Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 กรกฎาคม 2551
อสังหาฯ ครึ่งปีหลังเหนื่อย มาตรการสิ้นมนต์ขลัง “เข็นไม่ขึ้น”             
 


   
search resources

Real Estate
วสันต์ เคียงศิริ




*ฟันธงตลาดอสังหาฯ ครึ่งปีหลังสะดุด ต้นทุนพุ่ง มาตรการภาษีเข็นยอดขายไม่ขึ้น หนุนกำไรฟื้นแค่ครึ่งปีแรก
*ต้นทุนพุ่งรายวัน จัดสรรหวั่นแบกรับความเสี่ยงไม่ไหว ไม่กล้าสต็อกบ้าน
*สมาคมบ้านจัดสรรแนะรัฐบาลยืดอายุมาตรการ-อัดดอกเบี้ยต่ำช่วยคนจน กระตุ้นกำลังซื้อ

หลังจากที่ดีเวลลอปเปอร์ตีปีกรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วยการประกาศเร่งยอดขายแนวราบแบบเต็มสูบ เพื่อให้ทันกับมาตรการที่จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลาเพียง 1 ปี ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า จะมีดีเวลลอปเปอร์เร่งสร้างสต็อกบ้านใหม่มากขึ้นรองรับยอดขายที่จะเข้ามาจากมาตรการดังกล่าว จนทำให้ซัปพลายใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่เวลาผ่านไปแค่เพียง 1 ไตรมาส นับจากวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมาที่มาตรการมีผลบังคับใช้ กลับพบว่า แม้ผู้บริโภคได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายในการซื้อขายที่ลดลง

แต่ในฟากของดีเวลลอปเปอร์ ระยะสั้นแม้กำไรสุทธิจะปรับตัวดีขึ้นจริงจากค่าใช้จ่ายที่ลดลง ในทางกลับกันต้นทุนการพัฒนาโครงการที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มทำให้ดีเวลลอปเปอร์กังวลถึงธุรกิจในครึ่งปีหลังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมต้นทุนให้ลงตัว เพื่อให้หัวใจสำคัญต่อความอยู่รอดของธุรกิจ คือ ตัวเลขบรรทัดสุดท้ายในบัญชีหรือกำไรสุทธิไม่ลดลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นความท้าทายของทุกดีเวลลอปเปอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ผลประกอบการ (ควร) จะต้องเติบโตตามความคาดหมายของนักลงทุน ซึ่งหากภาวะเช่นนี้รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นยาแรงที่เยียวยาเศรษฐกิจไม่ได้จริง แม้รัฐบาลจะออกมาประกาศว่าสามารถออกมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ได้อีก หากเห็นว่าการซื้อขายบ้านในครึ่งปีหลังชะลอตัวลง เพราะได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน

คาดครึ่งปีหลังกำไรหด

วสันต์ เคียงศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธารารมณ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มาตรการลดหย่อนภาษีเป็นประโยชน์ต่อดีเวลลอปเปอร์ที่มีสต็อกในต้นทุนเก่ามากกว่า ส่วนดีเวลลอปเปอร์ที่มีสต็อกที่สร้างใหม่ภายใต้ต้นทุนใหม่ ในครึ่งปีหลังอาจจะได้รับประโยชน์จากมาตรการไม่เต็มที่ เพราะต้นทุนการก่อสร้างปรับตัวเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ทำให้กำไรที่ได้ลดลง แตกต่างจากในครึ่งปีแรกที่ต้นทุนก่อสร้างเพิ่งปรับตัวสูงขึ้นเป็นช่วงแรก ทำให้มาตรการที่ได้เข้ามาช่วยชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้น สามารถตรึงราคาขายเก่าไปได้ระยะหนึ่ง

ขณะที่ กรี เดชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาทรัพย์สินแนวราบ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มาตรการมีส่วนช่วยทำให้กำไรของดีเวลลอปเปอร์ในไตรมาส 2 ดีขึ้น หรือในรายที่มียอดขายไม่ดีนัก ก็ยังมีส่วนช่วยทำให้กำไรคงเดิมได้ แต่ในครึ่งปีหลังเชื่อว่า กำไรสุทธิจะต่ำกว่าเดิมหรือเท่าเดิม จากภาวะกำลังซื้อที่ลดลง จึงเชื่อว่าในครึ่งปีหลังดีเวลลอปเปอร์จะปรับราคาบ้านขึ้นอีก เพราะอาศัยประโยชน์ที่ได้กลับมา 4% จากมาตรการเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถอยู่รอดได้

