Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534
ABN AMRO แบงก์อัญมณี กำลังมาที่กรุงเทพ             
 


   
search resources

Algement Bank Nederland N.V
Nico Van Der Klugt
Loan
Jewelry and Gold




ธนาคาร ABN หรือ ALGEMENE BANK NEDERLAND NV สัญชาติดัตต์ไม่เป็นที่คุ้รหูคนไทยสักเท่าใด แต่กับผู้ที่ติดต่อค้าขายในเนเธอร์แลนด์และบรรดานักค้านักอุตสาหกรรมเพชรพลอยอัญมณีต้องรู้จักเป็นอย่างดีในนามของ DIAMOND BANK

ABN เป็นธนาคารพาณิชย์เก่าแก่ มีชื่อในด้านให้สินเชื่ออุตสาหกรรมอัญมณีรายใหญ่ที่สุดในโลกมากกว่า 50 ปี มีสวนแบ่งในตลาดสินเชื่อด้านอัญมณีของโลกมากกว่า 25 % ABN อยู่ระหว่างการรวมตัวกับธนาคาร AMRO หรือ AMSTERDAM ROTTERDAM BANK ธนาคารพาณิชย์ใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ให้การสนับสนุนธุรกิจเครื่องประดับเพชรพลอยในกรุงอัมสเตอร์ดัมมาเป็นเวลามากกว่า 100 ปี

เมื่อการวมตัวของธนาคารทั้งสองสำเร็จลงในเดือนตุลาคมจะใช้ชื่อว่า ABN AMRO BANK และเกิดเป็นธนาคารที่วัดจากมูลค่าสินทรัพย์จำนวน 199 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใหญ่สุดเป็นอันดับ 16 ของโลก

ขณะที่ยังครองอันดับ 1 ในการให้สินเชื่อเพื่ออุตสาหกรรมอัญมณีของโลก

NICO VAN DER KLUGT ผู้จัดการทั่วไปของแผนก IDO หรือ INTERNATIONAL DIAMOND DIVISION ของธนาคาร ABN เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ในคราวที่เดินทางมาเตรียมการประชุมผู้เกี่ยวข้องในวงการค้าอัญมณี ซึ่งธนาคารฯมีการจัดการประชุมเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอ 2 ปี/ครั้งและสำหรับและปีนี้ได้ใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงานว่า "ธนาคารฯให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมอัญมณีในที่ต่างๆ ทั่วโลก เมื่อ 10 ปีก่อนจึงมีการตั้งแผนก IDD ขึ้นมาเพื่อดูแลอุตสาหกรรมนี้ในทั่วโลกเป็นการเฉพาะ ผมต้องดูแลให้เจ้าหน้าที่ของแผนก ฯ ซึ่งมีเพียง 5 คน เท่านั้น ก้าวทันกับแนวโน้มทางการค้า อุตสาหกรรม การพัฒนาสินค้าอัญมณีใหม่ๆ และให้คำแนะนำปรึกษาแก่ลูกค้าของธนาคารฯ"

ว่าไปแล้ว IDD ก็คือแผนกสินเชื่อในอุตสาหกรรมอื่นๆของ ABN

VAN DER KLUGT ซึ่งร่วมงานกับธนาคารฯมานานกว่า 40 ปี และมีความเชี่ยวชาญใในอุตสาหกรรมเพชรพลอยอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งกล่าวว่า" เมื่อมีผู้ขอสินเชื่อในธุรกิจอัญมณี แผนก IDD จะร่วมกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารฯ เพื่อดูแลลูกค้ารายนั้นๆ แผนกฯไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งสินในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ แต่เราเป็นผู้รับรองลูกค้าและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อจะเป็นผู้อนุมัติวงเงินกู้ตามการรับรองของเรา"

ปกติแล้วงานประชุมของธนาคารฯจะมีสาขธนาคารในประเทศที่ใช้เป็นสถานที่จัดงานเป็นผู้ดูแลเตรียมการประชุม แต่ในครั้งนี้ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 6 ธนาคารฯเลือกจัดที่กรุงเทพซึ่งธนาคารฯไม่มีสำนักงานตัวแทน VAN DER KLUGT จึงต้องมาดูแลด้วยตนเอง

NICO VAN DER KLUGT เปิดเผยว่า "เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ABN เคยยื่นอนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อที่จะเข้ามาตั้งสาขาและเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารฯก็ยื่นความจำนงเข้ามาอีกครั้งหนนึ่งแต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการพิจารณา"

