Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
"ทำไมไทยต้องมีเอ็กซิมแบงก์"ทัศนะจากเศรษฐกรไอเอ็มเอฟ             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 

   
related stories

หน้าตาเอ็กซิมแบงก์เพื่อนบ้านอาเซียน

   
search resources

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
บัณฑิต นิจถาวร
Import-Export
Banking




ความพยายามของวิจิตร สุพินิจ และวีรพงศ์ รามางกูร ที่จะผลักดันให้ระบบการเงินมีกลไกสนับสนุนธุรกิจการส่งออกอย่างครบวงจรด้วยวิธีการดันออกมาเป็นกฎหมาย เพื่อให้สถาบันทางการเงินนี้ เป็นกลไกพิเศษที่มีอิสระในการบริหารจัดการตนเองภายใต้นโยบายของรัฐบาล

การร่างกฎหมายจัดตั้งเอ็กซิมแบงก์หรือธนาคารเพื่อการส่งออก ที่มีบทบาทครอบคลุมถึงเรื่องการรับประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการส่งออก การค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออก และการอำนวยสินเชื่อระยะยาวเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไปสำหรับภาคการผลิตที่รัฐบาลต้องการสนับสนุน เช่น อุตสาหกรรมผลิตสินค้าทุนและธุรกิจขนาดกลางและรายย่อยที่มีการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก

การจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคทางการเงิน เช่น เอ็กซิมแบงก์นี้ เป็นสิ่งที่ได้รับการพิจารณาอย่างสนใจจากสถาบันการเงินอย่างไอเอ็มเอฟ

"ผู้จัดการ" รายเดือนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ "บัณฑิต นิจถาวร" เศรษฐกรของไอเอ็มเอฟที่มีส่วนในการศึกษา เพื่อหาเหตุผลในการร่างกฎหมายจัดตั้งเอ็กซิมแบงก์นี้ ในประเด็นถึงความจำเป็นที่ขีดขั้นการพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้มาถึงจุดที่จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินพิเศษนี้

"ผู้จัดการ" ในต่างประเทศ บทบาทของเอ็กซิมแบงก์ โดยทั่วไปเป็นอย่างไร

"บัณฑิต" - เอ็กซิมแบงก์เป็นสถาบันการเงินพิเศษที่มีขอบเขตการทำธุรกิจไม่เหมือนแบงก์พาณิชย์ทั่วไป จุดที่เน้น คือ เอ็กซิมแบงก์จะไม่เข้ามาแข่งขันในธุรกิจที่แบงก์พาณิชย์ทำอยู่แล้ว แต่จะเข้ามาเสริมด้านการให้บริการทางการเงินให้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกที่ตลาดยังไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเต็มที่ เหตุนี้ธุรกิจของเอ็กซิมแบงก์จึงมุ่งไปที่การให้สินเชื่อระยะปานกลางและระยะยาวแก่ผู้ส่งออกที่ต้องการขายสินค้าแบบผ่อนชำระ หรือเพื่อการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการผลิตเพื่อส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศเพื่อสร้างฐานการส่งออก นอกจากนี้ เอ็กซิมแบงก์ยังครอบคลุมการให้บริการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกแก่แบงก์พาณิชย์ และการรับประกันภัยสินค้าส่งออกจากความเสี่ยงทางการค้าและการเมืองแก่ผู้ส่งออกโดยตรง เนื่องจากธุรกิจแบบนี้ในตลาดไม่มีสถาบันการเงินไหนกล้าเสี่ยงที่จะทำ ในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐที่ใช้ทุนจากงบประมาณ และการกู้ยืมจากตลาดเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ เอ็กซิมแบงก์จึงเข้ามาทำหน้าที่นี้ เช่น เอ็กซิมแบงก์ในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน

จากการศึกษาประสบการณ์ในประเทศต่าง ๆ พบว่า บทบาทของเอ็กซิมแบงก์มีความสำคัญในการช่วยเหลือการส่งออกสินค้าทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภททุน หลายประเทศเมื่อมาถึงจุดที่โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนจากสินค้าอุปโภคบริโภคมาเป็นสินค้าทุนมากขึ้น ก็จะมีการจัดตั้งสถาบันการเงินประเภทนี้ขึ้นมา เช่น ญี่ปุ่นตั้งมาประมาณ 40 ปีแล้ว เกาหลีตั้งมา 15 ปี ไต้หวัน 12 ปี

ในทัศนะของผม บทบาทของเอ็กซิมแบงก์ไม่ใช่จำกัดอยู่ที่การขยายการส่งออก อันนี้เป็น END RESULTS แต่หัวใจจริง ๆ ก็คือ การช่วยให้อุตสาหกรรมประเภททุนได้พัฒนา คือ ถ้ามีสถาบันการเงินเกิดขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าทุนโดยเฉพาะ การพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านนี้ก็จะมีข้อจำกัดน้อยลง ก็จะมีคนหันมาทำอุตสาหกรรมด้านนี้มากขึ้น

ที่เกาะหลีก็ยอมรับกันว่า เอ็กซิมแบงก์มีบทบาทมากในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือ คือ สินเชื่อของเอ็กซิมบแงก์ในระยะแรก ๆ ไปช่วยสนับสนุนการขายเรือที่ต่อขึ้นในเกาหลีเกือบทั้งหมด ในกรณีของไต้หวัน ทางเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับว่า เอ็กซิมแบงก์มีบทบาทมากในการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทก่อสร้างโรงงานแบบเทอร์นคีย์ เช่น โรงงานกระดาษ ซีเมนต์ นอกจากนี้ การให้บริการทางด้านค้ำประกัน และรับประกันสินค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงทางการค้าและการเมืองก็เป็นสิ่งที่จะให้ประโยชน์ต่อการขยายการส่งออก และการเจาะตลาดเพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น

