Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 กรกฎาคม 2551
ลอฟท์รีโนเวต สเตชันนารี ขยายฐานลูกค้าผู้ใหญ่             
 


   
search resources

บีไอเอชซี เทรดดิ้ง, บจก. (LOFT)
Stationery




ลอฟท์ ผุดคอนเซปต์ LOFT EXTRAORDINARY STATIONARY ปรับโฉมแผนกเครื่องเขียน ดึงดูดลูกค้าผู้ใหญ่ เปลี่ยนรูปแบบการจัดวางสินค้าตามแคตทีกอรีมาสู่การจัดเรียงสินค้าตามไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค ปั๊มยอดโต 25% พร้อมเร่งขยายฐานสมาชิก ตั้งเป้า 35,000 ราย เพิ่มขึ้น 50% มากกว่าปรกติที่มีสมาชิกเพิ่มปีละ 30%

ลอฟท์ ร้านสเปเชียลตี้สโตร์จากญี่ปุ่น ทุ่มงบ 50 ล้านบาทรุกตลาดภายใต้ภาวะเศรษฐกิจผันผวน ชูไฮไลต์ปรับแผนกเครื่องเขียนเพื่อดึงดูดตลาดผู้ใหญ่ภายใต้คอนเซปต์ LOFT EXTRAORDINARY STATIONARY หลังจากที่ก่อนหน้านี้เน้นดีไซน์สินค้าเจาะตลาดวัยเด็กเป็นหลัก เช่นรูปแบบลายการ์ตูนแบบเด็กๆ ส่งผลให้ผู้ใหญ่ไม่กล้าเข้ามาเดิน ประกอบกับแผนกเครื่องเขียนเป็นแผนกที่มีศักยภาพในการสร้างยอดขายสูงสุด ทางร้านจึงมีการปรับพื้นที่จาก 140 ตารางเมตร เพิ่มเป็น 200 ตารางเมตร ซึ่งถือเป็นแผนกที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด จากพื้นที่รวมของร้าน 1,200 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่ขาย 800 ตารางเมตร

พร้อมกันนี้ได้ทำการรีโนเวตแผนกโดยแบ่งย่อยสินค้าออกเป็น 7 กลุ่ม ตามไลฟ์สไตล์ความชอบของลูกค้ากลุ่มต่างๆ เช่น Color Stationary เป็นการใส่สีสันให้กับสินค้าเครื่องเขียน 7 เฉดสี สามารถเลือกสินค้าให้เข้าชุดตามความชอบ พร้อมกับ Series Pantone จากญี่ปุ่น ถัดมาเป็น Black&White เน้นโทนดำ ขาว น้ำตาล ในรูปแบบเรียบง่ายที่เหมาะกับผู้ใหญ่ คนทำงาน ซึ่งนอกจากจะมีเครื่องเขียน สมุดแล้ว ยังมีอุปกรณ์สำนักงานที่สร้างความแตกต่างให้กับผู้ใช้

Cool Techno-Gadget เป็นสินค้าเทคโนโลยีที่มีดีไซน์แตกต่าง เช่น แฟลชไดรฟ์ Tokidoki, Fukuro นกฮูกสำหรับผ่อนคลาย และสุนัขออกกำลังกาย ซึ่งจะมีการเคลื่อนไหวเมื่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ตลอดจนสินค้าในกลุ่ม Animal Stationary ที่ใช้ดีไซน์สัตว์ต่างๆในตัวสินค้า เอาใจคนรักสัตว์ และ M.L.Jirathorn’s Signature Goods ที่นำงานศิลปะของหม่อมหลวงจิราธร จิรประวัติ มาออกแบบในสินค้าเครื่องเขียน

นอกจากนี้ยังมี Wise Walk Bags by Nodamic กระเป๋าคอมพิวเตอร์ กระเป๋าเอกสารนำเข้าจากญี่ปุ่นที่มีฟังก์ชั่นในการบรรจุของได้มากมาย ส่วน Art of Writing เป็นการรวบรวมปากกาชนิดต่างๆสำหรับคนชอบลวดลายหรือตกแต่งการเขียน เช่น ปากกา กากเพชร ปากกาสำหรับวาดภาพ Manga ซึ่งเป็นศิลปะสไตล์ญี่ปุ่น โดยป้ายบอกวิธีการใช้อย่างละเอียดพร้อมเทคนิคการวาดภาพต่างๆ ซึ่งทางลอฟท์ได้นำมาทำกิจกรรมเวิร์คชอปให้กับลูกค้า เพื่อให้เข้ากับคอนเซปต์ใหม่ของร้านที่มีการรีแบรนดิ้งเมื่อปีที่แล้ว โดยเน้นความสนุกสนานในการสร้างประสบการณ์ในการชอปปิ้ง

