Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 กรกฎาคม 2551
แบงก์ชาติยอมคลังลากยาว สรุปขายหุ้นไทยธนาคารพ.ย.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
Banking and Finance




ธปท.ยอมคลังลากยาวพิจารณากรณีขายหุ้นบีทีให้ CIMB Group เสร็จสิ้นปลายพ.ย. ระบุหากคลังไม่อนุมัติต้องมีเหตุผลชี้แจงได้ เพราะการตัดสินใจมีผลทั้งด้านบวกและลบ ด้าน"ไทยธนาคาร"ปลื้ม CIMB Group มั่นใจในอนาคต พร้อมใส่เงินเพิ่มทุนให้อีก 6 พันล้าน

นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยถึงกรณีความคืบหน้าการส่งหนังสือขอเพิ่มสัดส่วนให้ต่างชาติถือหุ้นของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) หรือบีที หลังจากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ลงนามสัญญาขายหุ้นของไทยธนาคารที่ถืออยู่ 42.13% ให้แก่กลุ่มซีไอเอ็มบี จากประเทศมาเลเซียว่า เอกสารและข้อมูลต่างๆ ที่ส่งให้แก่กระทรวงการคลังน่าจะได้รับแล้วเมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ผู้ว่าการธปท.ได้ลงนามในเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา และเชื่อว่าหลังจากนี้ขั้นตอนทุกอย่างจะเสร็จสิ้นภายในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้

“ในช่วง 5 เดือนนี้หรือภายในเดือนพ.ย.หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติให้ ทางกลุ่มซีไอเอ็มบีสามารถตกลงจ่ายเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ ต่อจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ซึ่งรวมถึงการทำคำเสนอซื้อหุ้นจากรายย่อย(เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) นอกจากนี้ต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกของไทยธนาคารด้วย หลังจากนั้นถึงจะเป็นแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคตและการเพิ่มทุน ซึ่งสายกำกับสถาบันการเงินมองว่าต้องให้แผนครอบคลุมอย่างน้อย 3 ปี”นายสรสิทธิ์กล่าว

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการเพิ่มทุนนั้นทางไทยธนาคารได้เสนอแผนธุรกิจระยะต่อไปส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาด้วยในลักษณะเพ็คเก็จ ขณะที่สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท.ก็มองว่าเมื่อมีการเพิ่มทุนครั้งนี้แล้วจะต้องทำให้เงินกองทุนของไทยธนาคารไม่น้อยกว่าสัดส่วนของค่าเฉลี่ยในระบบ คือ 12% ด้วย ซึ่งการเพิ่มทุนดังกล่าวนี้พิจารณาจากฐานะ ผลการดำเนินงาน การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ

“หนังสือที่ส่งเรื่องไปนั้นได้อธิบายเงื่อนไขที่กองทุนฟื้นฯและกลุ่มซีไอเอ็มบีได้ตกลงกันไว้ในช่วง 5 เดือน ซึ่งจะให้รัฐมนตรีตัดสินใจสิ้นเดือนที่ 5 คงไม่ใช่ และจากเอกสารและข้อมูลต่างๆ ที่เราส่งไปไม่ว่าจะเป็นการขออนุญาตให้รายย่อยเข้าถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์เกิน 5% และทุกรายที่เป็นต่างชาติรวมกันถือหุ้นเกิน 49% รวมทั้งแนบเอกสารอื่นๆ ตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการรายงานสถานการณ์ของบีทีในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหา เหตุผลที่กองทุนฟื้นฟูฯ ขายหุ้น มาตรการที่ควรดำเนินการทำต่อไป ดังนั้น หากคลังไม่อนุมัติให้ก็ต้องมีเหตุผล แต่เชื่อว่าคนตัดสินใจจะต้องดูทุกเรื่องอย่างรอบคอบ เพราะการตัดสินใจมีผลทั้งด้านบวกและลบ”

ด้านธนาคารไทยธนาคารได้แจ้งว่า จากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) ได้เข้าทำสัญญาขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในไทยธนาคาร ให้กับกลุ่ม CIMB แห่งประเทศมาเลเชียนั้น ไทยธนาคารมีความยินดีที่จะร่วมงานกับ CIMB ในฐานะผู้ถือหุ้นหลักของธนาคาร และพร้อมที่จะร่วมกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับไทยธนาคารในระยะยาว และขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการที่ CIMB Group จะเข้ามาถือหุ้นไทยธนาคาร

นอกจากนี้ ธนาคารได้รับจดหมายแสดงเจตจำนงจาก CIMB Group ซึ่งได้ระบุว่า CIMB Group มีความเชื่อมั่นในอนาคตของไทยธนาคาร และมีเจตจำนงค์ยึดมั่นที่จะให้การสนับสนุนแผนการระดมทุนของไทยธนาคารในวงเงินไม่เกิน 6,000 ล้านบาท โดย CIMB จะเข้าร่วมในการเพิ่มทุนของไทยธนาคาร ภายหลังจากได้ดำเนินการซื้อหุ้นจากกองทุนฯ แล้วเสร็จ และ CIMB เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของไทยธนาคาร แล้ว รวมไปถึงการทำคำเสนอซื้อหุ้นไทยธนาคารทั้งหมด (Mandatory Tender Offer) จากผู้ถือหุ้นรายอื่นทุกรายแล้วเสร็จ ซึ่งจะได้มีการหารือกับไทยธนาคารต่อไป

ในส่วนของไทยธนาคารนั้น ธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนในการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุน โดยเจตจำนงของ CIMB ในการเพิ่มทุนในธนาคารนั้น สอดคล้องกับแผนที่ธนาคารได้วางไว้ ซึ่งจะมีการพิจารณารายละเอียดและหาข้อสรุปกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ทั้งนี้ แผนเพิ่มทุนของไทยธนาคาร จะขึ้นกับการได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารและผู้ถือหุ้น ซึ่งในขณะนี้ ไทยธนาคารอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อการขออนุมัติดังกล่าว

สำหรับผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ธนาคารมีผลประกอบการตามงบการเงินรวม มีกำไรสุทธิ 214 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทย่อยมีผลกำไรจากการขายเงินลงทุนจำนวน 1,145 ล้านบาท สำหรับงบการเงินเฉพาะธนาคาร ธนาคารมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 571 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ที่ผ่านมาซึ่งมีผลขาดทุน 2,186 ล้านบาท โดยผลขาดทุนสุทธิจำนวน 571 ล้านบาทเป็นผลกระทบมาจากการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าของตราสาร CDO เป็นหลัก ซึ่งก่อนการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่า CDO ธนาคารมีผลขาดทุนจำนวน 43 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 สำหรับผลการดำเนินงานโดยรวมในครึ่งปีแรก ธนาคารมีผลประกอบการตามงบการเงินรวมก่อนการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่า CDO เป็นกำไรสุทธิ 1,069 ล้านบาท ในขณะที่งบการเงินเฉพาะธนาคาร ธนาคารมีกำไรก่อนการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่า CDO 186 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 2,757 ล้านบาท (หลังหักสำรองเผื่อการด้อยค่า CDO จำนวน 2,943 ล้านบาท)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us