Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
เปิดประชุม NGO โลก             
 


   
search resources

องค์กรพัฒนาเอกชน - NGO
เดช พุ่มคชา
คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชนบท




เป็นเวลา 5 ปี มาแล้วที่มีการประชุมกันของบรรดาองค์กรพัฒนาเอกชนหรือที่เรียกว่า NGO (NON GOVERNMENT ORGANIZATION) นานาชาติในช่วงเวลาเดีวยกันและในเมืองเดีวยกันกับการประชุมใหญ่ประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน

โครงการสัมมนา "เวทีชาวบ้าน 34" หรือ "1991 PEOPLES FORUM" เป็นงานที่คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชนบท (กป.อพช.) ริเริ่มจัดขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์และศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทบทวนถึงการพัฒนาตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่าได้ก่อให้เกิดผลอะไรขึ้นบ้าง พร้อมกับจะได้เสนอข้อมูลและประสบการณ์จากการทำงานพัฒนาที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านของฝ่ายเอกชน ในลักษณะที่เป็นทางออกหรือทางเลือกอีกแนวหนึ่งโดยเสนอผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ

"ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเป็นเลข 2 หลักต่อเนื่องมา ทำให้ถูกกล่าวขานว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวย แต่เมื่อตรวจสอบดูแล้วพบว่าการกระจายยังไม่น่าพอใจ และเราได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทดิน น้ำ ป่า หมดไปอย่างมากมาย ซึ่งแม้แต่คำอารัมภบทแผน 7 ก็ได้ว่าไว้อย่างนี้ ที่น่าสนใจก็คือว่าก่อนการใช้แผน 5 นั้น กลุ่มคนยากจนมีประมาณ 13 ล้านคนแต่หลังจากแผน 6 นี้ตัวเลขขึ้นไปถึง 15 ล้านคน นี่เป็นเหตุการณ์ที่เราจะต้องทบทวน วิพากษ์วิจารณ์ต่อการพัฒนา 30 ปีที่ผ่านมา" เดช พุ่มคชา เลขานุการ กป.อพช. กล่าวถึงแนวคิดอันเป็นที่มาของโครงการเวทีชาวบ้าน

กป.อพช.คือองค์กรประสานงานขององค์กรพัฒนาเอกชนที่มีกิจกรรมทำงานพัฒนาร่วมกับประชาชนในชนบทและหัวเมือง ก่อตั้งขึ้นจากข้อตกลงในการประชุมระดับชาติของ NGO 106องค์กรเมื่อปลายปี 2528 ปัจจุบันมีสมาชิก 220 องค์กร

เดชเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในแนวทางของกป.อพช.มาตั้งแต่ต้นและมีส่วนผลักดันให้

เกิดกป.อพช.ภาคอีสานขึ้นในสมัยที่เจาทำงานพัฒนาอยู่บนแผ่นดินที่ราบสูง

ด้วยวัย 46 ปีเดชคลุกคลีอยู่กับวงการพัฒนานานถึง 20 ปี ตั้งแต่เมื่อจบจากนิเทศศาสตร์

จุฬา ฯ โดยเริ่มจากการเป็นบัณฑิตอาสา 2 ปี แล้วไปเป็นอาสาสมัครกรมการพัฒนาชุมชน 1 ปีก่อนจะเข้ารับราชการที่สำคัญบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ถึง 10 ปี ได้ทำงานคลุกคลีกับบรรดาคนหนุ่มสาวก้าวหน้ารุ่นใหม่ ๆ ตลอดมาจนกระทั่งอิ่มเต็มกับการทำงานพัฒนาของสถาบันวิชาการก็ผันตัวเองไปสัมผัสกับการทำงานพัฒนาในพื้นที่จริง ๆ ที่อำเภอไพสาลี จังหวัดนครสวรรค์

ที่องค์กรชื่อ SAVE THE CHILDREN ในตำแน่งหัวหน้าฝ่ายสนาม เดชได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมในระดับรากเหง้าอย่างมากมาย ขณะเดียวกันก็พบว่าองค์กรพัฒนาที่เป็นเครือข่ายของต่างประเทศนั้นมีข้อจำกัดในการทำงานอย่าวนึกไม่ถึง

