Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
การต่อสู้ของกลุ่มสยาม เมื่อ"คุณหญิงพรทิพย์"บุกคลัง             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท สยามกลการ จำกัด

   
search resources

สยามกลการ, บจก.
พรทิพย์ ณรงค์เดช
Automotive




"ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่มาขอข้าวกินเท่านั้น" คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช เอ่ยปากตอบผู้สื่อข่าวที่รุมล้อมในบ่ายวันหนึ่งที่กระทรวงการคลังหลังจากคุฯหญิงพรทิพย์และคณะที่ประกอบด้วยกวี วสุวัตเออร์วิน มูลเลอร์ได้ปรึกษาหารือถึงทุกข์อันเกิดจากภาษีรถยนต์ใหม่กับพนัส สิมะเสถียรปลัดกระทรวงการคลังเป็นเวลาถึงสองชั่วโมง

การพลิกกลับไปกลับมาของภาษีรถยนต์ใหม่ที่กระทรวงการคลังประกาศ เมื่อวันที่ 3 กันยายนศกนี้ เป็นปัญหาของการตัดสินใจของทางการที่ยังไม่ลงตัว ทำให้ช่องว่างภาาระหว่างรถยนต์ประกอบภายในประเทศกับรถยนต์ที่นำเข้าอยู่ในอัตราไม่เหมาะสม

คราวที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 กันยายนผู้ประกอบรถยนต์ในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มสยาม

ภายใต้การนำของคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ก็ร้องเรียนบ่อยๆว่า "แคบเกินไป" เพราะห่างกันเพียง 5-10%

"ความห่างนี่ควรจะห่างกันพอที่อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศนี้ จะอยู่ได้ และมีกำไรมีเงินพอที่จะไปขยายกิจการ" คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดชผู้จัดการใหญ่/CEOกลุ่มสยามเล่าให้ฟัง

แต่ครั้นมีการเปลี่ยนแปลงสูตรคิดคำนวณภาษีใหม่ตั้งแต่ 27 สิงหาคม 2534 ผู้นำเข้าก็ร้องคร่ำครวญว่า "ห่างมากเกินไป" จนไม่มีใครกล้านำเข้าและที่นำเข้ามาแล้ว ก็ค้างเติ่งอยู่ที่ท่าเรือเสียหายหลายล้านบาท เพราะภาษีรถยนต์นำเข้าต้องเสียเพิ่มขึ้นเนื่องจากคิดจากฐานราคาขายปลีกซึ่งเป็นฐานเดียวกับรถในประเทศแทนที่คิดจากฐานที่ท่าเรือ ทำให้รถยนต์นำเข้าแพงกว่าในประเทศ 15-20% คือรถยนต์เกิน 2,300 ซีซีที่เสีย 210.88% ก็เพิ่มเป็น 298% หรือเพิ่มอีก 87.12% และรถยนต์ที่ต่ำกว่า 2,300 ซีซีที่เก็บ 137.67% ก็เพิ่มเป็น186.08% หรือเสียเพิ่มขึ้นอีก 48.41% ในขณะที่ภาษีนำเข้าชิ้นส่วน (ซีเคดี) เสียภาษีเพียง 112% ของราคาซีไอเอฟ

วิกฤตได้เกิดขึ้นแล้วในอุตสาหกรรมรถยนต์จากความผิดพลาดของการบริหารที่รัฐทำ ซึ่งอาจเป็นเพราะตั้งใจดีมากเกินไปของรัฐบาลที่มีนโยบายเปิดเสรีรถยนต์ โดยเจตนาจะให้มีการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศเข้ามาแข่ง และต้องการให้ราคารถยนต์ลดลงกว่าเดิมที่มีการขึ้นราคากันมากจนต้องมีการขายใบจองกัน

แต่ปรากฏการณ์ชักเย่อไปมาระหว่างกลุ่มพลังผลประโยชน์ทั้งสองกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสยามกับกลุ่มผู้นำ เข้าไม่ต่ำกว่า 20 ราย ทำให้นายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน มีนโยบายให้หาข้อยุติด่วน

ในที่สุดเมื่อ 3 กันยายนที่ผ่านมานี้ สุธี สิงห์เสน่ห์ รมว.กระทรวงการคลังก็ตัดสินใจยืนในหลักการเดิมตามประกาศภาษีรถยนต์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ทันทีที่กระทรวงการคลังยืนยันการเก็บภาษีรถยนต์อย่างชัดเจน คุณหญิงพรทิพย์ก็ให้สัมภาษณ์ในเชิงประท้วงถึงความไม่แน่นอนของนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของรัฐบาลว่า กลุ่มสยามจะเลื่อนแผนการลงทุนในช่วงปี 2535-38 ซึ่งคาดว่าจะมีการลงทุน 5,900 ล้านบาทออกไป และหยุดแผนเดิมที่จะลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งโครงการร่วมลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่กับบริษัทนิสสันมอเตอร์ของญี่ปุ่นด้วย

