Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
หน้าตาเอ็กซิมแบงก์เพื่อนบ้านอาเซียน             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 

   
related stories

"ทำไมไทยต้องมีเอ็กซิมแบงก์"ทัศนะจากเศรษฐกรไอเอ็มเอฟ

   
search resources

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
Import-Export
Banking




ปี 2533 ไทยมียอดการส่งออกและนำเข้าประมาณ 1.5 ล้านล้านบาทหรือประมาณกว่า 50% ของรายได้ประชาชาติ สิ่งนี้บ่งบอกถึงความสำคัญของภาคการผลิตที่สัมพันธ์กับตลาดโลกว่า มีความหมายต่อการสร้างความเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติอย่างมากในปัจจุบัน

เป้าหมายของสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 อีก 5 ปีข้างหน้า ก็ได้วางความสำคัญของภาคการผลิตที่สัมพันธ์กับตลาดโลกสูงยิ่งขึ้นอีก โดยให้การผลิตเพื่อส่งออกและนำเข้ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของรายได้ประชาชาติ

และกลยุทธในการสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายอยู่ที่การกระตุ้นและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกให้มากขึ้น

การผลิตเพื่อส่งออกจากนี้ไป จึงเป็นหัวใจของการผลิตเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางรายได้ประชาชาติที่ทุกประเทศทั่วโลกยึดถือเป็นกลยุทธหลัก

ในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มองเห็นจุดนี้มานานแล้ว สิ่งนี้คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์มีกลไกทางการเงินเพื่อการสนับสนุนการส่งออกที่ก้าวหน้ากว่าไทย

"เรามีคน มีเทคโนโลยี แต่ไม่มีไฟแนนซ์ซิ่ง" บัณฑิต นิจถาวร พูดถึงเหตุผลที่ไทยต้องมีเอ็กซิมแบงก์เหมือนเพื่อนบ้านอาเซียน

สิงคโปร์ตั้งเอ็กซิมแบงก์มาตั้งแต่ปี 1975 หรือเมื่อ 16 ปีก่อน เรียกว่า บริษัทประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออก (สิงคโปร์) จำกัด รัฐบาลและสถาบันการเงินเอกชนร่วมกันถือหุ้นฝ่ายละ 50% ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนประมาณ 96 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

บริษัทนี้ทำธุรกิจเน้นหนักการให้บริการด้านการรับประกัน และค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกที่คุ้มครองความเสี่ยงทั้งที่มาจากการค้าและไม่ใช่การค้า โดยมีระยะเวลาคุ้มครองระยะสั้นไม่น้อยกว่า 6 เดือน และระยะยาวมากกว่า 2 ปี

การค้ำประกันความเสี่ยงทั้งหมดต่อแบงก์พาณิชย์ ทางบริษัทรับหมด 100%

นอกจากนี้ ทางบริษัทยังให้บริการรับซื้อลดตั๋วลูกหนี้การค้าเพื่อส่งออกในวงเงิน 70-90% ของมูลค่าหน้าตั๋ว โดยคิดค่าธรรมเนียมระหว่าง 0.75 - 2.5%

ส่วนเอ็กซิมแบงก์ของอินโดนีเซียชื่อสถาบันจะเหมือนของสิงคโปร์ คือ เป็นบริษัทประกันการส่งออกเป็นของรัฐบาล 100% จุดที่ต่างกับสิงคโปร์ก็ตรงที่

หนึ่ง - ด้านธุรกิจการรับประกันความเสี่ยงจากการส่งออกจะคุ้มครองในวงเงิน 85% และอีก 15% เป็นภาระของผู้ส่งออกเอง ค่าเบี้ยประกันจะอยู่ระหว่าง 0.2 - 0.4% ของมูลค่าหน้าตั๋ว

สอง - ด้านสินเชื่อเพื่อส่งออกจะคุมถึงน้ำมันและก๊าซและสินค้าทุกชนิด โดยมีเงื่อนไขว่า สินเชื่อเพื่อการส่งออกต้องทำประกันภัยส่งออกก่อน และต้องเป็น PRE - SHIPMENT เท่านั้น

สำหรับมาเลเซีย ซึ่งก่อตั้งเอ็กซิมแบงก์มาตั้งแต่ 1977 หรือ 14 ปีก่อน ปัจจุบันเป็นของรัฐบาลถือหุ้นในนามธนาคารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของมาเลเซีย จะแตกต่างในเรื่องวิธีการดำเนินงานจากเอ็กซิมแบงก์สิงคโปร์และอินโดนีเซียมาก

หนึ่ง - ด้านประกันภัยส่งออกดำเนินงานโดยบริษัทประกันภัยสินเชื่อเพื่อการส่งออกมาเลเซีย บริษัทนี้จะคุ้มครองความเสี่ยงกรณีผู้ส่งออกได้รับความเสียหาย เนื่องจากไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าสินค้า หรือผู้ซื้อยกเลิกสัญญาซื้อขาย ในกรณีเป็นสินค้าทุนจะครอบคลุมความเสียหายเฉพาะในกรณีที่สินค้าทุนนั้นผลิตหรือจัดหาโดยผู้ส่งออกชาวมาเลย์ไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าตามสัญญา

การคุ้มครองจะมีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ยกเว้นเป็นสินค้าทุนจะยาวถึง 34 เดือน

สอง - การค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกแก่แบงก์พาณิชย์จะคลุมถึงทั้งก่อนและส่งมอบและหลังส่งมอบสินค้า เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และให้การค้ำประกันอย่างไม่มีเงื่อนไขในกรณีผู้ส่งออกที่ทำประกันภัยส่งออกไว้

สาม - ธุรกิจด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออกจะอยู่ภายใต้โครงการรับช่วงซื้อลดสินเชื่อเพื่อการส่งออก วิธีการจะเหมือนกับโครงการแพคกิ้งเครดิตของแบงก์ชาติไทยในสมัยก่อน

จากรูปร่างหน้าตาเอ็กซิมแบงก์ของ 3 ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน จะพบว่า กลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนการส่งออกบางตัว เช่น การรับช่วงซื้อลดตั๋วส่งออกจะซ้ำกับของไทยที่มีอยู่ในโครงการแพ็คกิ้งเครดิต

จะขาดอยู่ก็แต่เพียงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกและการรับประกันส่งออกเท่านั้น ที่ไทยยังไม่มีกลไกอันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us