Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
กฎหมาย SIB : ความหวังเพื่อไทยเป็น ศูนย์กลางทางการเงินในอินโดจีน             
 


   
search resources

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - SIB
Stock Exchange
Law




นโยบายที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของอินโดจีนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ที่มีความพยายามที่จะให้เงินบาทเป็นสกุลเงินที่ใช้ได้ในตลาดไทย-เขมร-ลาว-ญวน

ความพยายามในรัฐบาลชุดนั้นไม่ใช่ไร้ค่าเสียทีเดียว พร้อม ๆ กันไปกับการผลักดันนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในอินโดจีน รัฐบาลก็มีนโยบายที่จะตัดทอนกฎระเบียบทั้งหลายเพื่อพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน (DEREGULATION) ในประเทศให้ผงาดเป็นศูนย์กลางทางการเงินของอินโดจีนขึ้นมาให้ได้

เมื่อมาถึงรัฐบาลโปร่งใสที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นที่คาดหมายกันอย่างมากว่า ร่างกฎหมายที่จะใช้พัฒนาตลาดทุนและตลาดเงินของไทยจะผ่านขั้นตอนการพิจารณาต่าง ๆ ในสภาฯ ออกมาใช้กันเสียที

กฎหมายที่ว่าคือพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ (SECURITY AND EXCHANGE COMMISSION) ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยกัน 3 ฉบับ คือ กฎหมายมหาชน กฎหมายตราสารทางการเงิน และกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ หรือ พรบ.ตลาดหลักทรัพย์ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

กฎหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวจะยุบลงเหลือเพียง พรบ.บริษัทมหาชนฉบับหนึ่ง และพรบ. SEC อีกเป็น 2 ฉบับเท่านั้น โดยกฎหมาย SEC จะมีมาตราจำนวนมากถึง 346 มาตรา

สาระสำคัญในตัวกฎหมาย SEC นั้นแทบจะเรียกได้ว่า บัญญัติเรื่องทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไว้ทั้งหมด อาทิเช่น รูปแบบของใบหุ้น การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบครองกิจการ (TAKE OVER) การควบคุมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งจะมีการแยกธุรกิจเงินทุนออกไป การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ ตลาด OTC ตลาดซื้อขายล่วงหน้า สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

เรื่องที่ถกเถียงกันมาก็คือ เรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SECURITIES INVESTMENT BOARD หรือ SIB) โดยเฉพาะผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งแต่เดิมมีการเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ โดยตำแหน่ง แต่มีฝ่ายที่คัดค้านมองว่าไม่ควร เพราะตำแหน่ง รมต.เป็นตำแหน่งทางการเมือง อาจจะมีการนำผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

คณะกรรมการ SIB ทำหน้าที่กำกับควบคุมการประกอบธุรกิจและการดำเนินงานของสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากประธานฯ มารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว มีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 3 คน คือ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และผู้ว่าการแบงก์ชาติ และกรรมการที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีก 3-5 คน รวมเป็นกรรมการทั้งสิ้นไม่เกิน 9 คน

ต่อมา หลังจากที่มีการโต้เถียงกันอย่างมากในสภาฯ จึงได้มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ชื่อ คณะกรรมการควบคุมหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีหน้าที่ควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม พรบ.นี้ กรรมการชุดนี้ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่ รมต.ว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งไม่เกิน 4 คน

การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ทั้งสองชุดจะได้รับทุนสนับสนุนจาก 3 แห่งใหญ่ คือ กองทุนแก้ไขปัญหาธุรกิจหลักทรัพย์จำนวน 535.56 ล้านบาท กองทุนพัฒนาตลาดทุนหลังจากที่มีการชำระบัญชีเรียบร้อยแล้วจำนวน 330.91 ล้านบาท และรายได้ส่วนหนึ่งจากการประมูลโบรกเกอร์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 505.51 ล้านบาท รวมเป็นทุนเบื้องต้นทั้งสิ้น 1,350 ล้านบาท

พิจารณาดูแล้ว ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในคณะกรรมการทั้งสองชุดก็คือ รมต.คลัง เพราะเป็นผู้ที่เสนอรายชื่อคณะกรรมการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ

เป็นเรื่องแปลกไม่น้อยที่ทุกฝ่ายต่างเห็นข้อบกพร่องตรงจุดนี้ ทว่ามีผู้ออกมาแสดงการคัดค้านเพียงคนเดียว คือ ไพจิตร เอื้อทวีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ไพจิตร คัดค้านการที่รวมเรื่องตราสารทางการเงินทั้งหลายเข้าไว้ใน พรบ. SEC ซึ่งในเวลาต่อมาเรียกว่า พรบ.SIB ด้วย

แต่หลายฝ่ายมองว่า ไม่ควรจะแยกเพราะหลักทรัพย์ก็เป็นตราสารการเงินประเภทหนึ่ง ประเด็นที่ควรสนใจคือเรื่องการเปิดเผยข้อมูลมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นตราสารฯ ระยะสั้นหรือยาวก็ควรจะมีการเปิดเผยข้อมูลเท่าเทียมกันทั้งหมด

หลังจากที่ รมต.คลังสุธี สิงห์เสน่ห์ นำร่าง พรบ.SIB ไปแก้ไขอยู่หลายหน ครั้งล่าสุดที่เสนอเข้า ครม.เมื่อ 3 กันยายน สุธีใช้เวลาเสนอเพียงไม่กี่นาทีร่างกฎหมายเพื่อการปฏิวัติตลาดทุนฉบับนี้ก็ผ่านความเห็นชอบอย่างสะดวกง่ายดาย

ส่วนประเด็นที่ไพจิตรติติงไว้นั้น ถูกผลักไปสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นมาพิจารณากลั่นกรองกฎหมายฉบับนี้

นายกฯ อานันท์พยายามเร่งให้มีการประกาศใช้กฎหมาย SIB ก่อนที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะหมดอายุ

นั่นเท่ากับไม่นานเกินรอที่จะมีการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ ขึ้นมาในตลาด รวมทั้งการพัฒนาตลาดอื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นตลาดแรกทั้งหลาย

ความหวังที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินเริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us