ความฝันของคุณหญิงที่จะกู่ร้องให้ก้องโลกถึงความยิ่งใหญ่มั่นคง "กลุ่มสยาม" ก็มีทีท่าจะฝันค้าง ทั้ง ๆ ที่กลุ่มสยามเกิดจากรวมกิจการ 32 บริษัทอย่างเป็นทางการ ในวันเกิดของคุณหญิงพรทิพย์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมนี้เอง

"ตัวเองเป็นคนถือโชคลางวันที่เปิดกลุ่มสยามก็เอาวันเกิดตัวเองเป็นฤกษ์ซึ่งคิดว่าเป็นวันดีที่สุด ที่เราต้องการให้การเปิดตัวกลุ่มสยามนี้เป็นข่าวระดับโลกเช่นข่าวรอยเตอร์ข่าวอาซาฮีชิมบุน เขาจะได้ทึ่งว่าเมืองไทยมีกลุ่มที่ใหญ่มากไม่แพ้กลุ่มซูมิโตโม กลุ่มมิตซุย" ความภาคภูมิใจปราฏกในน้ำเสียงและใบหน้าเอิบอิ่มบุญของคุณหญิงพรทิพย์ในวันนั้น และมีการโฆษณา CORPORATE IMAGE ของกลุ่มสยามเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ไทยและต่างประเทศต่อเนื่องกันมา

แต่วันนี้ดูเหมือนคุณหญิงพรทิพย์จะเป็นทุกข์กับภาษีรถยนต์ใหม่ที่ก่อผลสะเทือนถึงกับต้องขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เพื่อวิงวอนขอความเป็นธรรมให้กับกลุ่มสยามที่เป็นสมบัติของคนไทยด้วย กลุ่มสยามได้ยอมรับว่า ขาดทุนไป 600 ล้านบาทสำหรับสต็อกวัตถุดิบและสินค้ารถยนต์ที่ค้างอยู่จำนวนมาก

ในปลายเดือนสิงหาคมกลุ่มสยามได้เซ็นสัญญากู้ยืมเงิน SYNDICATEDLOAN จ่ำนวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 750 ล้านบาทจากกลุ่มธนาคารประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำโดยธนาคารฟูจิ เพื่อนำไปใช้ในบริษัทสยามสิสสันออโตโมบิลโรงงานประกอบรถยนต์ที่เดิมชื่อบริษัทสยามอุตสาหกรรมถือหุ้นโดยญี่ปุ่นอยู่ 25% นอกนั้นเป็นของตระกูลพรประภา

"ตอนนี้ เราให้คนงานประกอบรถยนต์บางส่วนพักงานแต่ยังจ่ายเงินเดือนตามปกติเพราะลดกำลังผลิตลงจากเดิม 3 กะเหลือเพียง 1 กะ เหลือเพียงเดือนละ 1,900 คันจากเดิม 5,000 คันต่อเดือน" นี่คือทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคุณหญิงพรทิพย์

ความเหน็ดเหนื่อยในภารกิจนี้ยังไม่หยุด กลุ่มสยามภายใต้การนำของคุณหญิงพรทิพย์ต้องต่อสู้ระวังตัวเอง มิให้เพลี่ยงพล้ำใภาวะผันผวนของนโยบายที่รัฐยืนยันช่วงห่างของรถยนต์นำเข้ากับรถประกอบในประเทศประมาณ 5 - 10% ซึ่งอาจจะทำให้กลุ่มสยามต้องปรับตัวและบางทีอาจต้องลดบทบาทลง เนื่องจากต้องไปพึ่งพาบริษัทนิสสันมอเตอร์แห่งญี่ปุ่นมากขึ้นในการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป แทนที่จะเสริมสร้างความแข็งเกร่งในตลาดอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ได้ดังใฝ่ฝัน ตรงนี้เองที่อำนาจต่อรองของนิสสันญี่ปุ่นอาจเข้ามามีบทบาททั้งการตลาดแะการผลิตรถยนต์ในหลุ่มสยามมากขึ้นในอนาคต

ความพยายามต่อสู้ของกลุ่มสยามภายใต้การนำของคุณหญิงพรทิพย์ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถในเชิงผู้นำของคุณหญิงพรทิพย์ว่า จะมีแรงต้านการรุกเร้าของปัญหาที่สำคัญยิ่งยวดต่ออนาคตของกลุ่มสยามที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือไม่?!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us