|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เดินหน้าเข้าสู่ครึ่งปีหลัง 2551 ภาคธุรกิจ ใจแป้ว กอดคอกันเสี่ยงภัย หลายฝ่ายประเมิน หืดขึ้นคอ น่าเป็นห่วงกว่าครึ่งปีแรก ชี้การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ สองยักษ์คอนซูเมอร์ "ลีเวอร์-พีแอนด์จี" ส่งสัญญาณหั่นงบโฆษณาครึ่งปีแรกประคองตัว
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 ยังคงไม่น่าไว้วางใจ กับภาวการณ์ต่างๆที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นมา หรือแม้แต่ ปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมานาน รวมไปถึง กำลังซื้อของผู้บริโภคที่หลายฝ่ายประเมินว่า ลดลงอย่างมาก หรือไม่ก็ชะลอการจับจ่ายอันเนื่องมากากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แม้ว่าภาครัฐจะออก 6 มาตรการมาช่วยเหลือก็ไม่อาจช่วยได้มากนัก
แท้ที่จริงแล้วปัจจัยลบเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เป็นเรื่องเดิมที่เศรษฐกิจไทยเราเผชิญหน้ากันมาอย่างต่อเนื่อง 2-3 ปีแล้ว ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น เมื่อปี 2549 ทว่าเป็นปัจจัยลบที่ไม่อาจจะสามารถแก้ไขได้ แน่นอนว่า ส่งผลกระทบระยะยาวต่อภาคธุรกิจอย่างมาก ที่ถึงวันนี้ ยังหาทางออกไม่เจอ อย่าหวังว่าจะดิ้นรนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายทั้งยอดขายและกำไรได้อย่างไร ลำพังเพียงแค่ประคองตัวเองให้รอดก็ยากแล้ว
งบการตลาดและงบประชาสัมพันธ์กลายเป็นเป้าหมายที่องค์กรต่างๆจำเป็นต้องพิจารณาอย่างเข้มงวดในการใช้จ่าย หนักที่สุดก็คือ การตัดลดงบลง ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้วในช่วงครึ่งปีแรก
สองยักษ์คอนซูเมอร์หั่นงบโฆษณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์กรใหญ่ๆหลายแห่งได้ปรับลดงบโฆษณาลงหลายราย ล้วนแต่เป็นภาคคอนซูเมอร์ หรือบางแห่งที่ไม่ได้ตัดนั้นก็เพิ่มมาเล็กน้อยเท่านั้นเอง โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ องค์กรข้ามชาติใหญ่ๆอย่าง ยูนิลีเวอร์ ไทยโฮลดิ้งส์ ใช้งบโฆษณารวม 2,312 ล้านบาท ลดลงไปกว่า 400 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ใช้สูงถึง 2,750 ล้านบาท ส่วนอีกค่ายก็เป็นคอนซูเมอร์โปรดักต์ข้ามชาติเช่นกันคือ พีแอนด์จี ที่ใช้ไป 695 ล้านบาท จากเดิมที่ใช้งบถึง 733 ล้านบาท แม้จะลดไม่มาก แต่ก็สะท้อนได้ว่า ตลาดคอนซูเมอร์นั้นลำบากเหมือนกัน
ปรับตัวรับภัยครึ่งปีหลัง
การปรับตัวในครึ่งปีหลังเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในหลากหลายกระบวนท่า นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ซีอาร์ซี เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้และครึ่งปีหลังยังน่าเป็นห่วงอยู่ กับปัจจัยลบต่างๆที่ยังคงอยู่ ยิ่งค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้อำนาจการจับจ่ายของผู้บริโภคน้อยลง ซึ่งก็จะส่งผลกระทบไปเป็นวงกว้าง แต่ในแง่ของการลงทุนบริษัทฯก็ต้องลงทุนต่อเนื่อง แต่ระมัดระวังมากขึ้น
นายพรวุฒิ สารสิน รองประธาน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมโค้ก น้ำดื่มน้ำทิพย์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจนี้ไปทีละจุดๆก่อน และจำเป็นต้องตัดลดงบประมาณในส่วนที่ไม่สร้างยอดขายลงด้วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้นทุน
ขณะที่ นางสาวสุวรรณา โชคดีอนันต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) ก็กล่าวถึงการปรับตัวของบริษัทฯว่า ขณะนี้บริษัทฯได้ปรับเป้าหมายอัตราการเติบโตด้านรายได้รวมปีนี้ใหม่เหลือแค่ 30% จากเดิมที่เคยตั้งไว้สูงถึง 40% เพราะสภาพเศรษฐกิจครึ่งปีหลังไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งการปรับรูปแบบของอีเว้นต์ต่างๆให้มีขนาดเล็กลง และเลื่อนบางกิจกรรมไปปีหน้าแทน
นายวรุตม์ สถิตธนาสาร ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ในเครือเซ็นทรัล ย้ำว่า ช่วงครึ่งปีหลังคงต้องทำธุรกิจแบบคอนเวอร์เวทีฟมากขึ้น ระมัดระวังอย่างมากกว่าช่วงปรกติ เพราะสถานพารณ์ตอนนี้น่าเป็นห่วงมาก สิ่งสำคัญของผู้ประกอบการคือ ต้องเน้นการบริหารความเสี่ยงมากกว่าการบริหารกำไร โดยเฉพาะวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า เรื่องสต็อคเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องเสี่ยง เพราะเป็นสินค้าอายุสั้น ราคาตกเร็ว ตกรุ่นเร็วด้วย มีความเสี่ยงมหาศาล
"จริงๆแล้วสภาพรวมของไทยเราไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่นเลย มองว่ากำลังซื้อในตลาดยังพอมีอยู่แต่ผู้บริโภคไม่จับจ่าย ซึ่งภาคส่งออกเราก็ดี จีดีพีในประเทศก็ยังไม่แย่เท่าใด แต่ว่าช่วง 2 ปีหลังนี้ ภาคส่งออกกลับมากกว่าการเติบโตในประเทศ จึงทำให้เราต้องเป็นแบบนี้"
นายพุฒิพงศ์ เทพวรินทร์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท โคซาน อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ครึ่งปีหลังคาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว ซึ่งกระทบกับการทำตลาดของบริษัทฯโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศที่จะชะลอตัวลงจากนี้ โดยหนทางหนึ่งคือ การขยายตลาดและช่องทางการจำหน่าย เครื่องฟอกอากาศสกาน่าไปยังช่องทางอาคารสำนักงาและงานโครงการต่างๆ เพื่อสร้างยอดขาย ซึ่งแผนงานดังกล่าวนี้ถือเป็นปีแรกที่เริ่มทำตลาด เพราะสภาพเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ทำให้ต้องปรับตัว ซึ่งค่อนข้างได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยลูกค้าในกลุ่มดังกล่าวนี้ที่ได้มาแล้วเช่น บริษัทในเครือซีเมนส์ กรุ๊ป, โรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลจุฬาฯ
ขณะที่อีกตลาดคือ พัดลม ที่จะแข่งขันรุนแรงจากนี้ ก็จะมีการปรับตัวโดยหาทางขยายตลาดส่งออกต่างประเทศมากขึ้น โดยเจาะไปที่ตลาดย่านอินโดจีนเป็นหลัก
|
|
|
|
|