ชะลอสร้างสต็อกใหม่

วสันต์กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังดีเวลลอปเปอร์จะระมัดระวังเรื่องการสร้างสต็อกใหม่มากขึ้น และต้องมั่นใจว่าเมื่อสร้างแล้วจะสามารถขายได้ทันอายุมาตรการที่มีผลบังคับใช้ ซึ่งหากขายไม่ได้จะเกิดความเสียหายมากกว่า เพราะมาตรการมีอายุการใช้ไม่ยาวนัก โดยขณะนี้ธารารมณ์มีสต็อกบ้าน 130-140 ยูนิตใน 4 โครงการ รองรับการขายประมาณ 4 เดือน ซึ่งถือว่าไม่มากนัก

ชุติมาตั้งมติธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)( MK) กล่าวว่า จากต้นทุนก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอีก ทำให้ราคาบ้านของทั้งตลาดต้องปรับตัวขึ้นตามต้นทุนใหม่ ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น เพราะต้องการซื้อบ้านในราคาต้นทุนเดิม

ในส่วนของมั่นคงฯ เองมีสต๊อกบ้านพร้อมขายพร้อมโอนประมาณ 1,500 ยูนิต ซึ่งเป็นบ้านต้นทุนเดิมทำให้สามารถขายได้ถูกกว่าคู่แข่งที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งคาดว่าตลาดในครึ่งปีหลังจะใกล้เคียงกับช่วงไตรมาส 2 ที่มีมาตรการด้านลดค่าธรรมเนียมภาษีการโอนของรัฐที่ออกมาในช่วงปลายเดือนมี.ค.ที่ช่วยกระตุ้นตลาดไตรมาส 2 ให้ปรับตัวดีขึ้น

เงินเฟ้อพุ่งแห่ซื้อบ้านต้นทุนเก่า

วสันต์อธิบายว่า ลูกค้าบางรายรีบตัดสินใจซื้อบ้าน หลังจากเห็นตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้น เพราะกังวลว่าหากตัดสินใจซื้อช้ากว่านี้ จะไม่สามารถซื้อได้ในราคาเดิม ทำให้ยอดคนเข้าชมโครงการสูงขึ้น 20% และมองว่าภาวะตลาดในไตรมาส 3 จะยังดี ส่วนไตรมาส 4 และต้นปีหน้ายอดขายอาจชะลอลง เพราะตลาดดูดซับไปหมดแล้ว

“ภาวะตลาดที่ผ่านมาผันผวนมากจากปัจจัยภายนอก คาดการณ์ล่วงหน้ายาก หากเทียบเดือนต่อเดือน เช่น ปลายปี 50 ตลาดดีขึ้น หลังจากรับร่างรัฐธรรมนูญและเลือกตั้ง ไตรมาส 1 ปีนี้ลดลงเล็กน้อย เพราะคนชะลอโอนบ้าน เพื่อรอมาตรการบังคับใช้ แต่ยอดขายกลับดีขึ้น เม.ย.-พ.ค. ยอดขายลดลง เพราะมีวันหยุดเยอะ ส่วน มิ.ย. ดีขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเราพยายามดูสถานการณ์ทุกเดือน แต่การปรับตัวทำได้ไม่มาก เพราะบ้านที่สร้างเป็นการวางแผนมาตั้งแต่ 6-7 เดือนที่แล้ว” วสันต์กล่าว

ด้าน ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากดีเวลลอปเปอร์ไม่คำนึงถึงกำไรมาก และเร่งระบายสต็อกให้เร็วที่สุดในช่วงนี้ที่มีมาตรการมาช่วย ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีที่สุด แต่หากยังแบกสต็อกต่อไป อาจทำให้ลำบากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังที่เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นอีก จนกำลังซื้อลดลง และหากรายใดไม่มีการปรับตัว เชื่อว่าจะค่อยๆ หายไปจากตลาด โดยเฉพาะรายกลาง หลังจากที่รายเล็กหายไปในปีที่แล้ว เพราะไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ที่มีอำนาจครองตลาดมากกว่า

เร่งรัฐช่วยคนจนซื้อบ้าน

อิสระ บุญยัง อุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อปรับลดลงทั้งตลาด ผู้บริโภคหันมาซื้อที่ราคาต่ำลงจากเดิม ทำให้ทุกตลาดยังมีผู้ซื้อ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า มาตรการในครึ่งปีหลังที่รัฐบาลจะออกมาเพื่อช่วยเหลืออสังหาริมทรัพย์ที่มีความเป็นไปได้น่าจะเป็นการยืดอายุมาตรการให้นานขึ้น

เนื่องจากอยู่ในความดูแลกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ตามควรใช้มาตรการทางการเงินมาดูแลเรื่องการตรึงอัตราดอกเบี้ยด้วย ซึ่งจะมีผลต่อกำลังซื้อโดยตรง เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่สำหรับบ้านหลังแรก หรือบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างตรงจุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us