ในภาพยาว ถ้าจะดูจากประสบการณ์ในต่างประเทศ บทบาทของเอ็กซิมแบงก์ในตอนเริ่มต้น คงจะอยู่ที่การเข้ามาเสริมเพื่อให้ธุรกิจส่งออกสามารถได้รับบริการทางการเงินอย่างครบวงจร บทบาทของธนาคารจะมีมากหรือน้อยก็คงจะต้องขึ้นอยู่กับขนาดของทุนถึงระดับหนึ่งเมื่อการส่งออกมีความสำเร็จ ประเทศมีดุลการค้าเกินดุล บทบาทของเอ็กซิมแบงก์ก็อาจจะหันมาให้ความสำคัญต่อการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีมลภาวะน้อยลง รวมถึงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อย้ายฐานการผลิตที่ต้องใช้แรงงานมากไปอยู่ต่างประเทศ อยากจะบอกว่า ขบวนการนี้กำลังเกิดขึ้นในเกาหลีและไต้หวัน

เมื่อผ่านระดับนี้ไปแล้ว อีกระดับหนึ่งคงจะเป็นหน้าที่ของการทำตัวเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับสากล โดยให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินในรูปของสินเชื่อระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำแบบโออีซีเอฟของญี่ปุ่น

"ผู้จัดการ" - มีข้อสังเกตว่า สินค้าทุน เรายังมีน้อย การจัดตั้งเอ็กซิมแบงก์ อาจจะยังไม่ถึงเวลา และจะให้ประโยชน์น้อยในเวลานี้

"บัณฑิต" - ตรงข้ามผมคิดว่า มันน่าจะให้ประโยชน์มาก และเวลาตอนนี้ก็เหมาะสมแล้ว คือ ปัจจุบันต่างประเทศ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ส่งออกไทยตอนนี้เสียเปรียบมากในเรื่องการหาบริการทางการเงิน เช่น ประกันภัย มาช่วยลดความเสี่ยงในการส่งออกเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ดังนั้น การให้บริการทางด้านนี้ในรูปของการจัดตั้งเอ็กซิมแบงก์จึงเป็นเรื่องจำเป็น และควรทำโดยเร็วที่สุดเพื่อลดความเสียเปรียบอันนี้จะรวมไปถึงนักลงทุนต่างประเทศที่มาตั้งโรงงานในประเทศเราพอผลิตแล้วจะส่งออก ก็ไม่สามารถหาบริการทางด้านการประกันภัยได้ ทำให้แรงกระตุ้นการส่งออกขาดหายไป อาจพูดได้ว่า นอกเหนือจากจะช่วยการส่งเสริมการผลิตสินค้าทุนและการส่งออกแล้ว เอ็กซิมแบงก์จะยังมีบทบาทในทางอ้อมที่จะทำให้การลงทุนเพื่อการส่งออกมีข้อจำกัดน้อยลง และมีความพร้อมมากขึ้น

ประเด็นต่อมา ก็คือ ในเรื่องความต้องการ

ผมอยากจะกล่าวว่า เวลานี้ปัญหาทางด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออกมีอะไรบ้าง จากการศึกษา เราพบว่า ปัญหาหลักมีอยู่ 3 ข้อ คือ หนึ่ง - ความไม่เพียงพอของสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการสินเชื่อระยะปานกลางและยาวเพื่อสนับสนุนการขาย สอง - การขาดบริการทางด้านค้ำประกัน และสาม - การไม่มีบริการทางด้านประกันภัย จุดต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นงานหลักที่เอ็กซิมแบงก์จะเข้าไปขณะที่ความต้องการนี้ยังไม่ได้รับการตอบสนอง

ส่วนเรื่องสินค้าทุนที่ยังมีน้อย ผมว่า ปัญหานี้เป็นเรื่องธรรมดาและเคยเกิดขึ้นที่เกาหลีและไต้หวันมาแล้ว เพราะในตอนแรกอุตสาหกรรมสินค้าทุนยังไม่ได้รับการพัฒนามาก ไม่มีสินค้าที่จะให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อระยะยาว แต่การให้บริการทางด้านอื่น ๆ ทำได้อย่างเต็มมือ ในกรณีของไทย ปัจจุบันการส่งออกร้อยละ 12 เป็นสินค้าทุน นี่คือความจิรง และมีแนวโน้มว่าสัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงแผนพัฒนาที่ 7

จากการลงทุนที่ผ่านมา ผมว่าส่วนใหญ่เรานึกไม่ออกว่า เป็นสินค้าอะไร เพราะไม่ได้อยู่ในวงการ แต่ที่แน่นอนก็คือ สินค้าทุนตอนนี้เรามีพอสมควร และมีศักยภาพด้วย เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ทางด้านไฟฟ้า สายไฟฟ้า อุปกรณ์การรับสัญญาณดาวเทียม พวกเทอร์นคีย์แพล้นอย่างโรงสีข้าว สิ่งเหล่านี้มีทำกันอยู่ ส่งออกกันอยู่ ประเด็นสำคัญคือ บทบาทของเอ็กซิมแบงก์จะมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านนี้ให้สามารถเติบโตโดยเร็ว ผมมองว่า ประโยชน์มันอยู่ตรงนี้ และช่วงนี้ก็เป็นเวลาที่ดี เพราะจะเริ่มมีการส่งออกสินค้าที่ผลิตขึ้นจากการลงทุนที่ผ่านมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us