Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กรกฎาคม 2551
PTTCHฉวยจังหวะขาลงปิโตรเคมี สยายปีกลงทุนตปท.-ชี้ครึ่งปีหลังมาร์จิ้นหด             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

   
search resources

อดิเทพ พิศาลบุตร์
Energy
ปตท. เคมิคอล, บมจ.




ปตท.เคมิคอล แจงการเข้าถือหุ้นในค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ 50% ถือเป็นย่างก้าวสำคัญในการลงทุนสู่ตลาดโลก โดยอาศัยช่วงจังหวะขาลงปิโตรเคมี ทำดีลM&A เผยมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ยอมรับครึ่งปีหลังนี้มาร์จินหด หลังต้นทุนก๊าซฯพุ่งขึ้น 100 เหรียญสหรัฐ/ตัน และราคาผลิตภัณฑ์ส่อเค้าลด เหตุมีซัพพลายใหม่เข้าสู่ตลาด เตรียมกู้เงินแบงก์ไทย 1 หมื่นล้านแทนการออกหุ้นกู้ เพื่อใช้โครงการลงทุนต่างๆ

นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(PTTCH) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท จำกัด ได้ร่วมลงนามข้อตกลงการร่วมทุนกับบริษัท ไซม์ ดาร์บี้ แพลนเทชั่น จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก เพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและถือครองหุ้นร่วมกันในบริษัท ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ (COM) ฝ่ายละ 50%เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นก้าวย่างสำคัญของบริษัทฯในการลงทุนสู่ตลาดโลก สร้างรายได้ เพิ่มความแข็งแกร่งของธุรกิจ และลดความผันผวนทางด้านราคา เนื่องจากมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ หลังจากการลงทุนธุรกิจปิโตรเคมีในไทยมีข้อจำกัดทั้งด้านวัตุถดิบ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุด และนโยบายรัฐในการส่งเสริมโครงการเซ้าเทิร์น ซีบอร์ดไม่มีความแน่นอนว่าจะไปทิศทางใด

ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศของPTTCH นับจากนี้ไป จะมุ่งเน้นธุรกิจที่บริษัทฯมีความชำนาญ โดยพิจาณาโครงการที่มีตลาดรองรับเป็นสำคัญ โดยอาศัยช่วงจังหวะวัฎจักรขาลง(ดาวน์ เทรน)ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทำให้การเจรจาควบรวมกิจการ(M&A)ทำได้ง่าย และใช้เงินลงทุนไม่สูง เช่นเดียวกับดีลค็อกนิสฯ ที่โกลด์แมนแซกส์ ซึ่งเป็นไพรเวท อิคิวตี้ ฟันด์ในฐานะผู้ถือหุ้นค็อกนิสฯ ต้องการถอนการลงทุนจึงได้ทยอยขายธุรกิจค็อกนิสฯออกมา ซึ่งขณะนี้ก็ยังมีโครงการอื่นๆที่พิจารณาอยู่ แต่ใช้เงินลงทุนไม่มาก

" การตัดสินใจซื้อหุ้นค็อกนิส บีวี ซึ่งเป็นบริษัทสาขาที่ถือหุ้นทั้งหดมโดยค็อกนิส จีเอ็มบีเอช เพื่อถือหุ้นหุ้น 50%ของบริษัท ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตโอลีโอเคมีรายใหญ่ของโลก มีโรงงานอยู่ที่มาเลเซีย สหรัฐฯ เยอรมัน และแคนาดา คิดเป็นกำลังการผลิต 9.62 แสนตัน/ปี มีรายได้เฉลี่ยปีละ 730 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และ EBITDA 39 ล้านเหรียญยูโร นับการสร้างความเติบโตของบริษัทในต่างประเทศ โดยได้รับเทคโนโลยีและมีตลาดรองรับทันที "

ทั้งนี้ บริษัทฯจะรับรู้กำไรจากCOM ประมาณ 1.6 พันล้านบาทต่อปี คาดว่าจะรับรู้ทันทีที่มีการปิดการซื้อหุ้นได้ภายในเดือนก.ย.นี้ โดยบริษัทฯจะใช้เงินลงทุนในดีลนี้ประมาณ 104 ล้านเหรียญยูโร แหล่งเงินทุนจะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยปีนี้คาดว่าPTTCH จะมีรายได้รวมทั้งสิ้น 8 หมื่นล้านบาท และในปี 2553 จะมีรายได้ทะลุ 1.2 แสนล้านบาท หากมีการบันทึกรับรู้รายได้จากCOM และโรงโอเลฟินส์ขนาดล้านตันและดาวน์สตรีมที่จะเริ่มดำเนินการผลิตได้

ทั้งนี้ รายได้ในครึ่งปีหลัง คาดว่าจะสูงกว่าครึ่งปีแรก 2551 ที่มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงงาน แต่รายได้ดังกล่าวน่าจะต่ำกว่าครึ่งปีหลัง 2550 เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์พลาสติกน่าจะอ่อนตัวลงหลังจากมีกำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปตท.ได้ปรับขึ้นราคาก๊าซฯในครึ่งปีหลัง ทำให้บริษัทฯมีภาระต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นตันละ 100 เหรียญสหรัฐด้วย ทำให้อัตรากำไร(มาร์จิน)ในครึ่งปีหลังจะต่ำลงด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาก๊าซฯที่ปรับขึ้นอีก 100 เหรียญสหรัฐ/ตัน คิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 10-15% ยังเป็นอัตราการขึ้นที่รับได้ หากเทียบกับคู่แข่งที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 100%ในปีนี้ มาอยู่ที่ระดับ 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์พลาสติกของ PTTCH แข่งขันในตลาดโลกได้

นายอดิเทพ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯได้เปลี่ยนแผนการออกหุ้นกู้มาเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงินแทน วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากต้นทุนการเงินต่ำกว่า โดยเงินกู้ดังกล่าวจะนำมาใช้ในการลงทุนโครงการต่างๆตามแผนการลงทุน 5ปี (2549- 2553)ที่จะใช้เงินลงทุนประมาณ 9 หมื่นล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us