|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ฟิทช์ เรทติ้งส์ แสดงความเห็นว่าผลประกอบการสำหรับครึ่งแรกของปี 2551 ของธนาคารไทยยังคงแข็งแกร่ง แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวและการเมืองขาดเสถียรภาพ ระบุผลประกอบการและฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นจากปีก่อน เตือนภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการภาคธุรกิจที่ลดลง อาจส่งผลในเชิงลบได้
นายวินเซนด์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) และนักวิเคราะห์อาวุโสฝ่ายสถาบันการเงินกล่าวว่า ถึงแม้ว่าสถานการณ์ของตลาดการเงินทั่วโลกในปัจจุบันนั้นมีความผันผวนสูง ธนาคารพาณิชย์ไทยที่แข็งแกร่งบางธนาคาร เช่น SCB KBANK และ BBL ยังคงมีผลประกอบการที่ดี โดยธนาคารทั้งสามแห่งมีอันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศที่ ‘BBB+’
สำหรับผลประกอบการของ TMB นั้นได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนจากผลขาดทุนในปีก่อน ซึ่งได้สะท้อนการที่ฟิทช์เพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ TMB ขึ้นเป็น ‘BBB-’ (BBB ลบ) ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่าผลประกอบการของ TMB ในปีนี้ อาจจะได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งจากการควบรวมระบบภายในกับ ING Bank
ในส่วนของ BAY จากการที่ GE Capital ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหลักในเดือนมกราคม 2550 และได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบภายในธนาคาร คาดว่าจะทำให้ฐานะทางการเงินและผลประกอบการของ BAY แข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีหน้า ซึ่งสะท้อนในแนวโน้มอันดับเครดิตที่มี แนวโน้มเป็นบวก ของธนาคาร” นอกจากนี้ มร.มิลตัน ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ยอดสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้น จะลดผลกระทบของการขยายตัวที่ลดลงของสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อมและสินเชื่อรายย่อย
อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคาน้ำมันยังคงตัวอยู่ในระดับสูง และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง กำลังส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการลงทุนลดลง และคาดว่าผลประกอบการของธนาคารไทยโดยรวมจะชะลอตัวลงในครึ่งปีหลัง เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก โดยภาพรวมความเสี่ยงจากปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินงานและความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อและสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น อาจมีผลกระทบต่อผลประกอบการของธนาคารไทยในปีหน้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าธนาคารขนาดใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ทั้งนี้ระดับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารขนาดใหญ่คาดว่าจะเป็นไปตามนโยบายที่วางไว้ โดยธนาคารเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะลดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้ต่ำกว่า 5% ภายในสิ้นปีนี้ ด้วยการเร่งแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 โดยการขายสินเชื่อเหล่านี้ออกไป ในครึ่งปีแรก ระดับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ในขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมลดลง จากการขยายตัวของสินเชื่อ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่อ่อนแอลง และการขายสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อาจส่งผลให้ธนาคารบางแห่งมีความเสี่ยงในเรื่องของการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญ และสำรองขาดทุนจากการขายสินทรัพย์เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคาดว่า อัตราส่วนเงินกองทุนของธนาคารโดยรวมแล้วจะยังคงแข็งแกร่ง ต้นทุนทางการเงิน มีแนวโน้มสูงขึ้นในครึ่งปีหลังจากสภาพคล่องของระบบที่ลดลง และคาดว่าธนาคารขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าแนวโน้มผลประกอบการโดยรวมในครึ่งปีหลังจะปรับตัวอ่อนแอลง
ฟิทช์คาดว่า SCB KBANK และ BBL จะยังคงสามารถรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ BAY, TMB และ KTB คาดว่าจะรายงานผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2551 เนื่องจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงและการเติบโตในการปล่อยสินเชื่อ แนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารในประเทศไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ
|
|
 |
|
|