Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
ซีเกท - การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม             
 


   
search resources

ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย), บจก.
Hardware and Accesorries
Environment




เหตุการณ์ที่พนักงานโรงงานซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) ราว 2,000 คน ยื่นหนังสือถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยผ่านสถานทูตอเมริกันในกรุงเทพเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่มีการประท้วงเรื่องการฆ่าพระไทยในรัฐอริโซน่า ทำให้ประเด็นในการประท้วงที่ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนไม่ชัดเจนนัก

จากจดหมายเปิดผนึกของพนักงาน ได้กล่าวถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากสารตะกั่วและการใช้สายตาเพ่งในการทำงาน รวมทั้งการไม่ได้รับความเป็นธรรมที่นายจ้างไล่พนักงานที่เป้นแกนนำในการเรียกร้องออกไป เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นตัวกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และแม้กระทั่งกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ตื่นตัวส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบ ซึ่งผลของแต่ละหน่วยงานออกมาคล้ายกันว่า สารตะกั่วนั้นมีอยู่จริงเพียงแต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนได้ขานรับกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก และถือว่าเป็นครั้งแรกที่ปรากฏการณ์ของปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมปะทุออกสู่การรับรู้สาธารณะ !

ย้อนกลับไปดูสภาพปัญหาภายในของโรงงานซีเกทเมื่อจุดเริ่มต้นก่อนตกเป็นข่าว พนักงาน 3,605 คนจากทั้งหมดเกือบหมื่นคนได้รวมตัวยื่นข้อเรียกร้องถึงผู้บริหารบริษัทจำนวน 13 ข้อ โดยที่ประเด็นเกี่ยวกับสารตะกั่วนั้นอยู่ในข้อแรกคือเรียกร้องในเรื่องความปลอดภัย ขอให้ทางบริษัทตรวจสายตาพนักงานที่ทำงานกับกล้องเป็นประจำ และให้มีการตรวจสารตะกั่วจากร่างกายพนักงนทุกคนในทุก 3 เดือน พร้อมทั้งแจ้งผลการเช็คให้พนักงานทราบด้วย ส่วนอีก 12 ข้อที่เหลือล้วนแต่เป็นเรื่องสวัสดิการทั่ว ๆ ไป และการขอเพิ่มรายได้

อีกสิ่งหนึ่งที่หมู่พนักงานและผู้บริหารต่างรู้ดีก็คือ ในการรวมตัวครั้งนี้ได้มีการล่าลายเซ็นเพื่อจะยื่นเรื่องขอตั้งสหภาพแรงงาน และนั่นเองดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของฝ่ายพนักงานในการชุมนุมครั้งนี้ เพราะถ้ามีองค์กรเกิดขึ้น การต่อรองไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ย่อมทำได้ดีกว่าทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว แต่นี่เป็นเรื่องที่บริษัทไม่ต้องการอย่างยิ่ง

รุ่งขึ้น บริษัทได้ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 7 ผู้เป็นหัวหอกการเรียกร้องภายใต้เหตุผลที่ว่าบุคคลเหล่านี้ได้ลักลอบเข้ามาในบริษัท เพื่อติดต่อเรื่องส่วนตัวกับเพื่อนพนักงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป้าหมายของพนักงานราวจะล้มเหลว ประเด็นข้อขัดแย้งจึงขยายวงออกสู่ภายนอก

ข่าวที่ว่าสารพิษแพร่กระจายในซีเกทดำเนินไปอย่างเข้มข้น มีรูปธรรมข่าวทั้งในแง่ว่ามีคนงานตาย สถิติการแท้งลูก ตลอดจนกรณีของคนงานหญิงคนหนึ่งไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลตำรวจ แล้วพบว่าเด็กที่เกิดมีระดับสารตะกั่วในเลือดสูงมากถึงกับต้องถ่ายเลือด เหล่านี้คือน้ำหนักยืนยันที่ทำลายภาพความยิ่งใหญ่ของบริษัทระดับชาติอย่างซีเกทจนไม่มีอะไรเหลือ

ซีเกทเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์รายใหญ่ติดอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีตะกั่วเป็นวัตถุดิบที่สำคัญมากในการประกอบฮาร์ดดิสไดร์ฟ ในกระบวนการผลิตส่วนนี้คนงานต้องเชื่อมชิ้นงานด้วยลวดตะกั่วโดยจะต้องใช้หัวแร้งละลายลวดตะกั่วซึ่งทำให้เกิดไอระเหยออกมา รวมทั้งแผนกชุบตะกั่วที่ต้องต้มในหม้อให้ละเลยเป็นของเหลวก็อยู่ในข่ายได้รับสารตะกั่วด้วย ทั้งทางการหายใจ ผิวหนัง และทางเดินอาหาร

ผู้บริหารของซีเกทพยายามยืนยันตลอดมาว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องเป็นราวขยายใหญ่โตมิได้มีสาเหตุมาจากผลกระทบทางสุขภาพของคนงาน และซีเกทเองก็มีระบบการควบคุมด้านปลอดภัยเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย รวมถึงสิ่งแวดล้อมในโรงงานเป็นอย่างดี ทั้งนี้ โดยมีรางวัลโรงงานดีเด่นที่ทางกระทรวงอุตสาหกรรมมอบให้เมื่อปีที่แล้วเป็นเครื่องการันตี

ระดับบริหารของซีเกทเชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากคนนอกเข้ามายุยงสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในหมู่คนงาน แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงกรณีที่คนงานขอตั้งสหภาพแรงงาน พร้อมทั้งอ้างถึง QCG (QUALITY CONTROL GROUP) ที่บริษัทตั้งขึ้น โดยให้คนงานเลือกตัวแทนกันขึ้นมาเองเพื่อจะได้มีโอกาสพบกับผู้บริหารระดับสูงในการเจรจาเรื่องสวัสดิการและปัญหาต่างๆ

อย่างไรก็ตาม QCG นี้เพิ่งจะตั้งขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ประท้วง ! ?

นอกจากนี้ สำหรับผลการตรวจสอบทางด้านสาธารณสุขที่ทางสำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม กรมการแพทย์ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเลือดคนงานโดยการสุ่มตัวอย่างคนงานทุกแผนกจำนวน 1,175 คน พบว่า 36.42% ของคนงานมีระดับตะกั่วในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ไมโครกรัม ซึ่งโดยปกติถ้าระดับตะกั่วในเลือดสูง 25 ไมโครกรัมถือว่าดูดซึมตะกั่วเข้าไปในร่างกายมากเกินไป

แต่ยังมีข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมอีกฝ่ายหนึ่ง ชี้ประเด็นต่างออกไปโดยกล่าวว่า เครื่องดูอากาศที่บริษัทใช้มีคุณภาพดีมา ด้านในอาคารจึงไม่พบตะกั่วในอากาศเลย และได้แย้งในเรื่องค่ามาตรฐานสารตะกั่วในเลือดด้วยว่า ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดใช้อย่างเป็นทางการ แม้แต่กรมแรงงานก็กำหนดค่ามาตรฐานไว้ที่ 60 ไมโครกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร

ขณะที่ระดับบริหารของซีเกทยังคงมั่นใจในระบบความปลอดภัยของโรงงานและเชื่อว่า ความวุ่ยวายที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากบุคคลภายนอกที่พยายามสร้างความปั่นป่วน

คนงานหลายพันคนก็ต่อสู้เรียกร้องอย่างไม่อาจชี้ชัดนักว่า ห่วงใยต่อพิษภัยสารตะกั่วหรืออยากได้สหภาพมากกว่ากัน

และผลการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐก็ขัดแย้งกันเอง ไม่มีผู้ใดหรือหน่วยงานใดที่จะให้ผลอย่างรวบยอดที่กระจ่ายชัดเจนได้ ซ้ำยังไม่รู้จะต้องเถียงกันอีกเพียงใดว่าจะยึดเลขตัวใดมาเป็นมาตรฐานชี้วัดความเป็นความตาย

ส่วนเจ้าสารตะกั่วก็คงมีบทบาทอยู่ในโรงงานทั้งที่ซีเกทและอื่น ๆ ...ใกล้ชิดกับลมหายใจและร่างกายของคนงานจำนวนมากมาย มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสะสมตัวเองอยู่กับมนุษย์เงียบ ๆ โดยไม่อาจรู้ ถ้าไม่มีการตรวจอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

แท้จริงจนถึงวันนี้ เมืองไทยก็ยังไม่ได้ตื่นตัวกับมหันตภัยที่ย่างกรายใกล้เข้ามา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us