"จากองค์ SAVE ผมยังคงทำงานกับองค์กรฝรั่งอีกแห่งหนึ่งได้เข้าไปอยู่ในตำแหน่งสูง คือ เป็น INTERNATIONAL STAFF กินเงินเดือนตรงจากสำนักงานใหญ่และตอนหลังสุดผมก็เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ถือเป็นคนไทยคนแรกที่องค์กรแห่งนั้นยอมรับ ซึ่งการที่ได้ตำแหน่งเหล่านี้ทำให้ได้รู้ระบบของมัน ได้รู้ว่ากว่าที่การพัฒนาจะเกิดขึ้นในบ้านเรา มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง" ในที่สุดเดชก็หันกลับมาหาองค์กรไทย แต่ยังคงอยู่ในวงการพัฒนา

ปัจจุบันนอกจากการเป็นเลขาฯ ก.ป.อพช. แล้ว ยังเป็นผู้อำนวยการของมูลนิธิอาสาสมัครพัฒนาสังคมด้วย

สำหรับกิจกรรมของโครงการเวทีชาวบ้าน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน โดยเวทีที่เสนอเกี่ยวกับเรื่องราวภายในประเทศ เรียกว่า เวทีไทย ประกอบไปด้วยกรณีศึกษาทั้งสิ้น 9 กรณี ได้แก่ เรื่องที่ดิน ทรัพยากรป่า ระบบนิเวศชายฝั่ง นโยบายพลังงาน เกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำ หัตถกรรมการทอผ้า ชาวเขา และชุมชนแออัด

อีกส่วนหนึ่งคือเวทีสากลจะเป็นกรณีศึกษาที่ส่งมาจากหลาย ๆ ประเทศภายใต้ 4 ประเด็นใหญ่ คือ ทรัพยากรป่า ทรัพยากรน้ำ เกษตรกรรม และการพัฒนาของเขตเมืองและอุตสาหกรรมเป็นเชิงของการเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อกัน โดยจะมีเรื่องของไทยในทุกๆ ประเด็น

ในรายละเอียดของเนื้อหากรณีศึกษาต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยการกล่าวถึงสถานการณ์ของเรื่องนั้น ๆ ไล่เรียงพัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบันเพื่อสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่มาจากทิศทางการพัฒนา ซึ่งแน่นอนว่า ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดคงจะออกมาในลักษณะที่เป็นปัญหา จากนั้นจึงเป็นเรื่องของการเสนอแนะแนวทางอื่น

ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีศึกษาที่ว่าด้วยเรื่องเกษตรกรรมก็เป็นการกล่าวถึงแบบแผนการผลิตไล่มาตั้งแต่อดีตที่ทำเพื่อยังชีพ เปลี่ยนเป็นเพื่อขายแล้ว เข้าสู่ยุคปฏิบัติเขียว มีการใช้สารเคมี เครื่องจักร เทคโนโลยี จนกระทั่งถึงระบบเกษตรครบวงจร ต่อจากนี้ก็กล่าวถึงผลกระทบและสภาพปัญหาทั้งกับคนและสภาพแวดล้อม แล้วจึงจบด้วยเรื่องของเกษตรกรรมทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรมธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ฯลฯ

แนวโน้มการให้น้ำหนักก็คือ ให้ความสำคัญกับเรื่องของคน สิ่งแวดล้อมและการมีทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในการทำงานมีการแบ่งเป็น 2 ส่วนเช่นกัน โดยคณะกรรมการอำนวยการจะเป็นที่ปรึกษาผู้ให้ความคิด และเป็นเสมือนร่มในการทำงาน ประกอบไปด้วยผู้ใหญ่ใน NGO นักวิชาการและปัญญาชนผู้มีบทบาทในเชิงพัฒนาสังคม เช่น ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.ระพี สาคริก, ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์, ดร.วทัญญู ณ ถลาง, ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, ดร.อมรา พงศาพิชญ์, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ไพบูลย์ วัฒนศิริ ฯลฯ

ส่วนคณะกรรมการดำเนินงานคือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการและผลักงานให้เคลื่อนออกมาให้ได้ หลัก ๆ แล้วมาจากองค์กร กอ.อพช., โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติและคณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.)