ในการจัดเรียงสินค้าได้มีการเปลี่ยนจากการจัดเรียงตามแคตทีกอรีของสินค้า เช่น สมุด ปากกา มาสู่การจัดเรียงตามไลฟ์สไตล์ ดังเช่นในแผนกเครื่องเขียนที่แบ่งเป็น 7 กลุ่ม สมุด ปากกา ที่เคยอยู่รวมกันก็จะแยกกระจายออกมาจัดเรียงตามรูปแบบต่างๆ ขณะเดียวกัน การต่อเชื่อมระหว่างแผนกก็จะสอดคล้องกัน เช่นแผนกเครื่องเขียนที่จับตลาดเด็ก ก็จะอยู่ใกล้กับแผนกแฟชั่นที่เป็นสไตล์เด็กๆ เพื่อให้ลูกค้าเพลิดเพลินกับการเดินชอปปิ้งสินค้าในร้าน โดยปัจจุบันมีสินค้าจำหน่ายในร้านลอฟท์กว่า 20,000 รายการ แบ่งเป็น สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ 60% สินค้าภายในประเทศ 30% ส่วนที่เหลืออีก 10% เป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์ของลอฟท์ ที่ใช้ชื่อว่า ซีไมล์ Zmile

ทั้งนี้แผนกเครื่องเขียนถือเป็นแผนกที่สร้างรายได้สูงสุดให้กับร้านลอฟท์ รองลงมาคือแผนก Gift&Game แผนกแฟชั่น แผนกของตกแต่งบ้าน แผนกการ์ดอวยพรและกระดาษห่อของขวัญ ตามด้วยแผนกสินค้าตามฤดูกาล และสุดท้ายเป็นแผนกเฮาส์แบรนด์ โดยในอดีตร้านลอฟท์เคยมีมุมสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทว่าด้วยรูปแบบต่างๆทำให้เกิดกำแพงในใจผู้บริโภคว่าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจะมีราคาแพง ดังนั้นจึงมีการปรับเปลี่ยนนำสินค้านำเข้าไปจัดดิสเพลย์รวมกับแผนกต่างๆ

“ลูกค้าที่ซื้อสินค้าในสเตชันนารีไม่ได้สนใจราคา อย่างเช่น สมุด ปากกา ราคา 200 บาท เขาก็ซื้อ เพราะผู้บริโภคละเอียดอ่อนในการเลือกซื้อและเลือกใช้ของ เพราะฉะนั้นเราต้องหาของที่โดนใจลูกค้า และจัดเรียงอย่างเหมาะสมเนื่องจากลูกค้าที่มาเดินดู ถ้าเขาเห็นว่าสินค้าเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาชอบเขาก็จะไม่เดินเข้ามาดู” มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการบริหาร บีไอเอชซี เทรดดิ้ง ผู้บริหารร้านลอฟท์ กล่าว

ปัจจุบันร้านลอฟท์มีลูกค้ามาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 8,000 คน โดยแบ่งเป็นลูกค้าชาวไทย 80% ต่างชาติ 20% สำหรับกลุ่มลูกค้าชาวไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆกันคือกลุ่มที่เป็นนักเรียน นักศึกษา คนวัยทำงานตอนต้น ส่วนอีกกลุ่มคือคนทำงาน เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทางร้านเริ่มให้ความสำคัญหลังจากมีการรีแบรนดิ้งในปีที่ผ่านมา ส่วนการปรับแผนกเครื่องเขียนในครั้งนี้จะเป็นการลงรายละเอียดเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มดังกล่าวให้เข้ามาใช้บริการในร้านลอฟท์มากขึ้น สำหรับฐานสมาชิกลอฟท์มีทั้งหมด 18,000 ราย เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 30% โดยมีสมาชิกที่มีใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ 80% ส่วนในปีนี้บริษัทมีแผนที่จะขยายฐานสมาชิกเพิ่มขึ้น 50% หรือคิดเป็นจำนวน 35,000 ราย

