องค์กรธุรกิจยุคใหม่ไม่นิยมสายการบังคับบัญชา ที่เป็นลำดับซับซ้อน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจึงง่าย
แต่ปัญหาหนึ่ง ที่พบในองค์กรลักษณะนี้ ก็คือ คนทำงานหลายรุ่นหลายวัย ที่มาทำงานร่วมกันอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกัน
และแบ่งแยกเป็น "พวกเขา" กับ "พวกเรา" โดยต่างฝ่ายต่างก็เห็นว่า ความคิดของ
"พวกเรา" ดีกว่า ถูกต้องกว่า
ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้บริหารต้องลดความขัดแย้ง และหาทางเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความหลากหลายของช่วงวัยของพนักงานในองค์กรให้ได้
และนี่ คือ ประเด็น ที่ผู้เขียนเสนอไว้
ผู้เขียนยังจัดกลุ่มคนทำงานในองค์กรต่างๆ เป็น 4 กลุ่มช่วงวัย ตามปัจจัยทางประวัติศาสตร์
ค่านิยม จุดเด่น และภาระความรับผิดชอบ กลุ่มแรกคือ รุ่นสงครามโลกครั้ง ที่
2 กลุ่ม ที่สองคือ กลุ่มเบบี้บูม ที่เติบโตในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังสงคราม
กลุ่ม ที่สามคือ กลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์ ที่เป็นคนหนุ่มสาวใน ปัจจุบัน และกลุ่มเน็กซ์เตอร์
ที่เติบโตกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง แต่ละกลุ่มต่างมีมุมมองต่างกันทั้งในแง่จริยธรรมการทำงา
น ความสมดุลระหว่าง ชีวิตครอบครัว และการทำงาน ภาวะผู้นำ และเทคโนโลยี เช่น
คนรุ่นสงครามโลกครั้ง ที่ 2 มักชอบโครงสร้างองค์กร ที่ชัดเจน และเห็นคุณค่าของประสบการณ์การทำงาน
ที่สั่งสมมา ส่วนรุ่นเบบี้บูมให้ความสำคัญกับผลตอบแทน สถานภาพ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ผู้เขียนยกตัวอย่างว่า ที่ทำงานของพนักงาน ที่มีอายุแต่ไม่ถึงขั้น ชรา และไม่ใช่คนหนุ่มสาวจึงควร
"เป็นเหมือนบ้าน และมีสิ่งดีๆ มีบรรยากาศการทำงานอย่างแข็งขัน"
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยอมรับว่าการจำแนกกลุ่มพนักงานตามช่วงวัยก็มีข้อควรระวังด้วย
เพราะแต่ละกลุ่มนั้น ผูกโยงกันด้วยปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาไปจนถึงเพลง
ที่นิยมฟังร่วมกัน อีกทั้งในแต่ละกลุ่มก็มีคนที่แปลกแยกไปบ้าง แต่ก็มีโยงใยความสัมพันธ์กันอยู่
ประเด็น ที่ดูเหมือนว่าจะมีอิทธิพลต่อกลุ่มมากที่สุดก็คือ ประสบการณ์ในการเข้าทำงาน
ดังนั้น ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีพนักงาน ที่นิยมเทคโนโลยีสุดชีวิต หรือเป็นประเภท
"ไดโนเสาร์" ก็ตาม ตอนท้ายของหนังสือมีคำตอบเกี่ยวกับการสร้าง แรงจูงใจ การสร้างทีมงาน
และการฝึกอบรมพนักงาน ให้กับพนักงานทุกรุ่น ทุกช่วงวัย