นอกจากนั้น NGO อื่น ๆ ก็ล้วนเป็นแนวร่วมและบางส่วนรับผิดชอบในแง่ของการเป็นผู้จัดทำกรณีศึกษา

สำหรับเดช พุ่มคชา ถือว่าเป็น KEYMAN คนหนึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของเวทีไทยทั้งหมด ในขณะที่ศรีสุวรรณ ควรขจรเป็นผู้รับผิดชอบเวทีสากล และทั้งสองก็ยังดูแลเรื่องการหาทุนร่วมกันด้วย

"ทั้ง 2 เวทีบวกลบแล้วคงใช้เงินประมาณ 6,000,000 บาท ซึ่งเราได้มาจากองค์กรทุนต่างประเทศร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้วยกันเอง บางส่วนตอนนี้ที่มีการติดต่อมาอย่างเป็นทางการก็เท่ากับ 5,000,000 เศษแล้ว" เดชเปิดเผย

การเลือกองค์กรทุนที่จะให้การนับสนุนการจัดงานครั้งนี้เป็นเรื่องหนึ่งท่ทางผู้จัดงานตีกรอบไว้พอสมควร ที่สำคัญก็คือ ไม่ยอมรับเงินจากองค์กรธุรกิจและจากองค์กรที่มีเป้าหมายเป็นอื่น บรรดาแทบทั้งหมดที่ให้ความช่วยเหลือมาล้วนแล้วแต่คือ แนวร่วมทางการพัฒนาที่เกื้อหนุนกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็น NOVIB, BREAD FOR THE WORLD หรือ NORAD

"ทุนพวกนี้เอามาใช้ในการจัดการที่เราต้องทำในฐานะเจ้าภาพ พวกเรื่องที่พัก ค่าสถานที่จัดงาน ค่าอาหารชาวบ้าน และเพื่อน NGO ต่างประเทศที่เดินทางมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แล้วก็ค่าเตรียมงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่ง FACIBILITY ก็ได้จากทางจุฬาฯ มาก" เงิน 6,000,000 บาทสำหรับการจัดงานที่กินเวลาถึง 6 วัน คือ ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคมสำหรับเวทีไทย และ 13-15 สำหรับเวทีสากล ไม่เปิดโอกาสให้จับจ่ายอย่างไรก็ได้

แม้จะประชุมในประเทศเดียวกัน ช่วงเวลาเดียวกัน แต่ศักยภาพและการโอบอุ้มจากรัฐก็แตกต่างกันลิบลับ

สถานที่ประชุมที่ใช้งานเวทีไทยก็คือ หอประชุมใหญ่จุฬาฯ ส่วนเวทีสากลต้องการเทคโนโลยีพอสมควรเพื่อช่วยในการสื่อความจึงต้องใช้ที่อาคารศศปาฐศาลา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ส่วนที่พักนั้นสำหรับชาวต่างประเทศจะเป็นที่โรงแรมเวียงใต้ ซึ่งคนเหล่านี้บางทีก็ช่วยเหลือตัวเองโดยองค์กรสังกัดออกค่าใช้จ่ายให้ ในขณะที่ชาวบ้านที่จะมาร่วมคงจะต้องพักในสถานที่ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด

ในเดือนตุลาคมนี้ ณ กรุงเทพมหานคร จึงเท่ากับมีการประชุมใหญ่ถึง 2 รายการด้วยกัน สำหรับบรรดานักการเงินการธนาคารนั้น เสมือนเป็นแขกของรัฐบาล ส่วนบรรดา NGO ทั้งหลายก็จะมีเพื่อนร่วมแนวทางและประชาชนจากชนบทมาเป็นแขก ฝ่ายแรกพูดกันถึงเรื่องการจะเร่งรัดพัฒนากันไปอย่างไร ขณะที่ฝ่ายหลังตั้งใจจะทบทวนการพัฒนาที่ผ่านมาใน 3 ทศวรรษเพราะเห็นว่าได้มีการสะสมตัวของปัญหาไม่น้อย

อย่างไรก็ตามเดช พุ่มคชายยืนยันหนักแน่นว่ารายการนี้ไม่ใช่เรื่องของการประชันหรือต่อต้านกัน แม้ว่าเนื้อหาจะตรงกันข้าม

"จริง ๆ แล้ว WORLD BANK มีอิทธิพลต่อแนวนโยบายการพัฒนาประเทศเราตลอดมาโดยผ่านนโยบายรัฐ ผ่านกลไกราชการ แต่หลักของงานนี้ไม่ใช่การวิจารณ์ WORLD BANK จะไม่มีการบอกว่ารัฐบาลไม่ดี WORLD BANK ไม่ดีโจมตีกันจะไม่เอา นี่คือจุดยืนของเราเพราะ WORLD BANK ไม่ได้เป็นตัวการเดียว แต่ WORLD BANK ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สำหรับเมืองไทย 30 ปีที่ผ่านมาเขามีส่วนในการสร้างสิ่งที่เป็นอยู่" เดชกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us