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาลอฟท์ได้ทุ่มงบ 20 ล้านบาท ในการรีแบรนดิ้ง ภายใต้คอนเซปต์ Play It Twist คลังของสนุก ลูกเล่นชีวิตรูปแบบใหม่ เติมสีสันด้วยดีไซน์ โดยใช้ความสนุกเป็นตัวสร้างประสบการณ์ในการชอปปิ้ง เช่น กิจกรรมเวิร์คชอปห่อของขวัญรูปแบบต่างๆ กิจกรรม DIY (Do It Yourself) การสร้างงานศิลป์บนการ์ดอวยพรด้วยตัวเอง และอื่นๆที่จะสร้างความสนุกให้กับลูกค้าที่ร่วมกิจกรรม

สำหรับ คอนเซปต์ Play It Twist ได้สะท้อนผ่านกลยุทธ์ต่างๆที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกตัวสินค้า การสร้างบรรยากาศภายในร้าน กิจกรรมโปรโมชั่นต่างๆ ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยในการปรับรูปโฉมร้านลอฟท์ได้ใช้ดีไซน์ในรูปแบบของ Japanese Warehouse Interplay:โกดังความสนุกสไตล์ญี่ปุ่น

ทั้งนี้ทางบริษัทจะมีการรีเฟรชร้านทุกสัปดาห์ มีการจัดดิสเพลย์ใหม่ เปลี่ยนโปรโมชั่นทุกๆ 2-3 สัปดาห์เพื่อให้สอดรับกับสินค้าใหม่ๆที่นำเข้ามาจำหน่าย ส่วนการปรับใหญ่ในแต่ละปีจะมี 1-2 ครั้ง ทั้งในส่วนของการปรับแผนก และการปรับโฉมทั้งร้าน เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการถี่มากขึ้น ซึ่งหลังจากการรีแบรนดิ้งภายใต้คอนเซปต์ Play It Twist ปรากฏว่าลูกค้าที่เป็นสมาชิกมาใช้บริการเพิ่มความถี่ในการซื้อมากขึ้นจากเดือนละ 1 ครั้งเพิ่มเป็นเดือนละ 2 ครั้ง โดยลูกค้าชาวไทยจะใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งประมาณ 600 บาท ส่วนลูกค้าชาวต่างชาติจะใช้จ่ายเฉลี่ย 2,000 บาทขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนด้วยกันอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งไม่มีร้านค้าที่เป็นสเปเชียลตี้สโตร์แบบร้านลอฟท์ รวมไปถึงชาวยุโรปก็ให้ความสนใจสินค้าที่มีดีไซน์แปลกใหม่

“เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกซ้ำซากจำเจ สินค้าของเราจึงต้องหมุนเวียนเร็ว โดยสินค้าลอตหนึ่งเราจะไม่พยายามรีพีท โดยวางขายไม่เกิน 3 เดือนก็จะเอาออกจากชั้นวาง ยกเว้นสินค้าพื้นฐานที่มีขายตลอด เมื่อสินค้ามาเร็วไปเร็ว เราก็จำกัดจำนวนที่นำเข้ามาขาย ขณะเดียวกันเราก็ต้องพยายามทำให้ลูกค้ามาใช้บริการบ่อยขึ้น” สุวิภา วรรณมโนมัย ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริหารสินค้าและการตลาด บีไอเอชซี เทรดดิ้ง กล่าว

นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีแผนที่จะเปิดลอฟท์สาขาใหม่อีก 2 แห่ง โดยใช้งบลงทุน 400 ล้านบาท ใช้พื้นที่ต่อสาขาเฉลี่ย 800-1,000 ตารางเมตร โดยจะพิจารณาจากทำเลในกรุงเทพฯ ส่วนร้านลอฟท์สาขาสยามพารากอนที่ปิดตัวไปนั้น เนื่องจากเป็นเพียงการทดลอง อีกทั้งยังขาดความพร้อมในหลายๆด้าน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us