ผู้จัดการชาวดัตช์ไม่ทราบสาเหตุที่ไม่ได้รับการพิจารณาและเขาก็เพิ่งจะททราบว่าหลังจากที่ธนาคารแห่งอเมริกาและธนาคารซีคิวริตี้ แปซิฟิค เอเชี่ยน รวมตัวในต่างประเทศแล้วใบอนุญาตเปิดสาขาต่างประเทศจะว่างลง 1 ใบ เพราะธนาคารฯทั้งสองต่างถือใบอนุญาตฯด้วยกันทั้งสองแห่ง เมื่อรวมกันและเหลือเพียงธนาคารแห่งอเมริกา ใบอนุญาตก็จะเหลืออีก 1 ใบ เขายังไม่ทราบว่าคณะผู้บริหารธนาคารฯจะสนใจอย่างไรหรือไม่

ท่าทีของคณะผู้บริหารแบงก์เท่าที่ผ่านมาโดยเฉพาะการปรากฏตัวในเอเชียเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาและเมื่อเร็วๆนี้ทำให้เป็นที่คาดหมายได้ว่า ABN AMRO ขวนขวายพยายามอย่างยิ่งที่จะเข้าสู่ตลาดไทย

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ABN ซื้อใบอนุญาตของ CONTINENTAL BANK ในกรุงไทเป เปิดสำนักงานสาขาขึ้นได้สำเร็จในจังหวะที่ไต้หวันกำลังผ่อนคลายกฏระเบียบทางการเงินและการคลัง รวมทั้งมีการเปิดตลาดหุ้นไต้หวันให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

ครั้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ABN ก็ซื้อใบอนุญาตของ CHEMICAL BANK เพื่อเปิดสาขาในกรุงโซล กรายเป็น1 ใน 20 แบงก์ต่างชาติใในเกาหลีใต้ตลาดที่ธนาคารในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์กำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เกาหลีใต้อยู่ในช่วงของการเร่งผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับธนาคารต่างประเทศ จะมีการยกเลิกการควบคุมเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

JOS J.WZWEEGERS ผู้จัดการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือของ ABN AMRO เปิดเผยกับนิตยสารการเงินมีชื่อฉบับหนึ่งว่า "ธนาคารกำลังเข้ามามีบทบาทในเอเชียอย่างรวดเร็ว เราต้องการที่จะเป็นผู้นำในแต่ละตลาดที่เราเข้าไปมีบทบาทอยู่"

แม้จะยังไม่มีใบอนุญาตเปิดสาขา แต่เป็นที่แน่นอนว่าธนาคารฯมีแผนการที่จะมาเปิดสำนักงานตัวแททนที่กรุงเทพ

ผู้จัดการ IDD กล่าวว่า ถึงตอนนี้ยังไม่มีสำนักงานอะไรมันก็ไม่ใช่อุปสรรคที่จะขัดขวางการจัดประชุมที่กรุงเทพ แต่เมื่อผมทราบว่า มีการจัดงานประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกที่นี่ซิ ผมค่อนข้างจะลังเลใจ"

อย่างไรก็ดี การประชุมมีขึ้นในวันที่ 28-29 ตุลาคมหลังงานประชุมเวิลด์แบงก์ ต้องถือว่านี่เป็นการประชุมระดับชาติเช่นกัน โดยมีประธานธนาคาร ABN ประธานบริษัทเดอ เบียรส์ บริษัทค้าเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก และประธานของศูนย์กลาง ซื้อขายอัญมณีหรือที่รู้จักกันในนามของ CENTRAL SELLING ORGANIZING (CSO) พร้อมทั้งตัวแทนผู้ค้าอัญมณี นายธนาคารเหมืองเพชรระดับโลกมาร่วมประชุม

การเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ประชุม หลังจากที่เคยจัดในเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าเช่น แอนท์เวิร์ป นิวยอร์ก ลอนดอน ฮ่องกงและบอมเบย์ นั้นมีความหมาายเป็นอย่างยิ่ง

VAN DER KLUGT กล่าวว่า "ผมเดินทางมาประเทศไทยหลายครั้งแล้ว ได้มีโอกาสพูดคุยเยี่ยมเยียนบริษัทค้าเพชรโรงงานเจียระไนในไทยหลายแห่ง ผมเห็นว่าอุตสาหกรรมอัญมณีในประเทศไทยกำลังพัฒนาอย่างมาก และกรุงเทพกำลังเติบโตเะป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีรายสำคัญรายต่อไป"

แต่ ABN ไม่มีลูกค้าอยู่ในไทยโดยตรงเลยแม้แต่รายเดียว จะมีบ้างก็เป็นที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศและพาร์ตเนอร์ต่างประเทศเป็นลูกค้าของธนาคารฯโดยเฉพาะพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในแอนท์เวิร์ป

สิ่งที่ ABN AMRO ทำได้ในเวลานี้คือมีธุรกิจโดยทางอ้อม หากลูกค้าในประเทศไทยต้องการติดต่อกับธนาคารฯก็สามารถทำได้โดยทางอ้อมคือผ่านแบงก์พาณิชย์ไทย

ดูช่างเป็นความลำบากยากเย็นที่จะมีธุรกิจในไทยเสียเหลือเกิน !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us