรีบการันตีแผนนำเข้าดังกล่าวให้ชัดภายในไม่เกินกลางปี 2552
" เวลานี้ปตท.ระบุว่าได้มีการลงนามซื้อแอลเอ็นจีแล้วแต่ไม่ชัดถึงระยะเวลาที่จะส่งมอบ ขณะเดียวกันการก่อสร้างคลังก็ยังไม่ได้เริ่มมากนัก จึงไม่แน่ใจว่าท้ายสุดจะนำเข้าได้จริงหรือไม่ซึ่งขณะนี้ส่วนของถ่านหินนั้นราคา ตลาดจร หรือ Spot ยังหาซื้อได้แต่แพงหน่อยแต่ราคาแอลเอ็นจีราคา Spot นั้นเท่าที่ดูเริ่มหายากมาก"แหล่งข่าวกล่าว
|
|
 |
|
|